TH  |  EN

โครงการพัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นสำหรับปรับปรุงวัสดุและการวัลคาไนซ์ยางธรรมชาติ

โครงการพัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นสำหรับปรับปรุงวัสดุและการวัลคาไนซ์ยางธรรมชาติ เป้าหมาย :      1. พัฒนาระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น (Electron Linear Accelerator) จากระบบเครื่องเร่ง Medical Linac ให้ได้เครื่องที่ปรับค่าพลังงานอิเล็กตรอนได้ในช่วง 0.5 ถึง 4 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ และประยุกต์ใช้ลำอิเล็กตรอนสำหรับการวัลคาไนซ์น้ำยางธรรมชาติระดับห้องปฏิบัติการ (ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงมือ จุกนมยาง สายสวนปัสสาวะ และแผ่นยางใช้ในทางทันตกรรม)2. สร้างความสามารถของประเทศในการสร้างระบบเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม หน่วยงาน :  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ สกอ., อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ สวทช. ผู้ดำเนินงาน : รศ.ดร.จิตรลดา ทองใบ, ผศ.ดร.สาคร ริมแจ่ม, ดร.จตุพร สายสุด, ผศ.ดร.ปิยรัตน์ นิมมานพิภักดิ์, ดร.ภาสรี เล้ากิจเจริญ, Mr. Michael Rhodes แผนงาน :      ปีที่ ๑ … Read more

ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยวิจัย CMS

จากแนวพระราชดำริสู่ frontier research     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเชียนที่มีความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับ CERN ผ่านการทดลอง CMS มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือน CERN เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 พระองค์ทรงมีพระราชดำริและทรงเล็งเห็นว่าหากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับ CERN ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนำของโลกก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้เดินทางไป CERN และปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือกับการทดลอง CMS โดยการแนะนำของ Prof. John Elis, Prof. Diether Bleschschmidt จาก CERN และ Dr. Richard Breedon นักวิจัยจาก (MS โดยได้รับการสนับสนุนจาก NECTEC และได้ส่งนิสิต ป.โท จากจุฬาฯ … Read more

โครงการการประยุกต์ใช้เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้นทางการเกษตร (Linear Application for Fruits Irradiation)

เนื้อหาโดย ดร.สุพัฒน์ กลิ่นเขียว สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)       การริเริ่มพัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคเครื่องแรกนั้นเป็นการผลิตอนุภาคพลังงานสูงในการศึกษาโครงสร้างระดับอะตอมเท่านั้น นับจากนั้นมาจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคสำหรับงานวิจัยในหลายสาขาวิชาซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น หรือ Linear Accelerator ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในภาคการเกษตรและ อุตสาหกรรม       การประยุกต์ใช้เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้นในปัจจุบัน อาทิ          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของ color center ซึ่งเป็นการเกิดสีเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของผลึก          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปรับเปลี่ยนสมบัติทางเคมีของวัสดุ เช่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำยางโดยการเหนี่ยวนำทำให้เกิดการเชื่อมขวาง (cross-link) ในสายใยพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิห้อง การบำบัดน้ำเสีย และกากตะกอน          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการตรวจจับวัตถุในระบบการขนส่งและการปนเปื้อนของธาตุโลหะหนัก          • การใช้เครื่องเร่งเพื่อการปลอดเชื้อ ซึ่งในอุตสาหกรรมการปลอดเชื้อนั้น จะใช้ทั้งลำอิเล็กตรอนหลังจากการเร่งจากเครื่องเร่งโดยตรง เช่น การปลอดเชื้อสำหรับวัสดุทางการแพทย์ และการใช้รังสีเอกซ์ที่ผลิตจากลำอิเล็กตรอนชนเป้าโลหะหนัก … Read more

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ALICE/CERN

ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ ALICE/CERNเนื้อหาโดย : ผศ. ดร. ชิโนรัตน์ กอบเดช สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีดร.กฤษดา กิตติมานะพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)ดร.วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติดร. ขจรพงษ์ อัครจิตสกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี         อนุภาค และ ฟิสิกส์อนุภาค คือ อะไร     หลาย ๆ คน คงได้ยินข่าวเรื่อง ฝุ่น PM 2.5 มากันแล้วบ้าง  ตัวอักษร PM นั้น ย่อมาจากคำว่า Particulate Matters ซึ่งเป็นคำศัพท์มาตรฐานที่ใช้เรียก ฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยตัวเลข 2.5 นั้นมีหน่วยเป็น ไมครอนหรือไมโครเมตร  (10-6 เมตร) หรือ หากจะเปรียบเทียบก็คือ การที่เราแบ่งความยาว 1 เมตร ออกเป็นหนึ่งล้านส่วนเล็ก ๆ … Read more

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium

โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium      ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์นครั้งที่ 3 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรโครงการ WLCG : Worldwide LHC Computing Grid ของเซิร์น และมีพระราชดำริว่า ประเทศไทยควรจะจัดทำโครงการคำนวณลักษณะกริดด้วย เพื่อประยุกต์ใช้งานภายในประเทศและขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมโยงกับ WLCG ได้ด้วย      จึงได้มีการได้ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 5 หน่วยงาน เพื่อร่วมดำเนินการจัดทำโครงการ National e-Science Infrastructure Consortium เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 ประกอบด้วย    (1) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ|  (2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   (3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   (4) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ    (5) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)   อ่านต่อ