3-11 เรื่องเล่าดิจิทัล : PBL using ICT เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศการนำเสนองาน

ประเภทผลงาน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

 

 

เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน วิชา คอมพิวเตอร์ ระดับชั้น ม.3

 

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้(Objective)
  2. นักเรียนบอกการใช้เทคโนโลยีการนำเสนองานได้ (K)
  3. นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม (P)
  4. นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)

 

  1. กิจกรรม (Activities)

          จัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-BasedLearning) และทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism)

  1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
    • ครูใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด “เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร”และ “นักเรียนรู้หรือไม่ว่าพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยนั้นคือใคร”
  1. ขั้นดำเนินการสอน

2.1 ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ในการค้นคว้าข้อมูลของนักเรียนโดยจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ในเรื่องพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

  1. ขั้นจัดกิจกรรม

3.1 ครูให้นักเรียนสืบค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยนั้นคือใคร

3.2 นักเรียนค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

3.3 เมื่อนักเรียนได้คำตอบว่า “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีคือใคร” ครูจึงถามอีกว่า “พระราชกรณียกิจในด้านเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง”

3.4 ครูจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4 คน ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่มและให้นักเรียนส่งตัวแทนมาจับฉลากประเด็นที่ศึกษา  ซึ่งประเด็นศึกษาจะได้จากคำตอบของนักเรียน จากคำถาม “พระราชกรณียกิจในด้านเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง”

3.5 ครูแจ้งเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงาน โดยประเมินผลจากเนื้อหา การนำเสนอความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม

3.6ครูให้นักเรียนศึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามกลุ่มของตน และสร้างงานนำเสนอโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ หรือการสร้างงานนำเสนอบนเว็บไซต์เช่น การทำแผ่นพับ, การทำอินโฟราฟิก,โปรแกรม Microsoft powerpoint, www.prezi.com

3.7 ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนองาน และให้นักเรียนกลุ่มที่นำเสนอเลือกเพื่อนกลุ่มที่จะให้แสดงความคิดกลุ่มของตนเอง

3.8ครูตรวจสอบความถูกต้องและอธิบาย เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง

  1. ขั้นสรุป

          4.1นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสมและปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับในการสร้างชิ้นงาน ร่วมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหา

  1. ขั้นประยุกต์ใช้

5.1 นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการนำเสนอผลงานได้อย่างถูกต้อง

5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการนำเสนอผลงานในงานด้านต่าง ๆ ได้

5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้

5.4 นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

5.5 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ได้

5.6  นักเรียนสามารถเทคโนโลยีการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม

 

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์(Tools and Materials)

-โปรแกรม Microsoft Word, โปรแกรม Microsoft PowerPoint, www.prezi.com, www.mindmeister.com, www.easel.ly.com

  1. การวัดและประเมินผล

 

สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
ด้านความรู้(K)

นักเรียนบอกการใช้เทคโนโลยีการนำเสนองานได้

สังเกตความสนใจและความตั้งใจในการตอบคำถาม แบบสังเกตความสนใจและความตั้งใจในการตอบคำถาม ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2
ด้านทักษะกระบวนการ (P)

นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสม

การสร้างชิ้นงานเสนอ เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ
ด้านคุณลักษณะฯ (A)

นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2

 

 

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนัก

คะแนน

ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
วิธีการนำเสนอ มีการนำเสนอที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน และใช้สื่อประกอบได้เหมาะสม มีความคิดสร้าง –

สรรค์ในการนำเสนอผลงาน

มีการนำเสนอที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน ใช้สื่อประกอบได้เหมาะสม แต่ไม่มีความคิดสร้าง –

สรรค์ในการนำเสนอผลงาน

มีการนำเสนอที่น่าสนใจ มีลำดับขั้นตอน แต่ไม่มีสื่อประกอบ และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลงาน มีการนำเสนอที่น่าสนใจ แต่ไม่มีการจัดลำดับขั้นตอนในการนำเสนอผลงาน 2
เนื้อหา เนื้อหาเป็นไปตามลำดับ ไม่วกวนและมีความสมเหตุสมผล เนื้อหาเป็นไปตามลำดับและมีความสมเหตุสมผลเป็นส่วนมาก เนื้อหาไม่เป็นไปตามลำดับ และมีความสมเหตุสมผลน้อย เนื้อหาไม่ครบตามหัวข้อและมีความสมเหตุสมผลน้อยมาก 2
จังหวะการพูด พูดคล่อง น้ำเสียงดังชัดเจน น่าสนใจฟัง พูดคล่อง น้ำเสียงดังชัดเจน พูดได้ แต่ติดขัดบ้าง น้ำเสียงไม่ชัดเจน พูดไม่คล่อง ตะกุก ตะกัก ไม่น่าสนใจฟัง 1
ความสวยงาม – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน- ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม- ข้อความอ่านง่าย – ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม

– ข้อความอ่านยาก

– ข้อความอ่านยาก

– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม

– ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน

 2
ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

– ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

– ใช้ข้อความและภาพประกอบไม่สวยงาม -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น  3

 

  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียนให้ความร่วมมือ และความสนใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ผู้สามารถใข้งานทักษะในการสืบค้นข้อมูลและทักษะในการนำเสนอได้เป็นอย่างดี

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้

คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ด าเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการสอน https://drive.google.com/file/d/0B_eZbPT9yGAVMlI5aFRVTTdsdFE/view

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

ชื่อ-นามสกุล  นายวีระชัย ช่วยเกิด นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นายนิเชต นิโมง นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุคนธา หมิดหวัง นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์