3-08 เรื่อง สร้างสรรค์ชิ้นงานสวยด้วย Piktochart วิชาคอมพิวเตอร์

ประเภทผลงาน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
 

 
เรื่อง สร้างสรรค์ชิ้นงานสวยด้วย Piktochart วิชาคอมพิวเตอร์
ระดับชั้น ป.5

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้(Objective)
– นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (K)
– นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วย Piktochart ได้ (P)
– นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)

2.กิจกรรม (Activities)
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.1 ครูผู้สอนจะใช้คำถามเพื่อให้นักเรียนทบทวนความรู้เดิมและเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ โดยถามว่า “นักเรียนเคยสร้างชิ้นงานจากโปรแกรมอะไรบ้าง” แล้วให้นักเรียนยกมือตอบทีละคน
1.2 ครูใช้ Kahoot ในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.ขั้นดำเนินการสอน
2.1ครูผู้สอนจะใช้คำถามถามนักเรียนว่า “นักเรียนรู้จักเว็บไซต์ Piktochartหรือไม่ แล้วสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง”
2.2แนะนำให้นักเรียนรู้จักเว็บไซต์ Piktochart และให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าวิธีการสร้างชิ้นงานด้วยตนเองโดยครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำ และอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น

3.ขั้นจัดกิจกรรม
3.1ครูจัดกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 3 คน ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อสืบค้นเรื่องที่นักเรียนสนใจเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
3.2ครูให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดและวางแผน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการออกแบบชิ้นงานของตนเอง
3.3 ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง นั่นก็คือ การสร้างชิ้นงานโดยใช้ piktochart.com ออกแบบชิ้นงานเพื่อสื่อถึงสื่อนั้นๆ ที่ระลึกถึงในหลวง โดยครูจะคอยเป็นผู้แนะนำ ตอบคำถามและสังเกตเด็กขณะทำกิจกรรม
3.4 ครูให้นักเรียนนำเสนอชิ้นหน้าชั้นเรียน ครูแจ้งเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงาน โดยการประเมินแบบรูบริคโดยประเมินผลจากเนื้อหา การนำเสนอความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม

4.ขั้นสรุป
4.1 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนอของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่ม และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาสรุปความรู้ที่ได้อีกครั้ง
4.2 ครูตรวจสอบความถูกต้อง และให้คำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องปรับปรุง

5.ขั้นประยุกต์ใช้
5.1 นักเรียนสามารถนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานได้อย่างถูกต้อง
5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ ได้
5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้
5.4 นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้
5.5 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ได้

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
•เว็บไซต์ Piktochart
•เครื่องคอมพิวเตอร์

4.การวัดและประเมินผล

สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
ด้านความรู้ (K)
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพพอใช้ผ่านเกณฑ์
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก piktochart ได้ ชิ้นงานจาก piktochart เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ
ด้านคุณลักษณะฯ (A)
นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล ระดับคุณภาพพอใช้ผ่านเกณฑ์

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา – เนื้อหาใช้คำถูกต้องสมบูรณ์
-เนื้อหาตรงตามหัวข้อ
-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด
-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน
-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่ครบถ้วน – เนื้อหาตรงตามหัวข้อ
-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด
-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน
-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล – เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด
-เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน
-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล – เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อ/เขียนคำผิด
-เนื้อหาไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล 4
2.การนำเสนอ – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง
– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ
– การนำเสนอน่าสนใจ
– มีการสบตาผู้ฟัง – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง
-การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ
– การนำเสนอน่าสนใจ
– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง – การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ
– การนำเสนอน่าสนใจ
– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง – อธิบายเนื้อหาไม่ถูกต้อง
– การนำเสนอไม่น่าสนใจ
– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง 2
3.ความสวยงามและความสะอาดเรียบร้อย – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน
– ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม
– ข้อความอ่านง่าย
– สะอาดเรียบร้อยโดยไม่มีจุดผิดพลาด – ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม
– ข้อความอ่านง่าย
– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิดพลาด
1 – 2 จุด – ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม
– ข้อความอ่านยาก
– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิด พลาด 3 – 4จุด – ข้อความอ่านยาก
– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม
– ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน
– ไม่มีความสะอาด
เรียบร้อย 1
4.ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม
-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น – ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม
– ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม – ใช้ข้อความและภาพ ประกอบไม่สวยงาม – ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น 3

5. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก เว็บไซต์ Piktochart ได้ ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ และได้มีจินตนาการเป็นของตัวเอง สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่ระบบการศึกษาแบบ Thailand 4.0

6.ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้
คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
แผนการสอน https://drive.google.com/open?id=0B7-DjqnNhYgIaGxQbDJ2ZkdvMkU
7.รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
ชื่อ-นามสกุล นายธีรวัฒน์ อรุณรัตนลีลากูล นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นางสาวพิชญสุดา ทองคำ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นายภัทริยา รูปโอ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์