3-13 การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ (ปรับปรุง)

วิดีโอมัลติมีเดียกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซี เรื่อง การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์   

วิชา  วิทยาศาสตร์  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. นักเรียนสามารถสังเกต และอธิบายปรากฏการณ์ขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์  ปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน  และการกำหนดทิศได้ (K)
  2. นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสืบค้น และสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ (P)
  3. นักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย (A)

2. กิจกรรม (Activities)

1. ขั้นกระตุ้นความสนใจ  
     ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้รับทราบและให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง   จากนั้นนำลูกโลกจำลองและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มาให้นักเรียนดูเพื่อดึงดูดความสนใจ ให้ความรู้เบื้องต้นและครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียน

  • ดวงอาทิตย์เกี่ยวข้องกับการเกิดกลางวันกลางคืนบนโลกอย่างไร (โลกหมุนรอบตัวเองส่วนของโลกที่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นช่วงเวลากลางวัน ส่วนของโลกที่ไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์จะเป็นช่วงเวลากลางคืน)
  • เมื่อเรายืนหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในตอนเย็น ทิศที่อยู่ด้านหลังของเราจะเป็นทิศใด (ทิศตะวันออก)

2. ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ
     ครูชี้แจงการให้คะแนนชิ้นงาน  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4-5 คน ตามความสมัครใจ  โดยภายในกลุ่มต้องมีสมาชิกที่ชอบเรียนวิทยาศาสตร์  มีสมาชิกที่ชอบวาดภาพระบายสี  และมีสมาชิกที่พูดจาคล่องแคล่ว จากนั้นจับสลากผ่าน Application Draw Straws  เพื่อเลือกหัวข้อ  ได้แก่  ปรากฏการณ์ขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์  ปรากฏการณ์กลางวันและกลางคืน  และการกำหนดทิศ
     ครูนำใบกิจกรรม  ใบงานและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและช่วยกันออกแบบและวางแผนการทำกิจกรรม
3. ขั้นปฏิบัติ
     นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนในใบกิจกรรม  และศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากลูกโลกจำลองและแท็บเล็ต  โดยครูเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้  กระตุ้นและสนับสนุนให้นักเรียนเกิดการศึกษาค้นคว้า  และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
     นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปข้อมูล  และบันทึกลงใบกิจกรรม  โดยครูให้คำแนะนำ  ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์สรุปข้อมูลอย่างครอบคลุม  และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
     นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันลงมือทำ Mind Map โดยใช้ Application miMind ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย  โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำในการทำงาน
4. ขั้นประเมินผล
     ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ Mind Map โดย Application miMind ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียนให้กับครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้รับชมผลงาน  โดยมีการประเมินจากครู จากเพื่อนกลุ่มอื่น  และประเมินกลุ่มของตนเอง
     ครูกล่าวสรุปความรู้เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน  จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันตอบคำถามผ่าน Application Quizizz

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tool and Materials)

  • ใบความรู้  ใบกิจกรรม  และใบงาน เรื่อง การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์
  • ลูกโลกจำลอง
  • Application (miMind, Quizizz, Draw Straws)
  • Web site (https://youtube.com, https://google.com, etc.)
  • Hardware (Tablet, Smartphone)

4. การวัดและการประเมินผล

การประเมินชิ้นงาน Mind Map

รายการประเมิน

ระดับคะแนน
4 3 2 1
เนื้อหา ผู้เรียนมีความรู้อย่างลึกซึ้งทุกประเด็น
ครอบคลุมทุกหัวข้อที่เรียนรู้ มีการ
แสดงรายละเอียดและตัวอย่าง
ผู้เรียนมีการรวบรวมความรู้ที่จำเป็น
เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนรู้
ผู้เรียนมีการรวบรวมความรู้ที่จำเป็น
เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนรู้ แต่ยังมี
ข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อย
ผู้เรียนมีการรวบรวมความรู้ที่จำเป็น
เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนรู้เพียงเล็กน้อย
และพบข้อผิดพลาดในปริมาณมาก
ความน่าสนใจ มีการใช้ประโยชน์จากแบบอักษร
และสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในการนำเสนอได้อย่างดีเยี่ยม
มีการใช้ประโยชน์จากแบบอักษร
และสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การนำเสนอได้ดี
มีการใช้ประโยชน์จากแบบอักษร
และสี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การนำเสนอ แต่ความน่าสนใจ
ของเนื้อหาลดลงในบางครั้ง
มีการใช้แบบอักษรและสี
แต่รบกวนการนำเสนอเนื้อหา
ความคิดริเริ่ม ชิ้นงานที่นักเรียนสร้างขึ้นแสดงให้
เห็นถึงความคิดที่แปลกใหม่
ความคิดสร้างสรรค์
ชิ้นงานที่นักเรียนสร้างขึ้นแสดงให้
เห็นความคิดเดิมบางอย่างและ
มีการแสดงแนวคิดใหม่ๆ
ชิ้นงานที่นักเรียนสร้างขึ้น
ลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น
และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
ชิ้นงานที่นักเรียนสร้างขึ้น
ลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น
และไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา
ของข้อมูล
การนำเสนอ
ด้วยปากเปล่า
นักเรียนนำเสนอได้น่าสนใจ
มีการพูดอย่างราบรื่นและดึงดูด
ความสนใจจากผู้ชมได้ตลอดเวลา
นักเรียนนำเสนอได้ค่อนข้าง
น่าสนใจ มีการพูดที่มักจะดึงดูด
ความสนใจของผู้ชม
นักเรียนนำเสนอไม่น่าสนใจ
มีการพูดไม่ราบรื่น แต่สามารถ
ดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้บ้าง
นักเรียนนำเสนอไม่น่าสนใจ
และการพูดไม่ราบรื่นทำให้ไม่ได้
รับความสนใจของผู้ชม

สำหรับรายการประเมินอื่นๆ ใช้เกณฑ์การประเมินตามแผนการสอนในหัวข้อ 6. ข้อมูลเพิ่มเติม

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

    จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนแบบโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT) เรื่อง การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์  ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3   เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง  ได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยการใช้ไอซีที  ซึ่งก่อให้เกิดทักษะการแก้ไขปัญหาทักษะการสืบค้นข้อมูล  ทักษะการใช้เครื่องมือสื่อเทคโนโลยี  รวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห์  ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานไม่เกิดความเบื่อในการเรียนรู้   สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนเป็นกลุ่มได้  รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม  มีความสามัคคีกัน  มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ  อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีครูเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
    หลังจากกลุ่มนักศึกษาได้จัดการเรียนรู้ในครั้งนี้  ทำให้กลุ่มนักศึกษาได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นการหากิจกรรมที่น่าสนใจและสอดคล้องกับเนื้อหา  เทคนิคการควบคุมชั้นเรียน  วิธีการดึงดูดความสนใจของผู้เรียน  การทำงานเป็นทีม  การบริหารจัดการ  อาทิเช่น  การติดต่อสื่อสารประสานงาน  การวางแผนการดำเนินงาน  

6. ข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คลิก
ภาพผลงาน mind map ของนักเรียน คลิก
คำถามที่ใช้ประกอบการสอน คลิก
แผนการสอน คลิก

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

1. นางสาวจรรญา รอดฉ่ำ
หมายเลขโทรศัพท์ 080-116-0631
e-mail address : beejanya96@gmail.com
2. นางสาวจิตตนันท์  ดีใหม่  
หมายเลขโทรศัพท์ 090-925-9354
e-mail address : anonymous.moggy@gmail.com
3. นางสาวมัณฑนา  เก๋วัน 
หมายเลขโทรศัพท์ 099-273-7332
 e-mail address : manthana.kewan32@gmail.com
นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะครุศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษา :อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด
หมายเลขโทรศัพท์ 081-717-8093
e-mail address : nattawutkhao@gmail.com