3-04 ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต วิชา วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้ (K)
  2. นักเรียนสามารถใช้สื่อ ICT มาเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ (P)
  3. นักเรียนสามารถอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้ (A)

2. กิจกรรม (Activities)

ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engagement)

  1. ครูถามคำถามนักเรียนถึงสิ่งต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น

      ระหว่างทางมาโรงเรียนนักเรียนเห็นอะไรบ้าง

      สิ่งต่าง ๆ ที่นักเรียนเห็นมีลักษณะใดเหมือนหรือแตกต่างกันบ้าง

      – นักเรียนรู้หรือไม่ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่นักเรียนเห็น สิ่งใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดจัดเป็นสิ่งไม่มีชีวิตเพราะอะไร

  1. ครูนำภาพที่แสดงถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภาพป่าที่มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด ภาพฟาร์มเลี้ยงวัวหรือเลี้ยงไก่ หรือครูเปิดวีดีทัศน์ เรื่อง ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้

      ภาพหรือเรื่องที่ดูเกิดขึ้นที่ใด

      บอกชื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่นักเรียนรู้จักในภาพหรือวีดีทัศน์

      – นักเรียนใช้หลักเกณฑ์ใดจำแนกสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

  1. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา (Exploration)

  1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อฝึกทักษะตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยในกลุ่มจะมีเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน ช่วยกันระดมความคิดในการทำกิจกรรมและสร้างสรรค์ชิ้นงาน
  2. ให้ตัวแทนในแต่ละกลุ่มออกมาจับฉลาก เพื่อเลือกภาพที่แสดงถึงสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

2.1 เมื่อนักเรียนในแต่ละกลุ่มได้ภาพที่จับฉลากได้ จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล เรื่อง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต จากหนังสือเรียนหรือแท็บเลต (Tablet) โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งที่มีการเจริญเติบโต เราเรียกว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีการเจริญเติบโต เราเรียกว่า สิ่งไม่มีชีวิต

2.2 ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยให้นักเรียนจำแนกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตจากภาพที่ได้รับ ออกมาเป็นแผนผังความคิด แล้วตอบคำถามท้ายกิจกรรม (เวลา 10 นาที)

ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explanation)

  1. นักเรียนช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดเป็นผลงานกลุ่มและจัดทำออกมาในรูปชิ้นงาน เรื่อง หมู่บ้านของฉันโดยให้นักเรียนช่วยกันวางแผนและออกแบบ หมู่บ้านที่มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นองค์ประกอบ ลงบนกระดาษ (เวลา 10 นาที)
  2. ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานตามที่ได้วางแผนและออกแบบไว้ โดยการนำ ICT มาเป็นเครื่องมือให้นักเรียนสร้างชิ้นงานผ่านโปรแกรม Paint โดยครูเป็นผู้คอยให้แนะนำและตรวจสอบความก้าวหน้าในการสร้างชิ้นงานในคาบเรียน (เวลา 20 นาที)

 ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaboration)

  1. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานที่สร้างสรรค์ผ่าน ICT ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว มานำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหน้าชั้นเรียน
  2. ครูสรุปเพิ่มเติมในส่วนที่นักเรียนนำเสนอบางส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ และเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามในเรื่องที่สงสัยได้ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักเรียนให้มากขึ้น

ขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluation)

  1. นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและ การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
  2. ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยการให้ตอบคำถาม เช่น

นักเรียนรู้หรือไม่ว่าสิ่งต่าง ๆ ที่นักเรียนเห็น สิ่งใดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งใดจัดเป็นสิ่งไม่มีชีวิตเพราะอะไร

– นักเรียนใช้หลักเกณฑ์ใดจำแนกสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต

  1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามี ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. หนังสือเรียนกลุ่มสาระวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
  2. ภาพสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตเป็นองค์ประกอบ
  3. ใบกิจกรรมที่ 1 ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
  4. Tablet
  5. Notebook

4. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
พุทธิพิสัย (K)

นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้

ตรวจใบกิจกรรมที่ 1 ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ใบกิจกรรมที่ 1 ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
ทักษะพิสัย (P)

นักเรียนสามารถใช้สื่อ ICT มาเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ชิ้นงานได้

ประเมินการนำเสนอชิ้นงาน แบบประเมินการนำเสนอชิ้นงาน ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป
จิตพิสัย (A)

นักเรียนสามารถอภิปรายกลุ่มเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตได้

ประเมินการอภิปรายกลุ่ม แบบประเมินการอภิปรายกลุ่ม ได้คะแนนในเกณฑ์พอใช้ขึ้นไป

เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

ประเด็นการพิจารณา ระดับคุณภาพ
3 2 1
1.เนื้อหา เรื่อง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้ถูกต้องทั้งหมด เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้ถูกบางส่วน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้ไม่ถูกต้อง
2. ความคิดสร้างสรรค์ มีครบในประเด็นต่อไปนี้

1.ออกแบบองค์ประกอบในหมู่บ้านที่มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

2. จัดองค์ประกอบของภาพได้เหมาะสมและภาพสามารถสื่อความหมายได้

3. การบันทึกวีดีโอการนำเสนอมีความน่าสนใจ

ขาดประเด็นใดประเด็นหนึ่งในต่อไปนี้

1.ออกแบบองค์ประกอบในหมู่บ้านที่มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

2. จัดองค์ประกอบของภาพได้เหมาะสมและภาพสามารถสื่อความหมายได้

3. การบันทึกวีดีโอการนำเสนอมีความน่าสนใจ

ขาดมากกว่า 1 ประเด็น

1.ออกแบบองค์ประกอบในหมู่บ้านที่มีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์

2. จัดองค์ประกอบของภาพได้เหมาะสมและภาพสามารถสื่อความหมายได้

3. การบันทึกวีดีโอการนำเสนอมีความน่าสนใจ

3. ระยะเวลาในการสร้างชิ้นงาน ส่งผลงานในระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลงานหลังระยะเวลาที่กำหนดเล็กน้อย ผลงานไม่เสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด

 เกณฑ์การประเมินการอภิปรายกลุ่ม

ประเด็นการพิจารณา ระดับคุณภาพ
3 2 1
1. ความร่วมมือในการทำงาน มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานให้กับสมาชิกทุกคนในกลุ่มอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานให้กับสมาชิกบางส่วนในกลุ่ม ไม่มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานให้กับสมาชิกในกลุ่ม
2. การแสดงความคิดเห็น สมาชิกทุกคนในกลุ่มแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้อย่างสร้างสรรค์ สมาชิกบางส่วนในกลุ่มแสดงความคิดเห็นร่วมกัน สมาชิกในกลุ่มไม่มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
3. การวางแผนการทำงาน สมาชิกทุกคนในกลุ่มร่วมกันวางแผนและออกแบบการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน สมาชิกบางส่วนในกลุ่มร่วมกันวางแผนและออกแบบการทำงาน สมาชิกในกลุ่มไม่มีการวางแผนและออกแบบการทำงาน

เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน/การอภิปรายกลุ่ม

ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
7 – 9 ดี
4 – 6 พอใช้
ต่ำกว่า 3 ปรับปรุง

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีทีตามแนว Constructionism เรื่อง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต พบว่าผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รู้จักการวางแผนในการทำงาน เรียนรู้การแก้ไขปัญหาระหว่างสร้างชิ้นงาน โดยมีการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เมื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน โดยการให้ตอบคำถาม ซึ่งเป็นการอภิปรายร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน พบว่านักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้ อีกทั้งนักเรียนสามารถใช้สื่อ ICT มาเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

  • แผนการสอน เรื่อง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ป.1 คลิก
  • ภาพประกอบการสอน PBL Using ICT คลิก

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

  • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

ชื่อ-นามสกุล  นางสาวพรทิพย์   ทันเที่ยง   นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์         หมายเลขโทรศัพท์ : 099-3693562     e-mail : pornthipzyx2125@gmail.com
ชื่อ-นามสกุล  นางสาวอภิชญา   อุตทาสา   นักศึกษาวิชาเอก วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คณะครุศาสตร์         หมายเลขโทรศัพท์ : 082-8845232     e-mail : meewwapcy@gmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ

หมายเลขโทรศัพท์ : 086-2931485

e-mail : hs9min@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ ณัฐวุฒิ  ขาวสะอาด

หมายเลขโทรศัพท์ : 081-7178093

e-mail : nattawutkhao@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ อรพรรณ  ธนะขว้าง

หมายเลขโทรศัพท์ : 084-8864905

e-mail : Orrapun.t@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ มลวิภา  เมืองพระฝาง

หมายเลขโทรศัพท์ : 098-1042377

e-mail : monwipha.21@gmail.com