3-10 คุณภาพและการใช้ประโยชน์ของน้ำ วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม) ***แก้ไขเรียบร้อยแล้ว 21-08-61***

ประกวดเรื่องเล่าดิจิทัล เรื่อง คุณภาพและการใช้ประโยชน์ของน้ำ

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง คุณภาพและการใช้ประโยชน์ของน้ำ  วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. นักเรียนสามารถอธิบายการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเบื้องต้นและการใช้ประโยชน์จากน้ำได้ (K)
  2. นักเรียนสามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่ายได้ (P)
  3. นักเรียนสามารถออกแบบและนำเสนอชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือ ICT ได้ (P)
  4. นักเรียนมีความตระหนักต่อการใช้น้ำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (A)

กิจกรรม (Activities)

กิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น จะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Project-based Learning ICT) แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 กิจกรรมนอกห้องเรียน ก่อนเริ่มกิจกรรมครูมอบหมายให้นักเรียน 2 ชิ้น ทางกลุ่มเฟสบุ๊ค

งานชิ้นที่ 1 คือ ให้นักเรียนเก็บตัวอย่างน้ำตามแหล่งน้ำที่นักเรียนสนใจ แต่ให้อยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง พร้อมกับอัพโหลดวิดีโอนำเสนอลงในเฟสบุ๊คของกลุ่ม

งานชิ้นที่ 2  คือ ครูแชร์วิดีโอกระบวนการผลิตน้ำประปามาจาก YouTube แล้วให้นักเรียนดูวิดีโอดังกล่าว ก่อนวันทำกิจกรรม

ส่วนที่ 2 กิจกรรมในห้องเรียน มีรายละเอียดกิจกรรมดังนี้

ขั้นที่ 1 แบ่งกลุ่มนักเรียนในการทำกิจกรรม

โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มแบ่งหน้าที่การทำงาน ตามหน้าที่ดังนี้ 1.หัวหน้ากลุ่ม 2.ฝ่ายออกแบบ 3.ฝ่ายอุปกรณ์ 4.ฝ่ายนำเสนอ และ 5.ฝ่ายสืบค้นข้อมูล ซึ่งแต่ละหน้าที่จะมีสติ๊กเกอร์ประจำตำแหน่งให้

ขั้นที่ 2 สร้างกติกาในการทำกิจกรรม

โดยครูจะมีคะแนนดาวให้แต่ละกลุ่ม ในระหว่างการทำกิจกรรม และท้ายชั่วโมงครูจะทำการสรุปคะแนนดาวและให้รางวัลตามเหมาะสม

ขั้นที่ 3 ทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนก่อนการทำกิจกรรม

โดยครูทำการทบทวนความรู้ เรื่อง สมบัติทางกายภาพของน้ำ เพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4 ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนการทำกิจกรรม มีทั้งหมด 3 หัวข้อ คือ

  • การใช้ประโยชน์ของน้ำ โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเล่นเกมส์ตอบคำถามเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์ของน้ำ ใน https://quizizz.com จากนั้นให้คะแนนดาวตามอันดับที่นักเรียนทำได้
  • การตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น เริ่มต้นจากการเปิดคลิปวิดีโอนำเสนอการเก็บตัวอย่างน้ำของนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ตนเองได้เตรียมมา พร้อมทั้งจดบันทึกผล
  • กระบวนการผลิตน้ำประปา เริ่มจากให้ตัวแทนนักเรียนมาสรุปขั้นตอนการผลิตน้ำประปาหน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ 5 เปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้

โดยครูสร้างสถานการณ์ขึ้นมาแล้วให้นักเรียนออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยในการแก้ปัญหา แล้วให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและออกแบบเครื่องกรองน้ำอย่างง่ายของกลุ่มตนเองโดยใช้โปรแกรม Paint ในโน้ตบุ๊คที่ครูแจกให้

ขั้นที่ 6 ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง

เมื่อนักเรียนวางแผนและออกแบบกิจกรรมเสร็จ จึงจะสามารถเลือกซื้อวัสดุอุปกรณ์และลงมือประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่ายได้ ในระหว่างที่นักเรียนลงมือประดิษฐ์ครูคอยให้คำปรึกษาแก่นักเรียนและคอยติดตามความคืบหน้าของงาน

เมื่อนักเรียนประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำเสร็จแล้ว ให้นักเรียนบันทึกผลลงในใบบันทึกกิจกรรม และให้ฝ่ายนำเสนอข้อมูลทำการถ่ายวิดีโอนำเสนอ โดยใช้แอพพลิเคชัน Aurasma จากนั้นให้นักเรียนนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ 7  ให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเอง

โดยการเปิดวีดีโอนำเสนอเสนอชิ้นงานของแต่ละกลุ่ม จากนั้นครูและเพื่อน ๆ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชิ้นงาน พร้อมกับให้คะแนนดาวตามเกณฑ์การประเมิน จากนั้นครูจึงสรุปความรู้ที่ได้พร้อมกับนักเรียน และเชื่อมโยงเรื่องการกรองน้ำของน้ำประปา เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย และน้ำบาลเข้าด้วยกัน ทั้งยังชี้ให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของน้ำและการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าอีกด้วย

ขั้นที่ 8  ประเมินผลการจัดการเรียนรู้

โดยการสรุปผลคะแนนดาว และมอบรางวัล

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  • เครื่องมือไอซีทีในการทำกิจกรรม ได้แก่ Notebook, Tablet และ Smartphone
  • Program ในการออกแบบ ได้แก่ Paint
  • Application ในการนำเสนอ ได้แก่ Aurasma
  • Social media ได้แก่ Facebook และ YouTube
  • Game ได้แก่ Quizizz
  • การสืบค้นข้อมูล ได้แก่ Google
  • วัสดุในการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย ได้แก่ สำลี, ทรายหยาบ, ทรายละเอียด, กรวดหยาบ, กรวดละเอียด, ถ่านป่น และขวดน้ำพลาสติก
  • อุปกรณ์ในการประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย ได้แก่ กรรไกรและคัตเตอร์
  • สื่อ ได้แก่ สื่อการสอน (Power Point), ใบงานสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำ, ใบบันทึกผล เรื่อง คุณภาพน้ำ, ใบเสนอรายการวัสดุอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย, วิดีโอ “การ์ตูน ยูยู ชุดการผลิตน้ำประปา” และวิดีโอ “การใช้งาน AURASMA เบื้องต้น”

การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่จะวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
   นักเรียนสามารถอธิบายการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเบื้องต้นและการใช้ประโยชน์จากน้ำได้ (K)
  • ตรวจใบบันทึกกิจกรรม เรื่อง คุณภาพน้ำ
  • ตอบคำถามจากเกมส์
  • แบบประเมินผลการทำกิจกรรมของผู้เรียน
  • https://quizizz.com
  ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งชั้น
   นักเรียนสามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่ายได้ (P)
  • ตรวจชิ้นงานเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
  • แบบประเมินผลชิ้นงาน
  ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งชั้น
   นักเรียนสามารถออกแบบและนำเสนอชิ้นงานโดยใช้เครื่องมือ ICT ได้ (P)
  • ตรวจชิ้นงานการออกแบบในโน๊ตบุ๊ค และวิดีโอนำเสนอชิ้นงาน
  • แบบประเมินผลด้านทักษะการใช้เครื่องมือ ICT
 ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งชั้น
  นักเรียนมีความตระหนักต่อการใช้น้ำและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (A)
  • การสังเกต
  • ตรวจใบงานสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำ
  • แบบประเมินผลการทำกิจกรรมของผู้เรียน
  • แบบประเมินพฤติกรรมการใช้น้ำ
  ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับดีขึ้นไปร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งชั้น

 

บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดกิจกรรม นักเรียนสามารถอธิบายการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเบื้องต้นและการใช้ประโยชน์       จากน้ำได้ อีกทั้งยังสามารถสืบค้น, ออกแบบ, ประดิษฐ์ และนำเสนอเครื่องกรองน้ำอย่างง่ายของกลุ่มตนเองได้ นอกจากนี้นักเรียนมีความตระหนักต่อการใช้น้ำอยู่ในระดับประหยัดไปจนถึงระดับประหยัดและคุ้มค่า                ทั้งยังสามารถแก้ปัญหา ทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถใช้เครื่องมือไอซีที, Program ในการออกแบบ, Application ในการนำเสนอ และ Social media ได้เป็นอย่างดี แต่นักเรียนยังขาดทักษะการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ตนเองได้รับมา ว่าข้อมูลนั้น ๆ สามารถเชื่อถือได้หรือไม่ มีหลักการหรือองค์ความรู้ใด           อยู่ในข้อมูลนั้น

ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่น ๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

กลุ่มเฟสบุ๊ค : PBL Using ICT ห้องดาวเรือง ป.3

แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง คุณภาพและการใช้ประโยชน์ของน้ำ

 เกณฑ์การประเมินด้านองค์ความรู้

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ต้องปรับปรุง)
ความถูกต้องของใบงาน เขียนอธิบายได้ตรงประเด็น และครบถ้วน เขียนอธิบายได้ตรงประเด็น แต่ไม่ครบถ้วน เขียนอธิบายได้ไม่ตรงประเด็น และไม่ครบถ้วน
ตอบคำถามได้ถูกต้อง ตอบคำถามได้ถูกต้องทั้ง 5 ข้อ ตอบคำถามได้ถูกต้อง 3 – 4 ข้อ ตอบคำถามถูกต้องน้อยกว่า 3 ข้อ

 

ช่วงคะแนน ระดับการประเมิน
6 ดี
4 – 5 พอใช้
3 – 4 ต้องปรับปรุง

 

เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ต้องปรับปรุง)
เลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม มีวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำครบทั้ง 6 อย่าง คือ กรวดหยาบ, กรวดละเอียด, ทรายหยาบ, ทรายละเอียด, ถ่าน และสำลี มีวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำ 3 – 5 อย่าง มีวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องกรองน้ำน้อยกว่า 3 อย่าง
มีความมั่นคงและแข็งแรง สิ่งประดิษฐ์สามารถใช้งานได้นานเกิน 10 นาที สิ่งประดิษฐ์สามารถใช้งานได้นานเกิน 5 – 9 นาที สิ่งประดิษฐ์สามารถใช้งานได้น้อยกว่า 5 นาที
ประดิษฐ์ได้ตามเวลาที่กำหนด สามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย โดยใช้เวลาน้อยกว่า 40 นาที สามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย โดยใช้เวลา 40 นาที สามารถประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำอย่างง่าย โดยใช้เวลามากกว่า 40 นาที
ใช้วัสดุอย่างประหยัด เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์อย่างเหมาะสม ในราคาน้อยกว่า 50 บาท เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์อย่างเหมาะสม ในราคา 50 บาท เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์อย่างเหมาะสม ในราคามากกว่า 50 บาท

 

ช่วงคะแนน ระดับการประเมิน
10 – 12 ดี
6 – 9 พอใช้
3 – 5 ต้องปรับปรุง

เกณฑ์การประเมินผลด้านทักษะการใช้เครื่องมือ ICT

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ต้องปรับปรุง)
การเลือกใช้เครื่องมือ ใช้เครื่องมือในโปรแกรมได้อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้องและเหมาะสม ใช้เครื่องมือในโปรแกรมได้ แต่มีปัญหาการใช้งานบ้างเล็กน้อย ไม่สามารถใช้เครื่องมือในโปรแกรมได้
การสร้างสรรค์  ผลงาน ตกแต่งชิ้นงานได้เรียบร้อยสวยงาม ตกแต่งชิ้นงานพอใช้ ไม่มีการตกแต่งชิ้นงาน
การอธิบาย      รายละเอียด มีการอธิบายรายละเอียดของชิ้นงานอย่างละเอียด มีการอธิบายรายละเอียดของชิ้นงานแต่ไม่ละเอียด ไม่มีการอธิบายรายละเอียดของชิ้นงาน
แหล่งอ้างอิง มีการอ้างแหล่งอ้างอิงมากกว่า 1 แหล่งขึ้นไป มีการอ้างแหล่งอ้างอิง 1 แหล่ง ไม่มีการอ้างแหล่งอ้างอิง
นำเสนอ เนื้อหาสั้นกะทัดรัด ตรงประเด็น และดำเนินเรื่องไปตามลำดับขั้น เนื้อหาสั้นกะทัดรัด ตรงประเด็น แต่เนื้อเรื่องไม่ดำเนินไปตามลำดับขั้น เนื้อหาไม่ตรงประเด็น และเนื้อเรื่องไม่ดำเนินไปตามลำดับขั้น
ช่วงคะแนน ระดับการประเมิน
13 – 15 ดี
8 – 12 พอใช้
3 – 7 ต้องปรับปรุง

 

เกณฑ์การประเมินด้านเจตคติ

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ
3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ต้องปรับปรุง)
มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นบางครั้ง ไม่แสดงความคิดเห็นของตนเองและไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีขั้นตอนในการทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงานและสามารถทำงานได้สำเร็จตามแผนที่วางไว้ได้ มีการวางแผนการทำงานและแต่สามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ ไม่มีการวางแผนการทำงานและไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้
รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทำหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ทำหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายเป็นบางครั้ง ไม่ทำหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมาย
การแก้ไขปัญหาร่วมกัน สมาชิกทุกคนร่วมกันแก้ปัญหา สมาชิกร่วมกันแก้ปัญหา 4 – 7 คน สมาชิกร่วมกันแก้ปัญหาน้อยกว่า 4 คน

 

ช่วงคะแนน ระดับการประเมิน
11 – 12 ดี
7 – 10 พอใช้
3 – 6 ต้องปรับปรุง

 

รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

ชื่อ-นามสกุล : นางสาวชนมน  ศรีพระจันทร์         นักศึกษาสาขา : วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ : ครุศาสตร์                                                  หมายเลขโทรศัพท์ : 088-2331858

e-mail : chanamon.janeny@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล : นางสาวปัทมาพร  แขกเมือง        นักศึกษาสาขา : วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ : ครุศาสตร์                                                 หมายเลขโทรศัพท์ : 093-0482148

e-mail: kifzy.pl1996@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล : นางสาวรุ่งอรุณ  วรพฤติสกุล         นักศึกษาสาขา : วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คณะ : ครุศาสตร์                                                  หมายเลขโทรศัพท์ : 084-4905416

e-mail : vrungarun@gmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อ-นามสกุล : อาจารย์ ว่าที่ ร.ต.ศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ       หมายเลขโทรศัพท์ : 086-2931485

e-mail : hs9min@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล : อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ  ขาวสะอาด                หมายเลขโทรศัพท์ : 081-7178093

e-mail : nattawutkhao@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล : อาจารย์มลวิภา  เมืองพระฝาง                  หมายเลขโทรศัพท์ : 098-1042377

e-mail :   

ชื่อ-นามสกุล : อาจารย์อรพรรณ  ธนะขว้าง                    หมายเลขโทรศัพท์ : 084-8864905

e-mail :   –