การจัดการเรียนรู้แบบ PBL และ ICT โดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ ๕ สาขาวิชาการประถมศึกษา

 

การจัดการเรียนรู้แบบPBL&ICT รายวิชาวิทยาศาสตร์
เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้  

1.นักเรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายสมบัติของสาร สิ่งที่ทำให้สมบัติของสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (K)

2.นักเรียนสามารถทดลองและบันทึกผล สรุปผลการทดลองได้ (P)

3.นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่ วางแผนการทำงานกลุ่มได้อย่างมีระบบ และมีความสามัคคีในหมู่คณะ (A)

  1.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

1.ครูกล่าวทักทายนักเรียน เช็คความพร้อมนักเรียน จำนวนคนมาเรียนว่ามีใครไม่สบายหรือมีความผิดปกติใดหรือไม่

2.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับสารในชีวิตประจำวัน

3.ครูให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับเรื่องสถานะของสาร

4.ครูตั้งคำถามชวนให้นกเรียนสงสัยว่า “สารสามารถเปลี่ยนสถานะได้อย่างไร”

5.นักเรียนจับกลุ่มและเลือกประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยในชั่วโมงนี้มีสองประเด็นคือ

– สารสามารถเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งได้อย่างไร

– สารสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลวได้อย่างไร

6.นักเรียนแต่ละกลุ่มดำเนินการทดลอง และช่วยกันสังเกต พร้อมบันทึกผลการทดลองโดยใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพหรือบันทึกวิดีโอขณะทำการทดลองไว้

7.นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลการเรียนรู้หรือผลการทดลองโดยสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานหรือรูปภาพโปสเตอร์ลงในโปรแกรม Piktochart โดยมีครูผู้สอนคอยให้คำแนะนำในการใช้งานโปรแกรมจนนักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้สำเร็จ

8.นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอสรุปผลการทดลองหน้าชั้นเรียน โดยให้นักเรียนฉายชิ้นงานผ่านเครื่อง Projectors

9.ครูผู้สอนนำชิ้นงานนักเรียนมาจัดประกวด โดยนำชิ้นงานของนักเรียนสร้างแบบประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere จากนั้นส่ง Link แบบประเมินให้นักเรียน ครูในโรงเรียน และบุคคลภายนอกร่วมประเมิน

10.ครูแจ้งผลการประเมินชิ้นงานให้นักเรียนทราบในคาบถัดไป

3.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

    1.อุปกรณ์ประกอบการทดลอง

2.โทรศัพท์มือถือ

3.คอมพิวเตอร์ Note Book

  1. Projectors

4.การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์
     1.นักเรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายสมบัติของสาร สิ่งที่ทำให้สมบัติของสารเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ (K) ตรวจชิ้นงานของนักเรียนและดูผลการประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere  แบบประเมินบนโปรแกรม Poll everywhere ร้อยละ 80 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์
2.นักเรียนสามารถทดลองและบันทึกผล สรุปผลการทดลองโดยสร้างสรรค์เป็นชิ้นงานได้ (P) สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมกลุ่ม

 

แบบสังเกตการทำกิจกรรมกลุ่ม

 

ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์
3.นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่ วางแผนการทำงานกลุ่มได้อย่างมีระบบ และมีความสามัคคีในหมู่คณะ (A) สังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมในชั้นเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล ระดับคุณภาพ 2 ขึ้นไปผ่านเกณฑ์

 

5.บันทึกผลการจัดการเรียนรู้

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ครบทั้ง 3 ประเด็น ทั้งด้าน K P A และพบว่านักเรียนทุกคนในชั้นเรียนมีความสนุกสนานและมีความกระตือรือร้นในการเรียนมาก เนื่องจากได้ทำการทดลอง ได้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ตนเองมีอยู่เป็นสื่อร่วมในการเรียนรู้ และได้ใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง รวมถึงการให้บุคคลอื่นนอกเหนือจากคนในชั้นเรียนได้ร่วมประเมินชิ้นงานทำให้นักเรียนเกิดความตื่นเต้นและมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาอย่างเต็มที่ อีกทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มทำให้ผู้เรียนมีความสามัคคี รู้จักแบ่งหน้าที่ในการทำงาน ทำให้ทุกคนในชั้นเรียนมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกคนในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ทุกคนสนใจในการเรียนและสนใจในกิจกรรมที่กำลังทำในชั้นเรียน ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงประสบผลสำเร็จด้วยดีและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทั้ง 3 ข้อ

 

6.ภาพบรรยากาศการทำกิจกรรมในชั้นเรียนสามารถรับชมได้ที่ : https://youtu.be/zLp2-ThKLKM

 

7.รายชื่อคณะผู้จัดทำ

1.นางสาวระพีพรรณ  แดนดี  2.นางสาวลลิตา  ศุภดิษฐ์   3.นางสาวสุดารัตน์   จอมหงษ์

นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ข้อมูลติดต่อ: หมายเลขโทรศัพท์ 0954706178

e-mail: Sudarat12345@gmail.com