TH  |  EN

พระราชกรณียกิจ งาน i-CREATe 2017 และงานกาล่าดินเนอร์
ณ ประเทศญี่ปุ่น

เครดิตโดย สํานักข่าวไทย TNAMCOT
link original : https://youtu.be/oHA7UjDJJcw

             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 11 (i-CREATe 2017)

23 สิงหาคม 2560 เวลา 14.00 น. ณ ประเทศญี่ปุ่น

             วันที่ 23 สิงหาคม 2560 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 11 (i-CREATe 2017) ณ Kobe International Conference Center เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น โดยมี นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชฑูตไทย ประจำกรุงโตเกียว ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ดร. ทาคาอะคิ ชิน ประธานจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ i-CREATe 2017 และคณะกรรมการจัดงาน เฝ้ารับเสด็จฯ

             งานประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่องวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ครั้งที่ 11 (i-CREATe 2017) เป็นเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิชาการและนิทรรศการระดับนานาชาติด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการระหว่างผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับผู้ทรงคุณวุฒิในระดับสากล ซึ่งเกิดขึ้นจากกลุ่มความร่วมมือด้านวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแห่งเอเชีย ภายใต้ชื่อว่า CREATe Asia โดยเป็นการรวมกลุ่มระหว่าง 13 องค์กร 10 ประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย
             กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน i-CREATe 2017 ประกอบด้วยการแสดงปาฐกถาพิเศษ มุ่งเน้นให้เป็นเวทีที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานชั้นนำ การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop Session) มุ่งเน้นให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย (Paper and Poster Session) การประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาในระดับนานาชาติ (Global Student Innovation Challenge for Assistive Technology: gSIC-AT) เพื่อส่งเสริมนิสิต นักศึกษาให้มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ และยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมในงานและพระราชทานรางวัลเป็นประจำทุกปี

             โดยในปีนี้ มีโครงงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนักศึกษาจาก 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธรัฐเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น รวม 32 ผลงาน ผ่านการคัดเลือกและเข้าร่วมการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ โดยการประกวดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Design Category) และประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category) และโครงงานที่ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีดังนี้

ประเภทผลงานด้านการออกแบบนวัตกรรมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Design Category)
Gold Award Design Category: ผลงานชื่อ Roller-clother จาก Rehabilitation Science, The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong

             Silver Award Design Category: ผลงานชื่อ Sit and Slip on : ease your dressing จาก ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย นางสาวพิมพ์สิริ นิลโกสิตย์ และนางสาวณัฎฐา เกียรติสกุลเดชา อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา

Bronze Award Design Category: ผลงานชื่อ Universal muscle strengthening and rehabilitation device for the elderly and post-stroke patients

จาก Engineering Cluster, Singapore Institute of Technology, Singapore

Merit (ชมเชย)

  • Time for Tales (An interactive toy for visually impaired children), Chulalongkorn University, Thailand
  • Fallessflps, The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong

Best Presentation

  • Time for Tales (An interactive toy for visually impaired children), Chulalongkorn University, Thailand

Best Poster

  • Liberty of wheel, Kobe Design University, Japan

Best Ergonomic :

  • Smart transfer, Institute of Technology Education, Singapore

ประเภทผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ (Technology Category)

Gold Award Technology Category: ผลงานชื่อ Space Walker
             จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นายวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร นายรมย์ พานิชกุล นายเมธาสิทธิ์ เกียรติชัยภา และ นางสาวธันยพร วงศ์วัชรานนท์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ และ ผศ.ดร. พัชรี คุณค้ำชู

Silver Award Technology Category: ผลงานชื่อ Patient individual hand rehabilitation robot (PIH-robot)
             จาก Micro Technology and Medical Device Technology / TUM Department of Mechanical Engineering, Technical University of Munich, Germany Bronze Award Technology Category: ผลงานชื่อ Master-slave soft robotic gloves for hand rehabilitation จาก School of Mechanical Engineering, Shanghai Jiao Tong University, China

Merit (ชมเชย)

  • Rehabilitation robot of upper and lower limb based on the wheelchair, University of Shanghai for Science and Technology, China
  • Sit-to-Stand Trainer with Assessment of Balance Ability, Thammasat University, Thailand

Best Presentation

  • Sit-to-Stand Trainer with Assessment of Balance Ability, Thammasat University, Thailand

Best Poster

  • HUVETS, Hiroshima University, Japan

Best Prototype

  • Portable device for preliminary diagnosis of scoliosis and shoulder symmetricity assessment, University of Malaya, Malaysia

Peers’s Choice Award

  • Roller-clother, Rehabilitation Science, The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong

Public’s Choice Award

  1. Roller-clother, Rehabilitation Science, The Hong Kong Polytechnic University, Hong Kong

สนับสนุนการจัดงานโดย

  1. มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
  4. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ร่วมสนับสนุนเด็กไทยให้ไปสร้างชื่อเสียงระดับโลก โดย

  1. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  2. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ชีวาเลียร์ เน็ตเวอร์ค โซลูชั่น ไทย จำกัด
  4. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  5. ธนาคารออมสิน
  6. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

เครดิต เนื้อหาข่าว : nectec

ที่มา : คลิก