resize สมองกลฝังตัว & 3D printing & IoT - มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

โครงการสมองกลฝังตัว & 3D printing & IoT

            มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีดำเนินกิจกรรม พัฒนาทักษะด้านอิเล็กทรอนิกส์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนในโครงการฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทำ โครงงานหรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมให้เกิดทักษะการคิด การแก้ปัญหา และเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำ โครงงาน อันเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรียนจากโรงเรียนในโครงการ ได้แก่ คิดอย่างเป็นระบบ คิดเป็นแก้ไขเป็น ทำงานกับผู้อื่นได้ ตลอดจนส่งเสริมนักเรียนเข้าร่วมนำเสนอผลงานในเวทีต่างๆ โดยผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ต่อระดับอดุมศึกษาในโควตาพิเศษ อ่านต่อ...

โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย

ดูทั้งหมด

    อบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นวิศวกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย
  • อบรมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นวิศวกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย" ภายใต้โครงการ....

  • ศูนย์ไอที มรพส. จัดโครงการอบรมโครงการสนับสนุนการดำเนินงานตามความข้อตกลงความร่วมมือเครือข่าย
  • ศูนย์ไอที มรพส. จัดโครงการอบรมโครงการสนับสนุนการดำเนินงานตามความข้อตกลงความร่วมมือเครือข่าย

  • อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโปรแกรมบนบอร์ด KidBright
  • อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโปรแกรมบนบอร์ด KidBright" ครั้งที่ 1 ณ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

show&share

ดูทั้งหมด  

          จากค่ายสมองกลฝังตัวหรือค่ายอิคคิวซัง (ค่ายต่อเนื่อง 3 ค่าย) นักเรียนและสามเณรจะได้จัดทำข้อเสนอโครงงาน เพื่อขอรับทุนสนับสนุนทำโครงงาน (สนับสนุนทุนโดยโรงเรียนกวดวิชา We by The Brain) ทั้งนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ร่วมกับ สวทช. จัดให้มีงาน Show&Share : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว เป็นประจำทุกปีในเดือนมิถุนายน เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียน สามเณร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง (จัดช่วงเดียวกับ Thailand Robofest Junior เพื่อให้นักเรียนและสามเณรได้นำผลงานดังกล่าวเข้าร่วมในเวทีระดับประเทศดังกล่าวด้วย) ....

ปี 2562


บทเรียน / MOOC / คู่มือ : programming

 

เขียน Mobile Application ใช้งานเอง โดย ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

  • เขียน Mobile Application ใช้งานเอง โดย ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

    URL : goo.gl/hjDbFW

วิธีการสมัครและเข้าเรียน MOOC

  • วิธีการสมัครและเข้าเรียน MOOC

    URL : bit.ly/2zrnlWa

              ดูหลักสูตรทั้งหมด

นักเรียนทุน

ปีการศึกษา 2559 – 2561 มีนักเรียนทุนการศึกษา ป.ตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ 25 คน
           สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ทูลเกล้าฯ มอบทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 10 ทุนต่อปี ใน 5 สาขาคือ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์, สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เป็นระยะเวลา 4 ปีติดต่อกัน (ปีการศึกษา 2559 – 2562) โดยยกเว้นค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพเดือนละ 3,000 บาท/คน (ปีการศึกษา 2559 ทุนการศึกษา 8 ทุน, ปีการศึกษา 2560 ขยายอีก 2 ทุน รวมเป็น 10 ทุน)

รุ่นที่ 3

(ปีการศึกษา 2561) จำนวน 10 คน (จะเข้าศึกษาต่อ ณ เดือนมิถุนายน 2561) 

ลำดับ

ชื่อ-นามสกุล

โรงเรียน

สาขาวิชา

1

สามเณรธวัชชัย ศรีวิชัย

พุทธโกศัยวิทยา จ.แพร่

วิศวกรรมการผลิตยานยนต์

2

สามเณรนนทวัฒน์ วุฒิคำ

พุทธโกศัยวิทยา จ.แพร่

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

3

สามเณรอนุวัฒน์ กุณนะวัน

วัดนาราบวิทยา จ.น่าน

เทคโนโลยีสารสนเทศ

4

สามเณรธนศักดิ์ สมรัตน์

วัดสระกำแพงใหญ่ จ.ศรีสะเกษ

เทคโนโลยีสารสนเทศ

5

นางสาวบุษบาวรรณ มะลิทอง

บ้านนา "นายกพิทยากร" จ.นครนายก

วิศวกรรมอุตสาหการ

6

นายนัทพงศ์ จ๋าวกิตติวัฒนา

ราชประชานุเคราะห์ 24 จ.พะเยา

วิศวกรรมการผลิตยานยนต์

7

นายวิเชตฐ์ อภิภูวัฒนพงษ์

ราชประชานุเคราะห์ 24 จ.พะเยา

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

8

นางสาวจิราทิพย์ บุญมี

ราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์

วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

9

นายยศวร เกศประสิทธิ์

ราชประชานุเคราะห์ 53 จ.สกลนคร

วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

10

นางสาวกรรณิการ์ เหง้าโอสา

ราชประชานุเคราะห์ 53 จ.สกลนคร

วิศวกรรมอุตสาหการ

หมายเหตุ โรงเรียนกวดวิชา วี บาย เดอะเบรน สนับสนุนให้นักเรียน ได้เรียนวิชาแคลคูลัส และสถิติ ในช่วงปิดภาคเรียน  เพื่อปูพื้นฐาน 2 วิชา ก่อนเข้าศึกษาต่อ ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ผลงานเข้าร่วมเวทีระดับประเทศ

ดูทั้งหมด

ปี 2560

ผลงานนักเรียนเข้าร่วมเวทีระดับประเทศ ปี 2560
นักเรียน ทสรช.
มีผลงานระดับประเทศ จำนวน 138 คน (17 โรงเรียน, 17 เวที)



หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: programming

หน่วยงานร่วมดำเนินงาน









สนับสนุน