TH  |  EN

  ความเป็นมาโครงการภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย
(Biomedical Engineering Consortium) ตามพระราชดำริฯ

    ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (Thailand Biomedical Engineering Consortium: BME) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2548 เพื่อ สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ (BME) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครีอข่าย ประสานงาน รวบรวมนักวิจัยและนักวิชาการแขนงต่างๆ ผลักดันและร่วมมือเพื่อสร้าง ความแข็งแกร่งด้านการวิจัยและใช้ประโยชน์จากศาสตร์แขนงนี้ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหลักของภาคีฯ “วิศวกรรมชีวการแพทย์ มีลักษณะพิเศษซึ่งต้องบูรณาการศาสตร์แขนงต่างๆ ทั้งทางด้านชีววิทยา วิศวกรรม วัสดุศาสตร์ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และนาโนเทคโนโลยี เพื่อนำมาผสมผสานในการแก้ไขปัญหาสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุข การฟื้นฟูสมรรถภาพ และ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย”

      ภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย มีสมาชิกจากมหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัยรวม 13 แห่ง

     การพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ภาคีฯ ได้พัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ทั้งนักวิจัย อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ดังนี้

     ㆍ ทุนการศึกษาต่างประเทศ : ในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2550 – 2556) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน ก.พ. จัดสรรทุนเพื่อพัฒนา บุคลากรในระดับปริญญาโท-เอก จำนวน 48 ทุน และในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2557 – 2561) ได้ทำการสำรวจความต้องการทุน การพัฒนาบุคลากรของประเทศจำนวน 80 ทุน
     ㆍการผลิตกำลังคน (คณาจารย์ นักวิจัย) ในประเทศไทย : ปัจจุบันประเทศไทยมีนักวิจัยและอาจารย์ด้าน BME จำนวน ประมาณ 390 คน โดยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยของภาคีฯ ประมาณ 200 คน และปฏิบัติงานในศูนย์ทคโนโลยีแห่งชาติของ สวทช. ประมาณ 190 คน
    ㆍ หลักสูตร : ปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี-โท-เอก ที่มุ่งเน้นด้านวิศวกรรมชีวการแพทยั จัดสอนในมหาวิทยาลัย โดยจำแนก เป็นปริญญาตรี 4 หลักสูตร ปริญญาโท 9 หลักสูตร และปริญญาเอก 7 หลักสูตร

ตัวอย่างผลงานของภาคีวิศวกรรมชีวการแพทย์

แบบจำลองเครื่องสร้างภาพตัดขวางขนาดเล็ก (Mini CT Model) แบบจำลองเครื่องสร้างภาพตัดขวางขนาดเล็กใช้หลักการเดียวกับเครื่องสร้างภาพตัดขวางที่การแพทย์ที่เรียกว่า Computer Tomography (CT) แต่ใช้กล้องดิจิทัลติดอยู่บนแกนทรีที่หมุนได้เพื่อถ่ายภาพรอบๆ วัตถุ ข้อมูลภาพที่ได้จะถูกนำมาสร้างภาพตัดขวางและ ภาพ 3 มิติ โดยโปรแกรมการประมวลผลภาพที่พัฒขึ้น เหมาะที่จะนำไปใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม เพื่อสร้างแบบจำลอง 3 มิติ และ การเรียนการสอนด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์