TH  |  EN

โครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
Digital and Technology for Local Environmental Science Study Project

    จากแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในเร่ืองการพัฒนาเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ท่ีดีขึ้น และเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่อาศัยในถ่ินทุรกันดารได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปัจจัยพื้นฐานท่ีจําเป็นสําหรับการดํารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ และในด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์และอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริฯ (HRH) และงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนชนบท (SRS) ร่วมกับ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดําริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดทําโครงการดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ขึ้น โดยมีความร่วมมือกับโครงการวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมศึกษา (GLOBE) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิใจกระทิง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณภาพเยาวชนในชนบทให้มีความรู้ เข้าใจความสัมพันธ์ของระบบต่างๆ ของโลก และตระหนักถึงสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและระดับโลก อันจะนำไปสู่การสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปปรับใช้ ป้องกัน เผชิญ รับมือกับวิกฤติการอยู่ร่วมกัน วิกฤติสิ่งแวดล้อม ได้อย่างเหมาะสมตามกำลังความสามารถของตน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นในการเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 โดยจะพัฒนาศักยภาพให้แก่ครูและนักเรียน อ่านต่อ 

ผลงานที่ได้รางวัล

   ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนในโครงการ “ดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น” ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมาร ได้รับรางวัลในการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2566 (Globe Student Research Competition 2023) ดังนี้

       1. โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับรางวัลชมเชยระดับประถมศึกษา ชื่องานวิจัย “การเปรียบเทียบสมบัติของดินและความอุดม สมบูรณ์ของดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินทาง การเกษตรที่หลากหลาย กรณีศึกษา บริเวณ พื้นที่ทำการเกษตรริมแม่น้ำยวม หมู่บ้านน้ำดิบ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน”

         2. โรงเรียนวัดบุญยืน จ.น่าน ได้รับ รางวัลพิเศษ ทีมงานวิจัยใช้ Authentic Globe Protocols จากการส่งงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดินพื้นที่ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนท้าย หลังการเก็บเกี่ยว กรณีศึกษาแปลงปลูกข้าวไร่บ้านป่าแพะ อ.เวียงสา จ.น่าน”

——————————————

    โครงงานได้รางวัลชมเชยระดับประเทศจากการประกวด GLOBE Student Research Competition 2021 เมื่อเมษายน 2564 โครงงาน เรื่อง การศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ําที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ํา แม่นยวม อําเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา

วีดิทัศน์

อบรมออนไลน์

หลักสูตรเรียนรู้ออนไลน์ Reskill/Upskill เพื่อพัฒนาความรู้ด้านการทำโครงงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ และการสื่อสารเพื่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นสำหรับโรงเรียน ภายใต้โครงการ ดิจิทัลและวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

อ่านต่อ »

เอกสารเกี่ยวกับโครงการ