TH  |  EN

โครงการพัฒนาครูและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสให้มีทักษะด้านสมองกลฝังตัวและระบบอัตโนมัติ (Embedded System and Automation Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
Development of Teachers and Disadvantaged Youth to Have Skills in Embedded System and Automation Technology to Prepare to be Thailand 4.0
รหัสโครงการ P1952446

หลักการและเหตุผล

  • ในโลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เยาวชนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship Skills) ที่สมบูรณ์และรู้เท่าทัน อันจะนำไปสู่การตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งในโลกดิจิทัลและชีวิตจริง รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติคือ การพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ส่งผลทำให้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ การปรับตัวก้าวสู่ “ประเทศไทย 4.0” มีประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นต้องพัฒนาคือ ขีดความสามารถของคนที่ต้องเป็นคนไทย 4.0 ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่จำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 อาทิ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านข้อมูลสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ “ประเทศไทย 4.0”
  • ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศใน 10 กลุ่มอาชีพ โดยเน้นให้มีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรม เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถยืนอยู่บนเวทีการแข่งขันของโลกได้ และรัฐบาลได้ประกาศให้ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกคือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เป็นเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษของภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งส่งผลถึงความต้องการแรงงานที่ใช้ความรู้ความสามารถและทักษะชั้นสูงในการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ สวทช. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งและพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) ร่วมกับพันธมิตรทั้งจากหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน
  • ด้วย สวทช. ได้ดำเนินโครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทย โดยโครงการฯ ส่งเสริมให้มีการจัดพื้นที่การเรียนรู้ “โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab)” ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ และพัฒนากิจกรรมสำหรับนักเรียนและครู ให้มีทักษะด้านวิศวกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบและสร้างชิ้นงานโดยการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม และเครื่องวัดทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเกิดแรงบันดาลใจที่จะมีอาชีพวิศวกรหรือนวัตกรในอนาคต
  • สืบเนื่องจากสำนักงานประสานงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สายงานพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาของประชาชน พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของเด็กไทยในชนบท เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม

เอกสารขออนุมัติโครงการ

เอกสารขออนุมัติโครงการ

ปีวันที่ได้รับอนุมัติไฟล์เอกสารไฟล์บันทึกอนุมัติ
เปิดโครงการปีงบประมาณ 256312 พฤศจิกายน 2562ข้อเสนอโครงการบันทึกอนุมัติ
ขออนุมัติกรอบงบประมาณปี 25645 มีนาคม 2564 (ปรับแผน)ข้อเสนอโครงการบันทึกอนุมัติ
ขออนุมัติกรอบงบประมาณปี 256525 มกราคม 2565ข้อเสนอโครงการบันทึกอนุมัติ
 

งบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 3 ปี รวมเป็นเงิน 7,319,250 บาท

งบประมาณ

ปีงบประมาณวันที่ได้รับอนุมัติจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวนเงินที่ใช้จริง
256312 พฤศจิกายน 25622,000,000 บาทใช้จริง 1,831,119.52 บาท (External 1,556,083.52 บาท Internal 275,036.00 บาท) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563
25645 มีนาคม 25643,720,250 บาทใช้จริง 1,443,637.00 บาท (External Charge 1,443,637.00 บาท Internal 0 บาท) ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564
256525 มกราคม 25651,599,000 บาทใช้จริง 1,247,428.22 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2565
 

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ (Action Plan)

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ

สำนักงานประสานงานฯ จัดทำ “โครงการพัฒนาครูและเยาวชนกลุ่มด้อยโอกาสให้มีทักษะด้านสมองกลฝังตัวและระบบอัตโนมัติ (Embedded System and Automation Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสจากกลุ่มโรงเรียนภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มโรงเรียนในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มโรงเรียนจากโครงการ Fabrication Lab และกลุ่มโรงเรียนเอกชน ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้ครูและนักเรียนได้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม ซึ่งจะส่งเสริมความเป็นนวัตกรแก่เยาวชนไทย พัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเตรียมความพร้อมเยาวชนก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 สำนักงานประสานงานฯ จะนำความรู้และประสบการณ์จากข้างต้น มาขยายผลสู่กลุ่มโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ดังนี้

กิจกรรม 1 : การพัฒนานักเรียนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อสนับสนุนนักเรียนจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม แล้วจัดให้มีเวทีนำเสนอผลงาน และส่งเสริมนักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมเวทีวิชาการในระดับต่างๆ ซึ่งผลงานที่เกิดขึ้นจะสร้างโอกาสให้นักเรียนได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในโควตาพิเศษ
  3. เพื่อจัดทำรายงานผลดำเนินงาน จัดทำหลักสูตร-สื่อการสอนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับนักเรียน รวบรวมผลงานนักเรียนที่เกิดขึ้น แล้วเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้างต่อไป

กิจกรรม 2 : การพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรม และสามารถเป็นที่ปรึกษาปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนได้
  3. เพื่อพัฒนาครูให้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง (Active Learning)ในวิชาต่างๆ อาทิ การออกแบบและเทคโนโลยี (Design and Technology), วิทยาการคำนวณ (Computing Science), วิชาอื่นๆ ตลอดจนสามารถขยายผลการจัดการเรียนรู้ของตนเองให้แก่ครูจากโรงเรียนอื่นๆ ได้
  4. เพื่อจัดทำรายงานผลดำเนินงาน จัดทำหลักสูตร-สื่อการสอนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับครู รวบรวมผลงานของครู แล้วเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวงกว้างต่อไป

กิจกรรม 3 : เครือข่ายมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (กิจกรรมตาม MOU, พัฒนาอาจารย์ นักศึกษา และครูในพื้นที่)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (coding), การคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking), เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System), เทคโนโลยี Internet of Things (IOT), เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ (3D Printing), เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. เพื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการสานต่อแนวทางพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มุ่งเน้นพัฒนาให้นักศึกษาครู และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ ให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ยกระดับคุณภาพการศึกษา เตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0
 

รายงานความก้าวหน้า

เอกสารขออนุมัติโครงการ

ไตรมาสประจำปีงบประมาณ 2563ประจำปีงบประมาณ 2564ประจำปีงบประมาณ 2565
1รายงานไตรมาสที่ 1รายงานไตรมาสที่ 1รายงานไตรมาสที่ 1
2รายงานไตรมาสที่ 2รายงานไตรมาสที่ 2รายงานไตรมาสที่ 2
3รายงานไตรมาสที่ 3รายงานไตรมาสที่ 3รายงานไตรมาสที่ 3
4รายงานไตรมาสที่ 4รายงานไตรมาสที่ 4รายงานไตรมาสที่ 4
 

ผลผลิต Output เป้าหมายเชิงปริมาณ

กิจกรรม 1 : การพัฒนานักเรียน (ค่ายสมองกลฝังตัว, ค่ายอิคคิวซัง, Show & Share)

กลุ่มเป้าหมาย >> นักเรียน (ร.ร.ทสรช., ร.ร.พระปริยัติธรรม, ร.ร.เอกชนสอนศาสนาฯ, ร.ร.ใน EEC)

ลำดับเป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี)จำนวนปี 2563ปี 2564ปี 2565รวม
1นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดอบรม2,100 คน1,993 คน1,245 คน369 คน3,607 คน
2เวทีแข่งขัน/เวทีนำเสนอผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม1,950 คน629 คน264 คนคน893 คน
3โครงงานวิทยาศาสตร์ที่เน้นทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และนักเรียนที่จัดทำโครงงงาน300 ผลงาน108 ผลงาน40 ผลงาน 148 ผลงาน
4นักเรียนมีผลงานเข้าร่วมแข่งขันในเวทีมหาวิทยาลัย หรือระดับประเทศ450 คน124 คน12 คน 136 คน
5นักเรียนกลุ่มด้อยโอกาสได้รับทุนการศึกษา และ/หรือศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในโควตาพิเศษจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ60 คน25 คน32 คน 57 คน

กิจกรรม 2 : การพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย >> ครู (ร.ร.ทสรช., ร.ร.พระปริยัติธรรม, ร.ร.เอกชนสอนศาสนาฯ, ร.ร.ใน EEC, ร.ร.ใน FabLab, ร.ร. เอกชน)

ลำดับเป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี)จำนวนปี 2563ปี 2564ปี 2565รวม 
6ครูที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดอบรม1,200 คน807 คน449 คน190 คน1,256 คน 
7ครูที่มีผลงานที่ปรึกษาโครงงานที่เน้นทางวิศวกรรม & เทคโนโลยีดิจิทัล600 คน216 คน80 คน 296 คน 
8โรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมขยายผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (ครูในโครงการฯ ขยายผลด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้ครูอื่นๆ ในพื้นที่)40 แห่ง  35 แห่ง 35 แห่ง

กิจกรรม 3 : ผลงานวิชาการ เผยแพร่ในวงกว้าง เช่น หนังสือ/คู่มือ/กรณีศึกษา/รายงานผลการดำเนินงานประจำปีที่เกิดจากดำเนินงานโครงกา

ลำดับเป้าหมายเชิงปริมาณ (รวม 3 ปี)จำนวนปี 2563ปี 2564ปี 2565รวม
9หลักสูตร-เอกสารอบรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับโรงเรียนในชนบท5 เรื่อง224
10ผลงาน เช่น กรณีศึกษา, รายงาน, ผลกระทบเชิงสังคม, สื่อสาธารณะ9 เรื่อง3418
 

ผลผลิต (Output) เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. การพัฒนาบุคลากรให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ปีงบประมาณ 2563

ครั้งที่วัน-เดือน-ปีกิจกรรมจำนวนครูจำนวนนักเรียนจำนวนรวมจำนวนโรงเรียน
1วันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2562ค่าย 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี2916319212
2วันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2562ค่าย 2 (ภาคกลาง) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ โรงเรียน”บ้านนา” นายกพิทยากร จ. นครนายก231962198
3วันที่ 29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2562ค่าย 2 (ภาคเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง จ. ลำปาง2010012010
4วันที่ 13-15 ธันวาคม 2562ค่าย 2 (ภาคใต้) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ. สงขลา2412815210
5วันที่ 13-15 ธันวาคม 2562ค่ายวิทยาการคำนวณ โดยใช้เกม Unplugged และ Coding by KidBright สำหรับนักเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลนครนายก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี4915820712
6วันที่ 25 – 27 ธันวาคม 2562ค่ายอิคคิวซัง 2 (วัดไผ่ดำ) : นักคิดนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ.ปทุมธานี551561
7วันที่ 20 – 22มกราคม 2563ค่ายอิคคิวซัง 1 (ภาคเหนือ) การประยุกต์ใช้บอร์ดสมองกลฝังตัว KidBright กับโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับสามเณร ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่20759514
8วันที่ 1 – 3กุมภาพันธ์ 2563การอบรมหลักสูตร “วิทยาการคำนวณ กับ การสร้างสรรค์นวัตกรรม IoT ด้วยบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์” สำหรับโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี15015076
9วันที่ 5 – 7กุมภาพันธ์ 2563การอบรมหลักสูตร “การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ ด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” สำหรับครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี18218290
10วันที่ 14 – 16 กุมภาพันธ์ 2563ค่าย 3 (ภาคเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลำปาง จ.ลำปาง398812710
11วันที่ 21 – 23กุมภาพันธ์ 2563ค่าย 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จ. อุบลราชธานี5415621015
12วันที่ 17 – 19 กรกฎาคม 2563ค่าย 3 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ออนไลน์ ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ภาคกลาง151391544
13วันที่ 24 – 26 กรกฎาคม 2563ค่าย 3 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวและสร้างชิ้นงาน 3 มิติ ด้วย 3D-printer” ออนไลน์ ปีที่ 7 (ปีการศึกษา 2562) ภาคใต้221351579
14วันที่ 25 – 26 กรกฎาคม 2563ค่ายอิคคิวซัง 3 (โรงเรียนวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี) การทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัวด้วยบอร์ด KidBright ประจำปีการศึกษา 2563 (Online Course)233351
15วันที่ 17,24,25สิงหาคม 2563ค่ายอิคคิวซัง 2 : ปรึกษาแก้ปัญหาการทำโครงงาน (โรงเรียนพระปริยัติธรรมภาคเหนือ) ประจำปีการศึกษา 2562 แบบออนไลน์17668313
16วันที่ 21-22สิงหาคม 2563อบรมเรื่อง การพัฒนางานวิจัยวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการตรวจวัดข้อมูลสิ่งแวดล้อมตามหลักวิธีดำเนินการตรวจวัดของ GLOBE (Global Learning and Observations to Benefit the Environment) ในรูปแบบออนไลน์1230426
17วันที่ 11 กันยายน 2563“กิจกรรม Show & Share 2020 : สิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว” (แบบออนไลน์)14447562948
  รวม8071,9932,81090

หมายเหตุ จำนวนครูนักเรียนเป็นการนับซ้ำคนเข้าร่วมกิจกรรม