3-10 แรงโน้มถ่วงของโลก วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก  วิชาวิทยาศาสตร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  • 1.1  นักเรียนสามารถ อธิบายความหมายแรงโน้มถ่วงของโลกได้
  • 1.2  ผู้เรียนสามารถทดลองหาความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้
  • 1.3  ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการเรียนวิทยาศาสตร์
  • 1.4  เพื่อให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ออกแบบและประดิษฐ์ชิ้นงานโดยใช้แนวคิดลูกยางนาในท้องถิ่น

 

2. กิจกรรม (Activities)

ออกแบบโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง การหาค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง  ( 3 ชั่วโมง )

*** ให้นักเรียนทำข้อสอบก่อนเรียนเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกจำนวน 20 ข้อ 30 นาที

  1. ระบุปัญหา

คุณครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกว่านักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร โดยใช้คำถามเช่น แรงโน้มถ่วงคืออะไร , นักเรียนรู้จักแรงโน้มถ่วงหรือไม่ , แรงโน้มถ่วงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเราอย่างไร , เราใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วงได้หรือไม่ อย่างไร เป็นต้น

แนวคำตอบ   แรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ , แรงที่ดึงวัตถุลงสู้พื้นโลก

  1. ค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

ให้นักเรียนศึกษาใบงานเรื่อง แรง และคุณครูอธิบายให้ความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงกับนักเรียนเพิ่มเติม และให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต

  1. วางแผนและพัฒนา

ให้นักเรียนแข่งขันกันโดยการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการทดลองหาค่า g (แรงโน้มถ่วงของโลก) โดยให้นักเรียนปล่อยวัตถุลงสู่พื้นพร้อมจับเวลาที่ใช้ในการปล่อยจนวัตถุตกลงสู่พื้น โดยก่อนแข่งขันให้นักเรียนนำมาทดลองเพื่อหาจุดผิดพลาดแล้วแก้ไขการทดลองของตนเองจากนั้นจึงเริ่มการแข่งขันจริง

  1. ทดสอบและประเมินผล

นำผลการแข่งขันที่ได้มาหาค่าความคลาดเคลื่อน ใครที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยจะเป็นผู้ชนะ (โดยเทียบกับค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือ 9.8 เมตรต่อวินาทีกำลังสอง)

  1. นำเสนอผลงาน

ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาอภิปรายในห้องเรียนว่ามีผลอย่างไร จากนั้นคุณครูสรุปการอภิปรายของนักเรียนแต่ล่ะกลุ่ม เพื่อเป็นการเกริ่นนำและแนะความรู้ใหม่ให้กับนักเรียนให้นักเรียนศึกษา เรื่องที่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกจากสื่อการสอนโดยคุณครูใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนคือ ใช้โปรแกรม SAS Curriculum Pathways ซึ่งเป็นบทเรียนออนไลน์แนวใหม่ ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้นักเรียนใช้โปรแกรมดังกล่าวในการศึกษาเรื่องแรงโน้มถ่วงโดยที่คุณครูคอยให้คำปรึกษาและอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม

กิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 STEM Education กับลูกยางนา    ( 2 ชั่วโมง )

  1. ระบุปัญหา

คุณครูสอบถามนักเรียนว่ารู้จักลูกยางนาหรือไม่  ลูกยางนามีลักษณะเป็นอย่างไร เวลาที่ลูกยางนาลอยในอากาศเป็นอย่างไร จากนั้นคุณครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5-6 คน และ กำหนดกิจกรรมในการเรียนในครั้งนี้ คือ ให้นักเรียนประดิษฐ์ลูกยางนาเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันลอยในอากาศได้นานและคุณครูกำหนดระยะเวลาในการประดิษฐ์ 45 นาที

  1. ค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาปัญหาที่คุณครูกำหนดให้จากนั้นปรึกษากันและหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องในการที่จะประดิษฐ์ลูกยางนาจากกระดาษในครั้งนี้ เลือกแนวคิดที่คิดว่าดีที่สุด

  1. วางแผนและพัฒนา

หลังจากที่ได้เลือกแนวคิดที่ดีที่สุดแล้วให้นักเรียนกำหนดและวางแผนการทำงานร่วมกันในกลุ่มว่าจะมีขั้นตอนในการทำอย่างไร ให้ทันเวลาที่ครูกำหนดให้ ลงมือออกแบบและประดิษฐ์ลูกยางนาจากกระดาษเพื่อแข่งขัน และคำนวณหาพื้นที่ปีกของลูกยางนาที่ประดิษฐ์ขึ้น

  1. ทดสอบและประเมินผล

ให้นักเรียนนำสิ่งประดิษฐ์มาทดลองเพื่อที่จะได้นำผลการทดลองกลับไปแก้ไขหรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.การนำเสนอผลลัพธ์

ให้นักเรียนนำเสนอแบบในการประดิษฐ์เพื่อให้เพื่อนๆในห้องเรียนทราบว่ามีวิธีการอย่างไรในการประดิษฐ์มีหลักการหรือเหตุผลสนับสนุนการประดิษฐ์อย่างไร จากนั้นเริ่มการแข่งขันโดยกลุ่มที่ลอยในอากาศนานที่สุดเป็นกลุ่มที่ชนะ แข่งขันกลุ่มละ 3 รอบแล้วหาเวลาเฉลี่ย จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกัน

***ทำแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 30 นาที

 

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  • 3.1 บทเรียนออนไลน์ SAS Curriculum Pathways
  • 3.2 ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
  • 3.3 วัสดุและอุปกรณ์ในการประดิษฐ์ลูกยางนากระดาษ ได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสารทั่วไป กระดาษกาวย่น และกรรไกร เป็นต้น

 

4. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์การเรียนรู้ เครื่องมือวัด วิธีการ เกณฑ์

1. นักเรียนสามารถ อธิบายความหมายแรงโน้มถ่วงของโลกได้ (K)

แบบทดสอบ เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก

ตรวจแบบทดสอบ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 60

2. ผู้เรียนสามารถทดลองหาความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ (P)

แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก

การสังเกต ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 60

3. ผู้เรียนมีความใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการเรียนวิทยาศาสตร์ (A)

แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

การสังเกต ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 60

4. เพื่อให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก ออกแบบและประดิษฐ์ชิ้นงานโดยใช้แนวคิดลูกยางนาในท้องถิ่น

แบบประเมินชิ้นงานนักเรียน เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก “STEM Education กับลูกยางนาในท้องถิ่น”

ตรวจชิ้นงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ 60

 

แบบประเมินชิ้นงานนักเรียน เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก

“STEM Education กับลูกยางนาในท้องถิ่น”

ตารางบันทึกผลคะแนน

 กลุ่ม ระดับคะแนนของรายการประเมิน คะแนนรวม(100คะแนน)
ผลงาน(25 คะแนน) การนำเสนอ(20 คะแนน) ใช้กระบวนการออกแบบวิศวกรรม(20 คะแนน) การบูรณาการความรู้ (STEM)(25 คะแนน) เวลาที่ใช้(10 คะแนน)
1 
2 
3 
4 
5 
6 

เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินชิ้นงานนักเรียน

ระดับ /รายการประเมิน ดีมาก(4 คะแนน) ดี(3 คะแนน) พอใช้(2 คะแนน) ควรปรับปรุง

(1 คะแนน)

ผลงาน(20 คะแนน) ลูกยางนาที่สร้างขึ้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยจะหมุนอย่างต่อเนื่องเมื่อปล่อยในอากาศ ลูกยางนาที่สร้างขึ้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยจะหมุนเมื่อปล่อยไปแล้วในอากาศ ลูกยางนาที่สร้างขึ้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์โดยมีจะหมุนบ้างเมื่อปล่อยในอากาศ ลูกยางนาที่สร้างขึ้นไม่มีการหมุนเมื่อปล่อยในอากาศ
การนำเสนอ(20 คะแนน) สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ และสามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ และสามารถสื่อสารได้ดี แต่ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง สามารถนำเสนอได้แต่ขาดความน่าสนใจ หรือขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง การนำเสนอไม่สอดคล้องกับผลงาน และขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง
ใช้กระบวนการออกแบบวิศวกรรม(25 คะแนน) มีการใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม มีการสืบค้นข้อมูล และแสดงถึงการใช้ข้อมูลมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจออกแบบ มีการใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม มีการสืบค้นข้อมูล แต่ไม่ได้นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการตัดสินใจออกแบบ มีการใช้กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม แต่ขาดการออกแบบ ขาดกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม
การบูรณาการความรู้ (STEM)(25 คะแนน) สามารถอธิบายความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานได้ชัดเจนและถูกต้องครบ 3 ด้าน สามารถอธิบายความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานได้ชัดเจนและถูกต้องครบ 2 ด้าน สามารถอธิบายความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่นำมาใช้ในการออกแบบผลงานได้ชัดเจนและถูกต้องเพียงด้านเดียว ไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลงานได้
เวลาที่ใช้(จัดลำดับเปรียบเทียบจากแต่ละกลุ่มในชั้นเรียน)(10 คะแนน) ใช้เวลาในการลอยอยู่ในอากาศนานที่สุด เป็นลำดับที่ 1 ใช้เวลาในการลอยอยู่ในอากาศนานที่สุด เป็นลำดับที่ 2 ใช้เวลาในการลอยอยู่ในอากาศนานที่สุด เป็นลำดับที่ 3 ใช้เวลาในการลอยอยู่ในอากาศนานที่สุด เป็นลำดับที่ 4 เป็นต้นไป

 

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้แบบ Project-based Learning using ICT เป็นกิจกรรมที่ท้าทาย ทำให้ผู้เรียนสนใจและสนุกสนานในการเรียน นักเรียนได้ปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกทำ โดยการออกแบบทางวิศวกรรม ในลักษณะที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดปัญหาทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปสู่การทดลองและค้นหาคำตอบด้วยกระบวนการทางทางวิทยาศาสตร์ เพราะได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยครูคอยให้คำแนะนำและช่วยเหลือ กิจกกรรมนี้ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปัญหา

  1. การทดลองอาจมีการคลาดเคลื่อนในการทดลองในการจับเวลา เพราะจับเวลาด้วยโทรศัพท์มือถือ
  2. การใช้บทเรียนออนไลน์ SAS® Curriculum Pathways เนื่องจากบทเรียนเป็นภาษาอังกฤษ
  3. ในการทดลองปล่อยลูกยางนา มีลมพัดอาจทำให้ระยะเวลาที่ลอยอยู่ในอากาศคลาดเคลื่อน

แนวทางแก้ไข

  1. ชี้แจงกับนักเรียนให้ทราบว่าการจับเวลาด้วยโทรศัพท์อาจมีการคลาดเคลื่อนได้
  2. ครูอธิบายวิธีการใช้บทเรียนออนไลน์ และคอยให้คำแนะนำขณะใช้งาน
  3. การทดลองปล่อยลูกยางนาต้องเลือกสถานที่ และเวลาที่ไม่มีลมพัด

6. ข้อมูลเพิ่มเติม ( แผนการจัดการเรียนรู้ และรูปกิจกรรม )

6.1 แผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (PBL using ICT) เรื่อง STEM Education กับลูกยางนาในท้องถิ่น.doc

แผนการจัดการเรียนรู้ การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (PBL using ICT) เรื่อง STEM Education กับลูกยางนาในท้องถิ่น.pdf

6.2 รูปกิจกรรม

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย (มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี)

1.  นายภานุพันธ์   สุดไชย  นักศึกษาสาขาวิชากวิทยาศาสตร์
คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ : 089-6269818  e-mail : 18403p@gmail.com

2. นายพีรสิทธ์  คำวงศ์  นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ : 087-7209491  e-mail : P_koaw_k@hotmail.com

3. นายปิโยรส เหง้าเกษ นักศึกษาสาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ : 088-1224818  e-mail : tone_honda2000@hotmail.com