3-01 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 

เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต   วิชาวิทยาศาสตร์   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
  2. ระบุและยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปแบบต่างๆได้
  3. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
  4. นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  5. มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และทำงานกลุ่มร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

2.กิจกรรม (Activities)

ใช้วิธีการสอนโดยใช้การทำกิจรรมกลุ่มให้นักเรียนมีการสำรวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและท้องถิ่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตผ่านการใช้แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือ จากนั้นเมื่อมา ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากการพูดคุยประสบการณ์ที่ได้รับจากการสำรวจและการสอบถาม เช่นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงเรียนมีอะไรบ้าง และสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีจำนวนมากที่สุด จากนั้นครูอธิบายความรู้เพิ่มเติม ซึ่งจากการสำรวจสิ่งมีชีวิตที่พบมากที่สุดในโรงเรียน พบว่า มีมดแดงอยู่บนต้นไม้มากที่สุด นักเรียนจึงให้ความสนใจที่จะศึกษาการดำรงชีวิตของมดแดง ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง มดแดงแรงฤทธิ์ จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความสัมพันธ์ของมดแดงที่มีต่อธรรมชาติ และรูปแบบการดำรงชีวิตของมดแดงครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงมดแดง จากนั้นร่วมกันอภิปราย และแบ่งกลุ่มในการจัดทำโครงงานเรื่องคอนโดมดแดง โดยร่วมกันวางแผนกำหนดสมมติฐาน ออกแบบวัสดุที่ใช้ในการทำคอนโดมดแดง จากนั้นร่วมกันคิดและออกแบบ รวมทั้งนำเสนอแบบคอนโดมดแดงขึ้นมา จากนั้นครูให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำคอนโดมดแดง และประเมินโดยการทำกิจกรรมในชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับทำคอนโดมดแดง เมื่อนักเรียนประดิษฐ์ผลงานคอนโดมดแดงแล้วแต่ละนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้ของโรงเรียนมีการสังเกตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอบันทึกผลจากการถ่ายรูป จากนั้นแต่กลุ่มนำเสนอผลงานผ่านภาพถ่าย โดยครูจะมีการวัดผลการเรียนรู้จากกิจกรรมการเรียนการสอน แบบ PBLจากการปฏิบัติกิจกรรม และสรุปความรู้ที่ได้จากการทำคอนโดมดแดงจากการนำเสนอภาพถ่ายของนักเรียน

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

โน้ตบุ๊ค  กล้องถ่ายภาพ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต

4.การวัดและการประเมินผล

ประเมินผลจากชิ้นงานภาพถ่ายโดยใช้เกณฑ์การประเมิน 4 ระดับ โดยประเมินในเรื่อง  การนำเสนอ การทำงานเป็นทีม   เนื้อหา การออกแบบ/แนวคิดและความคิดสร้างสรรค์

5.บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการสอนเรื่องความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต แบบProject-Based Learning Using ICT.ทำให้นักเรียนมีความสนใจใฝ่รู้มากยิ่งขึ้น มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสิ่งที่นักเรียนสนใจและนักเรียนมีทักษะการใช้ ICT.เพิ่มมากขึ้น จากที่บางคนไม่รู้จักการใช้แท็บเล็ตในการถ่ายรูปเมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมโครงงานคอนโดมดแดงแล้วสามารถถ่ายรูปและบันทึกรูปได้ มีอุปสรรคในเรื่องของเวลาที่ไม่เพียงพอ

 

 

 

 

 

6.ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

 

สำรวจสิ่งมีชีวิตในบริเวณต่างๆรอบโรงเรียน

มีการใช้ ICT.เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน

ภาพที่นักเรียนได้บันทึกจากการทำกิจกรรม

เรียนรู้ที่จะใช้ ICT.อย่างมีคุณค่า

ชิ้นงานคอนโดมดแดงที่นักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์

นักเรียนได้ร่วมกันนำเสนอชิ้นงานผ่านภาพถ่าย

7.นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ชื่อ-นามสกุลนางสาวชโลธร บุญอาจนักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์

คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์088-0819161e-mail: chilopody@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล นางสาวอนงค์นาฏ   ทองทับ นักศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์

คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 088-0846510 e-mail: anongnat6510@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุลนางสาว ชนารักษ์ เวชสวัสดิ์

หมายเลขโทรศัพท์ 081-7303683   e-mail: chanarak@gmail.com

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม                         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต                                                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สาระที่ 2 สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม                                                      จำนวน 5ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ว 2.1           เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่ได้เรียน

มาตรฐาน ว 2.2           เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศและนำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

มาตรฐาน ว 8.1           ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ในการสืบเสาะหาความรู้ รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัดช่วงชั้น

มฐ ว 2.1 ป.6/3            สืบค้นข้อมูลและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

มฐ ว 2.2ป.6/4 อภิปรายแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มฐ ว 2.2 ป.6/5   มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

มฐ ว 8.1 ป.6/2            วางแผนการสังเกตเสนอการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าคาดการณ์สิ่งที่พบจากการสำรวจตรวจสอบ

มฐ ว 8.1 ป.6/3            เลือกอุปกรณ์และวิธีการสำรวจตรวจสอบที่ถูกต้องเหมาะสมให้ได้ผลที่ครอบคลุมและเชื่อถือได้

มฐ ว 8.1 ป.6/4            บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพวิเคราะห์และตรวจสอบผลกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป

มฐ ว 8.1 ป.6/6            แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายลงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

มฐ ว 8.1 ป.6/8            นำเสนอจัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจาและเขียนรายงานแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

สาระสำคัญ

            สิ่งมีชีวิตอยู่ร่วมกันย่อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันซึ่งนอกจากจะมีในแง่ของการถ่ายทอดพลังงานสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ ซึ่งถ้าพิจารณาจากการได้ประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันหลายรูปแบบ คือฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่าภาวะปรสิต ส่วนต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์เรียกว่า ภาวะพึ่งพาอาศัย และฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ฝ่ายหนึ่งไม่เสียประโยชน์เรียก ภาวะอิงอาศัย เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ของสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิตจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม แต่ถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติละการกระทำของมนุษย์ ถ้ามีความรุนแรงและยาวนานอาจส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตให้สูญพันธุ์ได้ ดังนั้นจึงมีการอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตด้วยการไม่ทิ้งขยะ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน คงความสมดุลของระบบนิเวศ ด้วยการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

 

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
  2. ระบุและยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในรูปแบบต่างๆได้
  3. เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
  4. นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
  5. มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และทำงานกลุ่มร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

สาระการเรียนรู้

  • ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
  • ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
  • ภาวการณ์พึ่งพา
  • ภาวะอิงอาศัย
  • ภาวะปรสิต
  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
  • ความสมดุลในธรรมชาติ

กระบวนการจัดการเรียนรู้

จำนวน 1 ชั่วโมง

นักเรียนได้สำรวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและท้องถิ่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากการพูดคุยประสบการณ์ที่ได้รับจากการสำรวจและการสอบถาม เช่นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณโรงเรียนมีอะไรบ้าง และสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีจำนวนมากที่สุด จากนั้นครูอธิบายความรู้เพิ่มเติม ซึ่งจากการสำรวจสิ่งมีชีวิตที่พบมากที่สุดในโรงเรียน พบว่า มีมดแดงอยู่บนต้นไม้มากที่สุด นักเรียนจึงให้ความสนใจการดำรงชีวิตของมดแดง ครูให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง มดแดงแรงฤทธิ์ จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความสัมพันธ์ของมดแดงที่มีต่อธรรมชาติ และรูปแบบการดำรงชีวิตของมดแดง โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ในการอภิปรายร่วมกันและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบผังมโนทัศน์ แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่ม ตัวแทนนำเสนอข้อมูลและอภิปรายร่วมกันระหว่างกลุ่ม ครูให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติม ในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ และประเมินผลจากการปฏิบัติกิจกรรม และตอบคำถามเช่น มดแดงมีการดำรงชีวิตอย่างไร ,ในธรรมชาติมดแดงมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างไร (มดแดงช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยต่างๆ หนอนศัตรูพืชและแมลง )

            ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลในการเลี้ยงมดแดง โดยครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต ร่วมกับครูเรื่อง คอนโดมดแดง จากนั้นร่วมกันอภิปราย และแบ่งกลุ่มในการจัดทำโครงงานเรื่องคอนโดมดแดง โดยร่วมกันวางแผนกำหนดสมมติฐาน ออกแบบวัสดุที่ใช้ในการทำคอนโดมดแดง จากนั้นร่วมกันคิดและออกแบบ รวมทั้งนำเสนอแบบคอนโดมดแดงขึ้นมา จากนั้นครูให้คำแนะนำเพิ่มเติมในการทำคอนโดมดแดง และประเมินโดยการทำกิจกรรมในชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับทำคอนโดมดแดงในชั่วโมงต่อไป

จำนวน 2 ชั่วโมง

หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาข้อมูลและวางแผนออกแบบ การทำคอนโดมดแดงแล้วนักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์แต่ละกลุ่ม จากนั้นแต่ละกลุ่มลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ครูให้คำแนะนำและคอยให้คำชี้แนะ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เมื่อนักเรียนสร้างคอนโดมดแดง ให้นักเรียนนำผลงานที่ได้ไปผูกติดไว้กับต้นไม้รอบบริเวณของโรงเรียน

จำนวน 2 ชั่วโมง

            เมื่อนักเรียนนำคอนโดมดแดงผูกติดกับต้นไม้แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันสังเกตและบันทึกผล จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายที่นักเรียนร่วมกันถ่ายทำมาสรุปและอภิปรายผล ซึ่งมีการอภิปรายภายในกลุ่มและภายในชั้นเรียนร่วมกัน จากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบโครงงาน ครูเชื่อมโยงความรู้ที่ได้ ไปสู่เรื่องสวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียน การอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยชี้ให้นักเรียนเห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมซึ่งจะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้นักเรียน จากนั้นครูประเมินผลการนำเสนอโครงงาน การทำงานร่วมกันและตอบคำถามเช่น นักเรียนจะมีวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมคอนโดมดแดง และคอนโดมดแดงมีประโยชน์อย่างไรต่อธรรมชาติ

 

การวัดและประเมินผล

  1. ด้านความรู้

จากการสอบถาม

  1. ด้านทักษะกระบวนการ

กระบวนการทำงานกลุ่ม

การทดลองและอภิปรายผล

การสืบค้นและลงความคิดเห็นจากข้อมูล

  1. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

มีวินัย

ใฝ่เรียนรู้

อยู่อย่างพอเพียง

ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์

 

เครื่องมือการวัดและประเมินผล

                        แบบประเมินการทำงานเป็นกลุ่ม

แบบประเมินโครงงาน

แบบประเมินกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน

แบบประเมินทักษะวิทยาศาสตร์

ชิ้นงาน / ภาระงาน

                        ออกแบบและประดิษฐ์คอนโดมดแดง

โครงงานวิทยาศาสตร์

ตอบคำถามเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

                        ใบความรู้เรื่อง มดแดงแรงฤทธิ์

ห้องสมุด

Internet

บริเวณโดยรอบโรงเรียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใบความรู้ เรื่อง มดแดงแรงฤทธิ์

  • วิถีชีวิตและวงจรชีวิตของมดแดง

มดแดงแดงเป็นสัตว์สังคม เนื่องจากมดแดงชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันสร้างรังออกไข่ เลี้ยงดูออกอ่อนให้เจริญเติบโตเป็นสมาชิกใหม่ ขยายประชากรมดแดงให้เพิ่มมากขึ้น ภายในรังของมดแดง จะมีสมาชิก ดังต่อไปนี้

 

2.1 แม่เป้งหรือนางพญา (Queen Caste) มีรูปร่างขนาดใหญ่กว่ามดแดงธรรมดา มีขนาดเท่ากับตัวแตนหรือตัวต่อบางชนิด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาผึ้ง เมื่อใดที่แม่เป้งเห็นว่าสภาพไม่เหมาะ ในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิม แล้วบินไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ที่มีน้ำ อาหารอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ที่มีใบดก เขียวชอุ่ม หนาทึบ และไม่มีศัตรูรบกวน

 

 

 

 

 

 

2.2 มดดำหรือพ่อพญาหรือพ่อพันธุ์ (Male Caste) จะพบพ่อพญาในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น คือประมาณเดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน หรือต้นฤดูฝน เนื่องจากพ่อพญาจะต้องผสมพันธุ์กับนางพญาหรือแม่เป้งเพื่อให้แม่เป้งบินไปสร้างรังแล้ววางไข่ คล้ายการผสมพันธุ์ของผึ้ง เมื่อมดดำผสมพันธุ์กับแม่เป้งแล้ว ไม่นานก็จะตายจนกว่าจะถึงฤดูกาล มดดำจะถูกฟักออกมาอีกครั้ง มดดำจะมีปีกสำหรับบินได้ ลักษณะพิเศษนี้คล้ายแมลงเม่าของปลวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.3 มดแดงหรือมดงาน (Workers Caste) ได้แก่ มดแดงที่พบเห็นกันโดยทั่วไป มีหน้าที่สร้างรัง หาอาหาร เลี้ยงดูตัวอ่อน ตลอดทั้งการป้องกันศัตรูผู้รุกราน มดแดงทุกตัวทำหน้าที่ทุกอย่างด้วยความขยันขันแข็งตลอดเวลา แม้ในเวลากลางคืน หากไม่มีอาหารที่สะสมไว้ในรัง มดแดงก็จะออกหาอาหาร โดยไม่หยุดพักผ่อนเลย

 

วงจรชีวิตของมดแดง

วงจรชีวิตของมดแดงจะเริ่มต้นที่แม่เป้งออกไข่ที่มันสร้างเพียงตัวเดียวก่อน โดยการพับใบไม้ใบเดียว หรือสร้างใยบริเวณ ซอกของก้านกล้วย ใบไม้ที่ชอบพับทำรังและวางไข่ของแม่เป้ง คือ ใบข่า ใบม้วนหมู ใบยางอินเดีย ใบยอ ใบมะพร้าว เป็นต้น ไข่มดแดงมีหลายลักษณะ ดังนี้

  1. ไข่มาก เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่กว่าไข่ธรรมดา สีขาว ใส สะอาด จะฟักออกมาเป็นแม่เป้ง หรือนางพญา สำหรับการออกไข่ขยายพันธุ์ จะมีมากในราวเดือนมกราคม ถึงเมษายน

 

  1. ไข่ฝาก เป็นไข่ที่มีขนาดเล็ก ไม่โต ไม่เต่ง เหมือนไข่มาก จะฟักออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา กลายเป็นมดงานซึ่งถือเป็นประชากรที่สำคัญมากในสังคมมดแดง หากมีประชากรมดแดงมาก ย่อมหมายถึงการขยายประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมดแดงหรือมดงานนี้ เป็นกำลังในการสร้างรัง หาอาหาร น้ำ เลี้ยงดูไข่หรือตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในเวลาอันรวดเร็ว

 

  1. กระบวนการสร้างรังของมดแดง

มดแดงทุกตัวจะมีใยพิเศษ ที่สร้างมาจากกรดน้ำส้มหรือกรดมดจากส่วนท้อง ผสมกับเยื่อหรือยางของใบไม้ ถ้ากล่าวในเชิงวิทยาศาสตร์โครงสร้างของใบไม้จะมีแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรตปนอยู่ มดแดงจะดึงใบไม้มายึดให้ติดกันโดยใช้ใยนี้ เมื่อแห้งจะมีสีขาวและเหนียว คล้ายสำลี ยึดติดให้ใบไม้เป็นรูปทรงกลม สามารถป้องกันน้ำฝนได้

มดแดงชอบทำรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ริมลำห้วย ลำธาร หนองน้ำ จะพบมดแดงอาศัยทำรังอยู่อย่างหนาแน่น มากกว่าแหล่งที่ไม่มีน้ำ เนื่องจากมดแดงต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการสร้างกรดน้ำส้ม บรรจุไว้ในส่วนท้อง แล้วนำไปใช้ในการดำรงชีวิตของมัน

ต้นไม้ที่มดแดงชอบทำรัง ได้แก่ ต้นไม้ที่มีใบอ่อน นุ่ม หนา ไม่ผลัดใบง่าย มีอัตราการคายน้ำ คายก๊าซออกซิเจนที่ดี เช่น ต้นหว้า ชมพู่ สะเม็ก มะม่วง ลำไย มะเฟือง มะไฟ ต้นจิก ต้นรัง ต้นพอก กะบก กะบาก เป็นต้น

ในฤดูฝน มดแดงจะสร้างรังอยู่ตามต้นไม้เล็กๆ ไม่สูงมากนักเนื่องจากการสร้างรังในที่สูง มดแดงจะประสบกับปัญหาจาก ลม ฝน พายุ ทำให้รังได้รับความเสียหาย จึงพากันสร้างรังขนาดเล็ก หลายๆ รัง ในที่ต่ำเกือบติดดิน เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว ดังนั้นหากมีใบของพืชประเภทไม้เลื้อย เช่น บวบ ม้วนหมู ตำลึง หรือไม้เถาพื้นบ้าน มดแดงจะสร้างรังอาศัยอยู่ทันที

 

  1. อาหารของมดแดง

มดแดงชอบอาหารที่สะอาด ทั้งสดและแห้ง ที่สามารถจะกัด แทะได้ ซึ่งเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ที่ชอบมากเป็นพิเศษ คือ พวกแมลงต่างๆ โดยจะคาบไปเก็บสะสมเอาไว้ในรัง ถ้าเป็นอาหารชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถจะคาบหรือ ลากไปเก็บในรังได้ มดแดงจะช่วยกันกัด และเยี่ยวราดหรือปล่อยกรดมดใส่ไว้ เพื่อไม่ให้อาหารนั้นบูดเน่าเสียหาย เปรียบเสมือนเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง และรอให้อาหารนั้นแห้ง จึงค่อยกัดเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปเก็บไว้ในรัง เพื่อป้อนตัวอ่อนหรือกินเป็นอาหารพร้อมๆ กัน

ในการหาอาหาร มดแดงจะเดินทางไปรอบๆ ที่อยู่ของมัน ถ้าหากพบเหยื่อ หรืออาหาร

มดแดงจะส่งสัญญาณให้กันได้รับรู้และเดินทางมาทันที หากเหยื่อยังมีชีวิตอยู่ มันจะรุมกัด และเยี่ยวราด (ปล่อยกรดมดหรือกรดน้ำส้ม) เหยื่อจะตาย หรือได้รับบาดเจ็บ มดแดงจะช่วยกันลากไปเก็บไว้ในรัง สะสมไว้เป็นอาหารเลี้ยงดูลูกอ่อน ต่อไป

 

ข้อสังเกตประการหนึ่งพบว่า มดแดงจะนำอาหารไปเก็บสะสมไว้ในรังเสมอ เนื่องจาก

ภายในรังอาหารจะไม่ถูกน้ำค้าง น้ำฝน อาหารจะไม่บูดเน่า รวมทั้งเป็นที่รวมของสังคมมดแดง ซึ่งจะมีการประชุม วางแผนการทำงานและกินอาหารร่วมกัน อีกประการหนึ่งด้วย

 

 

  1. ศัตรูของมดแดง

ศัตรูของมดแดง กล่าวได้ว่า มีค่อนข้างน้อย เพราะมดแดงมีเยี่ยวเป็นกรดน้ำส้ม หรือกรดมดที่บรรจุไว้ในส่วนท้องของมัน สามารถขับไล่ศัตรูผู้รุกรานที่อยู่อาศัย โดยมดแดงจะกัดและเยี่ยวราด ทำให้ปวดแสบ ปวดร้อน ประกอบกับมีกลิ่นที่ฉุน ทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ หลบหนีหรือถูกทำลายไป แต่ก็ยังพบว่า มดแดงมีศัตรูอยู่บ้าง ได้แก่

5.1 ปลวก มดแดงจะไม่ชอบปลวก แต่ปลวกก็ไม่ใช่ศัตรูโดยตรงของมดแดง เพราะปลวกไม่ได้ทำอันตรายมดแดงแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงว่า มดแดงไม่ชอบอยู่ในที่ที่มีปลวก คงเป็นเพราะปลวกมีกลิ่นที่มดแดงไม่ชอบก็อาจเป็นได้

5.2 มดดำ มดดำทุกชนิดเป็นศัตรูโดยตรงของมดแดง หากมดฝ่ายใดพลัดหลงเข้าไปในกลุ่มของฝ่ายตรงข้าม ก็จะถูกรุมกัดจนตาย มดดำจะเก่งกล้ากว่ามดแดงมาก โดยเฉลี่ยแล้วมดดำ ตัวเดียว จะสามารถทำลายมดแดงได้ถึง 10 ตัว

5.3 มดไฮ มดชนิดนี้บางท้องถิ่น เรียกว่า “มดเอือด”1 เป็นมดขนาดเล็ก ลำตัวยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดของมดแดงอย่างยิ่ง เนื่องจากมดชนิดนี้มีเยี่ยวที่มีกลิ่นฉุนรุนแรงมาก หากมดแดงได้รับกลิ่น และถูกเยี่ยวของมันก็จะตายทันที คล้ายกับว่าได้รับแก็สพิษฉันนั้น มดไฮ 1 ตัว สามารถทำลายมดแดงได้ถึง 20 ตัวเลยทีเดียว

 

* 1 เอือด เป็นภาษาอีสาน หมายถึง ดินที่มีแร่เกลือสินเธาว์ผสมอยู่ เรียกว่าขี้ทา ขี้เอือด มดเอือด บางที เรียกว่า “มดไฮ”

 

 

  1. ประโยชน์ของมดแดง

ประโยชน์ของมดแดง มีมากมายหลายประการ พอสรุปได้เป็นหัวข้อ ดังนี้

6.1 ใช้เป็นอาหาร ได้จากไข่ และตัวมดแดง มดแดงมีกรดน้ำส้ม ให้รสเปรี้ยว อร่อย

มีคุณสมบัติเป็นกรดใช้แทนมะนาว หรือน้ำส้มสายชู ให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม รายการอาหารที่ได้จากมดแดงและไข่มดแดง ได้แก่ ยำไข่มดแดง ก้อยไข่มดแดง ห่อหมกไข่มดแดง ต้มยำปลาช่อนไข่มดแดง แกงขี้เหล็กไข่มดแดง ทอดไข่ยัดไส้ เป็นต้น

6.2 ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค ดังนี้

6.2.1 ใช้สูดดม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย โดยใช้มดแดง นำมาขยำแล้ว สูดดม

6.2.2 แก้ท้องร่วง ใช้เนื้อไก่พื้นบ้าน นำส่วนที่เป็นเนื้อแหย่เข้าไปในรังมดแดง เมื่อมดแดงกัดได้ปริมาณมากดึงออกมาแล้วใช้มือขยำนำไปย่างไฟให้สุกรับประทานขณะที่ยังร้อน อาการท้องร่วงจะบรรเทาและหายไป

6.2.3 แก้ท้องผูก นำมดแดงมาต้มใส่น้ำสะอาด ประมาณ 1 – 2 ถ้วย พอเดือด ยกลงแต่งรสโดยใช้เกลือพอเหมาะ กรองด้วยผ้าขาวบาง ดื่มทันที อาการท้องผูกจะหาย

6.2.4 ใช้ลบรอยไฝหรือขี้แมลงวัน โดยจับเอาตัวมดแดงกัดตรงเม็ดไฝ ให้มันเยี่ยวใส่ ถ้าไฝเม็ดโต ให้กัดหลายตัวพร้อมกัน ด้วยฤทธิ์ของน้ำกรด ไฝจะบวมและเปื่อยละลายเอาสีดำไหลออกมา เมื่อแผลหายจะไม่ปรากฏเม็ดไฝอีกต่อไป มีเพียงรอยแผลเป็นเล็กน้อยเท่านั้น

6.2.5 ใช้แก้โรควูบ นำรังมดแดงร้างที่เกิดจากต้นคูณ มาใส่หม้อนึ่งต้มให้เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะอังกับไอน้ำเดือด สูดเอาไอร้อน ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรควูบจะมีอาการดีขึ้นและหายไปในที่สุด

6.3 ใช้กำจัดศัตรูพืช ต้นผลไม้ต่างๆ ตลอดทั้งพืชผัก เช่น บวบ ถั่วฝักยาว แตงร้าน หากมีมดแดงอาศัยอยู่ จะปราศจากหนอน แมลง เพลี้ย รบกวน เนื่องจากมดแดงจะจัดการนำไปเป็นอาหารจนหมดสิ้น ต้นมะม่วงที่มีปัญหาเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยแป้งในต้นมะขาม หากนำมดแดงไปเลี้ยงเอาไว้ จะหมดปัญหาไป ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการกำจัดศัตรูพืชและปลอดสารพิษด้วย

6.4 ให้ความเพลิดเพลิน ผู้ที่เลี้ยงมดแดงทุกคน จะมีความเพลิดเพลิน ไม่เคร่งเครียด มดแดงจะช่วยผ่อนคลาย ทำให้เกิดคุณธรรมที่ได้จากการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม การดำรงชีวิตของ มดแดงอยู่เสมอ มดแดงให้ข้อคิด คติและสัจธรรมแก่เรามากมายหลายประการ ซึ่งผู้ที่เลี้ยงมดแดงทุกคนจะสัมผัสได้

 

 

 

  1. ข้อพึงระวังจากมดแดง

แม้ว่ามดแดง จะมีประโยชน์ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว มดแดงก็ยังมีสิ่งที่พึงระวังอยู่บ้าง

ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

7.1 กัดเจ็บ แต่ไม่เป็นอันตราย

7.2 เยี่ยวของมดแดงซึ่งเป็นกรด หากเข้าตาจะปวดแสบ ปวดร้อนวิธีแก้ไข ใช้น้ำลายป้ายตาจะหายทันที

7.3 เสื้อผ้าที่ถูกน้ำกรดจากมดแดง จะซีดด่าง ขาดความสวยงาม

7.4 ก่อความรำคาญ ในกรณีที่มดแดงไต่เข้าไปหาอาหารในบ้านเรือน อาจเข้าใจผิดว่า มดแดงก่อความรำคาญ แท้จริงแล้วมดแดงไปหาอาหารเพื่อนำไปป้อนลูกอ่อนของมันนั่นเอง หากจัดที่ให้น้ำ ให้อาหารและนำอาหารวางไว้ที่ต้นไม้ที่มันสร้างรังอยู่ มดแดงจะไม่เข้ามารบกวนเราเลย ข้อสังเกต มดแดงจะสร้างรังที่ต้นไม้เท่านั้น ไม่ปรากฏว่ามีการสร้างรังในบ้านเรือนของคนเรา

 

 

 

 

การเลี้ยงมดแดง

มดแดงเป็นแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบและเข้าใจลึกซึ้งถึงประโยชน์ที่ได้รับจากมดแดง ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของมดแดงและในบางครั้งก็ทำลายมดแดงไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การใช้สารเคมีฆ่าแมลง มดแดงช่วยป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยต่างๆ หนอนศัตรูพืชเกือบทุกชนิดและแมลงที่เป็นศัตรูพืชต่างๆ เช่น ตั๊กแตก เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว ฯลฯ เมื่อมดแดงมีความสามารถที่จะกำจัดศัตรูพืชได้หลายชนิด ก็เป็นการควบคุมศัตรูพืชให้อยู่ในระดับสมดุลย์ทางธรรมชาติ ทำให้ศัตรุพืชไม่ระบาดรุนแรง เป็นการลดการใช้สารเคมี ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเกษตรกรและสภาพแวดล้อม

 

การดำรงชีวิตของมดแดง มดแดงเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันสร้างรังเลี้ยงดูตัวอ่อนให้เติบโตเป็นสมาชิกใหม่

ภายในรังมดแดงจะมีสมาชิก คือ

– แม่เป้ง (นางพญา) มีรูปร่างขนาดใหญ่มากกว่ามดแดงธรรมดามาก ลำตัวเป็นสีเขียวปนน้ำตาล มีปีกสำหรับบิน

มีหน้าที่ออกไข่คล้ายกับนางพญาปลวกผึ้ง เมื่อใดแม่เป้งเห็นว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการสร้างรังและวางไข่ แม่เป้งจะทิ้งรังเดิม

ไปสร้างรังและวางไข่ที่อื่นที่มีน้ำ อาหารสมบูรณ์ตามต้นไม้มีใบดก เขียวชะอุ่ม หนา ทึบ และปลอดภัย

– มดแดง ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่า มดแดงตัวใดเป็นมดงาน มดพยาบาล หรือมดทหารเหมือนกับปลวก เนื่องจากมดแดงตัวเมีย

สามารถทำหน้าที่ทั้ง 3 กรณี คือ เป็นมดงานทำหน้าที่สร้างรัง มดพยาบาลทำหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อน และมดทหารทำหน้าที่สู้ขัดขวางผู้บุกรุกที่จะทำอันตรายแก่รังของมัน

 

การดำเนินประชากรของมดแดง เริ่มจากแม่เป้งจะออกไข่ไว้ในรังที่ตัวมันสร้างเพียงตัวเดียวก่อน จำนวนไข่มีไม่มาก ประมาณ 100-500 ฟอง ในจำนวนไข่ทั้งหมดจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

– ไข่มาก เป็นไข่ที่มีขนาดใหญ่ผิดธรรมดา จะฟักออกมาเป็นแม่เป้งมดแดง

– ไข่ฝาก เป็นไข่ที่มีขนาดเล็กไม่โต ไม่เต่งเหมือนไข่มาก จะฟักตัวออกมาเป็นตัวมดแดงธรรมดา เมื่อไข่ทั้งหมดฟักเป็นตัวอ่อน และเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นประชากรมดแดงที่มีจำนวนมาก จำนวนจะเพิ่มอย่างรวดเร็ว

– ไข่มดดำ ไข่มีขนาดเล็กออกสีดำ ฟักออกเป็นตัวมดดำมีปีกแล้วบินหนีไป