3-19 (Project-based Learning using ICT) วิชาหน้าที่พลเมือง เรื่อง: จิตสำนึกสาธารณะ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่อง จิตสำนึกสาธารณะ วิชา หน้าที่พลเมือง ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

1.   จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)    

       1.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความหมายของจิตสำนึกสาธารณะได้

       1.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสาธารณะได้

       1.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงการจิตสำนึกสาธารณะได้

       1.4 เพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์ผลของการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงการจิตสำนึกสาธารณะได้

  2. กิจกรรม (Activities)

ดำเนินกิจกรรมการสอนแบ่งเป็น 4 ชั่วโมง(4 คาบ)

ชั่วโมงที่ 1

  1. ครูนำเสนอรูปภาพที่แสดงออกถึงสำนึกสาธารณะในด้านต่างๆ แล้วตั้งคำถามกับนักเรียนตามประเด็น ดังนี้ รูปภาพที่นักเรียนได้เห็น คือ กิจกรรมอะไร บุคคลที่ปฏิบัติในรูปภาพปฏิบัติได้ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร และเกิดผลดี ผลเสีย แก่สังคมอย่างไรบ้าง
  2. หลังจากนั้นครูบรรยายความหมายของจิตสำนึกสาธารณะ และตัวอย่างของบทบาทหน้าที่ ผลดี ผลเสียต่อสังคมในการปฏิบัติตนเป็นผู้มีจิตสำนึกสาธารณะ แล้วให้นักเรียนแต่ละคนทำแผนผังความรู้เรื่องความหมายและบทบาทหน้าที่จิตสำนึกสาธารณะ
  3. ครูนำนักเรียนเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ เพื่อให้นักเรียนนำเสนอบทบาทและหน้าที่ต่อจิตสำนึกสาธารณะ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอ แล้วแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มละ 4-6 คน
  4. นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้ ประธาน รองประธาน เลขานุการ และกรรมการ ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมสมองเพื่อหารือประเด็นที่ต้องการจัดทำนำเสนอจิตสำนึกสาธารณะ และหาข้อมูลมาประกอบในการจัดทำประเด็นเพิ่มเติม
  5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปประเด็นที่แต่ละกลุ่มจะจัดทำโครงการ และแบ่งกันไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำเสนอหัวข้อในชั่วโมงที่ 2

       ชั่วโมงที่ 2

  1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอหัวข้อโครงการ และข้อมูลที่จะจัดทำ แล้วครูช่วยเพิ่มเติมประเด็นเพื่อให้งานของนักเรียนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และประเมินการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มครั้งที่ 1
  2. เมื่อได้รับคำแนะนำของหัวข้อโครงการ นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงการให้สมบูรณ์และประชุมวางแผน แบ่งงานในการดำเนินการโครงการเพื่อนำเสนอโครงการในชั่วโมงต่อไป

       ชั่วโมงที่ 3

  1. ครูชี้แจงให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทราบถึงเกณฑ์การประเมินผลของชิ้นงานและกระบวนการทำงานกลุ่ม
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานที่ได้จัดทำโครงการ พร้อมบอกปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงผลงานของแต่ละกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น
  4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียนจิตสำนึกสาธารณะ สะท้อนถึงการพัฒนาสังคม และลดปัญหาในสังคมให้น้อยลง
  5. ครูประเมินผลการจัดทำโครงการครั้งที่ 2

       ชั่วโมงที่ 4

  1. ครูจัดห้องเรียนเป็นรูปตัวยูเพื่อถอดองค์ความรู้ กระบวนการ และทักษะที่ได้จากการจัดทำโครงการของนักเรียนแต่ละคน
  2. ครูประเมินการจัดทำโครงการครั้งที่ 3

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials) 

  1. การสืบค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือจากสมาร์ทโฟนของนักเรียน
  2. กล้องถ่ายรูป และกล้องวิดีโอ
  3. การส่งความคืบหน้าของโครงการทางเฟซบุคของนักเรียนและครู
  4. โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ

 4. การวัดและการประเมินผล

จุดประสงค์ที่วัด ชิ้นงาน  เครื่องมือวัด เกณฑ์การวัดผล
1. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกความหมายของจิตสำนึกสาธารณะได้2. เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสาธารณะได้ แผนผังความคิดจิตสำนึกสาธารณะ แบบประเมินแผนผังความคิดจิตสำนึกสาธาณะ 1. เนื้อหาถูกต้อง 3 คะแนน2. รูปแบบแผนผังความคิดถูกต้อง สวยงาม 2 คะแนนรวม 5 คะแนน
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงการจิตสำนึกสาธารณะได้ โครงการ จิตสำนึกสาธารณะของแต่ละกลุ่ม แบบประเมินโครงการ จิตสำนึกสาธารณะ 1. โครงการ (10 คะแนน)          1.1 เนื้อหาถูกต้อง1.2 เนื้อหาเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน1.3 มีความคิดสร้างสรรค์

2. การนำเสนอ (20 คะแนน)

2.1 เลือกใช้สื่อ ICT น่าสนใจ

2.2 ตรงเวลา

3. กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม

(5 คะแนน)

3.1 ร่วมมือกันในกลุ่ม

3.2 แบ่งงานและดำเนินการได้

อย่างประสิทธิภาพ

รวม 35 คะแนน

4 เพื่อให้นักเรียนวิเคราะห์ผลของการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำโครงการจิตสำนึกสาธารณะได้ ข้อมูลจากการถอดองค์ความรู้ แบบประเมินการถอดองค์ความรู้ 1. สิ่งที่ได้จากการทำโครงการและการเรียนรู้เรื่องจิตสำนึกสาธารณะ 3 คะแนน2. ข้อดี ข้อเสีย และประโยชน์2 คะแนนรวม 5 คะแนน

 5. อนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

      5.1 บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ Project-based Learning โดยเน้นให้นักเรียนได้ใช้ ICT ในการเรียนรู้ด้วยตนเองและการนำเสนองาน ซึ่งนักเรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การคิดสร้างสรรค์ ทักษะการใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ และเข้าใจเนื้อหาจิตสำนึกสาธารณะด้วยการสาธิตและจากการทำโครงการ โดยครูเป็นผู้ป้อนข้อมูล กำหนดหัวข้อในการปฏิบัติงาน และเสนอแนะข้อมูลให้แก่นักเรียน โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันเรียนรู้ตามการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ไม่เน้น “ความรู้” แต่เน้น “ทักษะ” เป็นสำคัญ

        5.2 ปัญหา และอุปสรรค

  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ และการใช้ ICT มาช่วยสอน ครูต้องเตรียมงานให้ผู้เรียน และคอยติดตามความคืบหน้า ซึ่งนักเรียนต้องทำงานในช่วงเวลาว่าง และส่งความคืบหน้ามาให้ครูทางเฟซบุคเพื่อแก้ปัญหาในการติดต่อเวลาที่ไม่ตรงกัน
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่มมีอุปกรณ์ เช่น กล้องวิดีโอ กล้องถ่ายรูป หรือคอมพิวเตอร์ในการตัดต่อไม่เพียงพอ ครูจึงจัดหาอุปกรณ์ให้นักเรียนเพิ่มเติม

 6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่อง เพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

11940357_999219690100575_792536185_n11923357_999219593433918_2091026788_n11923442_999219410100603_940801998_nIMG_0790IMG_0893IMG_0876IMG_0896IMG_0902Capture_2015_08_27_23_21_48_653Capture_2015_08_27_23_22_30_191IMG_20150807_111957IMG_0823IMG_0928IMG_0959IMG_096920150814_10391820150814_102002IMG_094920150814_10302820150814_101158

รายชื่อเจ้าของผลงาน 

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

นายวาสุรัตน์ เต็มสังข์     นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา (นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

หมายเลขโทรศัพท์ 090-4346512    e-mail : pranmost@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา 

นางสาวรุ่งอรุณ ปิยะฤทธิ์    อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

หมายเลขโทรศัพท์   085-8812878  e-mail : goranataka@hotmail.com