3-26 เรื่อง แกนสมมาตร ป.4 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

เรื่อง แกนสมมาตร ป.4 ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

 

แผนการจัดการเรียนรู้

เรื่อง รูปสมมาตร                                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                    เวลา 2 ชั่วโมง
มาตรฐานการเรียนรู้

มาตรฐาน ค 3.1    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติ และสามมิติ

มาตรฐาน ค 6.1    มีความสามารถในการแก้ปั­ญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

ค 3.1 ป.4/5    บอกได้ว่ารูปเรขาคณิตสองมิติรูปใดเป็นรูปที่มีแกนสมมาตรและบอกจำนวนแกนสมมาตร

ค 6.1 ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.4/4, ป.4/5

จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด

1. อธิบายลักษณะของรูปสมมาตร (K)

2. บอกได้ว่ารูปใดเป็นรูปสมมาตรและบอกได้ว่าในแต่ละรูปมีแกนสมมาตรกี่แกน (P)

3. มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ( A )

สาระสำคั­ญ

รูปสมมาตร คือ รูปที่เมื่อเราพับครึ่งแล้ว แต่ละข้างของรูปทับกันสนิทพอดี ซึ่งตรงกลางของรูปที่เป็นรอยพับเรียกว่า “แกนสมมาตร”

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน เรื่อง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น

ขั้นจัดการเรียนการสอน

1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มของตนเอง

2. ครูมอบหมายงานให้กับนักเรียน โดยให้นักเรียนค้นคว้า และสร้างชิ้นงาน เรื่อง แกนสมมาตร โดยใช้แอปพิเคชั่น sketchbook  ในการสร้างชิ้นงาน และในระหว่างการจวางแผน จัดทำชิ้นงานให้นักเรียนแต่ละกลุ่มถ่ายภาพหรือวิดิโอขั้นตอนกระบวนการทำไว้ด้วย เพื่อใช้สำหรับการนำเสนอผลงาน

2. ครูแจกกระดาษเปล่า และแท็บเล็ต ให้กับหัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม พร้อมทั้งอธิบายวิธีการใช้งานให้กับนักเรียน เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูล สำหรับการวางแผนจัดทำชิ้นงาน รวมไปจนถึงกระบวนการสร้างชิ้นงานนั้นด้วย

3. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้อิสระในการรังสรรค์ชิ้นงานอย่างเต็มที่ โดยครูเป็นเพียงคนคอยให้คำแนะนำ คำปรึกษา และช่วยเหลือเท่านั้น

4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอชิ้นงานของตนเอง พร้อมทั้งอธิบายขั้นตอนวิธีการทำอย่างละเอียด ตั้งแต่การวางแผน ไปจนถึงชิ้นงานที่สมบูรณ์ (อธิบายจากวิดิโอที่นักเรียนถ่ายไว้) และให้เพื่อนกลุ่มอื่น ประเมินชิ้นงานของนักเรียนกลุ่มที่นำเสนอด้วย

ขั้นสรุป

1. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่อง แกนสมมาตร อีกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และชัดเจน

 

สื่อการเรียนรู้

  1. แท็บเล็ต
  2. กระดาษเปล่า
  3. โทรศัพท์มือถือ

 

การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)

การประเมินใบงานนี้ให้ผู้สอนพิจารณาจากเกณฑ์การประเมินผลตามสภาพจริง (Rubrics)  

เรื่อง การบอกได้ว่ารูปเรขาคณิตสองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกน

เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน
4(10 คะแนน) 3(9 คะแนน) 2(7-8 คะแนน) 1(5-6 คะแนน)
การบอกได้ว่ารูป-เรขาคณิตสองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกน บอกได้ว่ารูปเรขาคณิต-สองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกนได้ถูกต้องทุกข้อด้วยตนเอง บอกได้ว่ารูปเรขาคณิต-สองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกนได้ถูกต้องมีบางข้อผิดแต่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง บอกได้ว่ารูปเรขาคณิต-สองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกนได้ถูกต้องด้วยตนเองมีบางข้อผิดเมื่อมีผู้แนะนำ

ก็สามารถแก้ไขได้

บอกได้ว่ารูปเรขาคณิต-สองมิติใดเป็นรูปสมมาตรและมีแกนสมมาตรกี่แกนได้ถูกต้องแต่ต้องมีผู้แนะนำทุกข้อ 

 

เกณฑ์การประเมิน ระดับคะแนน
4(10 คะแนน) 3(9 คะแนน) 2(7-8 คะแนน) 1(5-6 คะแนน)
ชิ้นงาน วิดิโอ ภาพถ่าย ชิ้นงานจากแท็บเล็ต มีการอธิบาย นำเสนอ ได้ชัดเจน สวยงาม และถูกต้อง รูปจากวิดิโอ ภาพถ่าย ชิ้นงานจากแท็บเล็ต มีการอธิบาย สื่อความหมาย นำเสนอ ได้ชัดเจน สวยงาม และถูกต้อง รูปจากวิดิโอ ภาพถ่าย ชิ้นงานจากแท็บเล็ต มีการอธิบาย สื่อความหมาย นำเสนอ ได้ชัดเจน ไม่สวยงามมากนัก และถูกต้อง รูปจากวิดิโอ ภาพถ่าย ชิ้นงานจากแท็บเล็ต มีการอธิบาย สื่อความหมาย นำเสนอ ได้ไม่ค่อยชัดเจน ไม่สวยงาม และถูกต้อง รูปจากวิดิโอ ภาพถ่าย ชิ้นงานจากแท็บเล็ต มีการอธิบาย สื่อความหมาย นำเสนอ ได้ไม่ค่อยชัดเจน ไม่สวยงาม และยังไม่ถูกต้อง

 

 

 

ชื่อเจ้าของผลงาน

นายบุญญฤทธิ์  สายคำหมื่น นักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์

เบอร์โทรศัพท์ 083-410-1460

Email: bo_kub@hotmail.com

ที่ปรึกษาโครงการ

ว่าที่ร้อยตรีศักย์ชัย  เพชรสุวรรณ

E-mail : hs9min@gmail.com

เบอร์โทรศัพท์ 086-293-1485