3-09 การใช้ไอซีทีในการจัดการเรียนการสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมโฟโต้ชอปเบื้องต้น (Photoshop)

 

การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนว Constructionism
เรื่อง
การใช้งานโปรแกรมโฟโต้ชอปเบื้องต้น (Adobe Photoshop) วิชา คอมพิวเตอร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

1.จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรม Photoshop
  2. เพื่อให้นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริงในการสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  3. เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้จากการแต่งภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
  4. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำงานที่ได้จากโปรแกรม Photoshop มาปรับใช้ในงานด้านอื่น ๆ ได้
  5. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับโปรแกรม Photoshop มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 

2.กิจกรรม (Activities)

  1. สอบถามนักเรียนและอธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop
  2. แจ้งรายละเอียดเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลการให้คะแนนชิ้นงานนักเรียน
  3. ให้นักเรียนศึกษาการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop จากวีดิโอสื่อการสอน สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาวิธีการแต่งภาพได้และเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมหากยังไม่เข้าใจ
  4. แจกใบความรู้และใบงานให้นักเรียนทำเพื่อสร้างความเข้าใจด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
  5. แนะนำและสอนการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ในโปรแกรม Adobe Photoshop พร้อมสาธิตตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม Adobe Photoshop
  6. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน แล้วให้นักเรียนระดมความคิดลงมือสร้างชิ้นงานในโปรแกรม Adobe Photoshop โดยครูจะคอยแนะนำ และให้ความช่วยเหลือ
  7. เมื่อนักเรียนสร้างชิ้นงานเรียนร้อยแล้วให้ส่งผลงานให้ครูผู้สอน โดยการโพสต์ลงกลุ่ม Facebook ที่สร้างขึ้น แล้วร่วมกันวิเคราะห์เพื่อสะท้อนแนวความคิดของตนเอง
  8. ประเมินชิ้นงานนักเรียนแต่ละกลุ่มจากตัวชิ้นงานและใบงาน
  9. สรุปการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดที่ได้จัดทำร่วมกับนักเรียน

 

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1.   เครื่องคอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ค
  2.  โปรแกรม Photoshop
  3.  อินเทอร์เน็ต
  4.  ใบความรู้และใบงาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมโฟโต้ชอปเบื้องต้น

 

4.การวัดและการประเมินผล

1. ประเมินผลจากการสร้างชิ้นงานและใบงาน โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนน 4 ระดับ ประเมินในเรื่อง รูปแบบชิ้นงาน  ทักษะกลุ่มย่อยและการมีส่วนร่วมในการทำงาน  การออกแบบ/แนวคิดและความคิดสร้างสรรค์

2.เกณฑ์ในการวัดและประเมินผลชิ้นงานของนักเรียนแบบ Rubric Score

 

หัวข้อการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน
4 3 2 1
1. รูปแบบชิ้นงาน -ชิ้นงานมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ

-ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้ดีเหมาะสม เนื้อหาครบถ้วนถูกต้อง

-มีสีสันสวยงาม

-มีความสมดุลกลมกลืนเป็นธรรมชาติ

-ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้ดีเหมาะสม เนื้อหาครบถ้วน

-มีสีสันสวยงาม

-มีความสมดุลกลมกลืนเป็นธรรมชาติ

 

-ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่ง เนื้อหาครบ

-มีสีสัน

-มีความสมดุลกลมกลืนเป็นธรรมชาติ

 

-ชิ้นงานไม่มีสีสัน

-ไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม

2. ทักษะกลุ่มย่อยและการมีส่วนร่วมและการวางแผน -มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์อย่างกระตือรือร้นและสม่ำเสมอ -ให้ความร่วมมือกับกลุ่มพอสมควร ให้ข้อเสนอแนะในกลุ่ม -ให้ความร่วมมือกับกลุ่มเล็กน้อย แต่ไม่ชัดเจน -ไม่ค่อยสนใจหรือมีส่วนร่วมค่อนข้างเงียบ หลีกเลี่ยงการนำเสนอต่อกลุ่ม

 

3.การออกแบบชิ้นงาน ออกแบบชิ้นงานได้ดี ครบองค์ประกอบและตรงกับหัวข้องานที่กำหนด ออกแบบชิ้นงานได้ดี ครบองค์ประกอบแต่หัวข้องานที่กำหนดไม่ชัดเจน ออกแบบชิ้นงานได้ ตรงกับหัวข้องานที่กำหนด

 

ออกแบบชิ้นงานได้ไม่ตรงตามหัวข้อที่กำหนด
4.ความคิดสร้างสรรค์ -ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

-ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

-ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

– ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

-ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น


เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก = 4 คะแนน
ดี = 3 คะแนน
ปานกลาง = 2 คะแนน
ปรับปรุง = 1 คะแนน

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 13 – 16 หมายถึง ดีมาก

คะแนน 9 – 12 หมายถึง ดี

คะแนน 5 – 8 หมายถึง ปานกลาง

คะแนน 0 – 4 หมายถึง ปรับปรุง

 

5.บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
จากการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การใช้งานโปรแกรมโฟโต้ชอปเบื้องต้น (Adobe Photoshop) แบบ PBL โดยใช้ ICT ทำให้รู้เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียนในการสร้างชิ้นงานออกมาได้อยู่ในระดับดีถึงดีมาก และนักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างดี มีความรู้สึกสนุกกับการสร้างชิ้นงานและช่วยกันออกแบบชิ้นงานอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งการสอนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่มีอุปสรรคในเรื่องของเวลาที่ไม่เพียงพอเล็กน้อย

 

6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่น ๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

grr    1        2 5         3
4 6 7        8 9        10 11        12 13saf            15

 

ภาพตัวอย่างผลงานนักเรียนที่ส่งผ่านกลุ่มเฟสบุ๊ค

 

15281104_1837476989853799_1979599071_n

1415300718_1837476993187132_2104686880_n

สื่อที่นำไปประกอบการสอน

 

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

     1. นายจิรวัฒน์  ตะนัยศรี  นักศึกษาวิชาเอก คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์

          หมายเลขโทรศัพท์   083-8315139

          e-mail: nook_0951@hotmail.com

     2. นางสาวจินดารัตน์  มะลิวงศ์  นักศึกษาวิชาเอก คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์

          หมายเลขโทรศัพท์    098-2355349

          e-mail: Ammy_jindarut@hotmail.com

     3. นางสาวปรียากมล  บุโฮม  นักศึกษาวิชาเอก คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์

          หมายเลขโทรศัพท์   098-1205220

          e-mail: mol_1996_@hotmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา  

          อาจารย์ไพศาล  ดาแร่   หมายเลขโทรศัพท์   086-6431984