3-15 ระบบย่อยอาหารของสัตว์

                              การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง   ระบบย่อยอาหารของสัตว์                            วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน

ระดับชั้น ม.2                                                         ระยะเวลา 2 คาบ/ชั่วโมง

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective) : นักเรียนสามารถ
    • นักเรียนสามารถอธิบายระบบย่อยอาหารของสัตว์ได้ (K)
    • นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีสร้างสื่อมัลติมีเดียแอนนิเมชั่นได้ (P)
    • นักเรียนสามารถสื่อความหมายข้อมูลด้วยการเขียน Storyboard เรื่องระบบย่อยอาหารได้ (P)
    • นักเรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (A)
    • นักเรียนมีจรรณยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลจากแหล่ง ICT (A)
  1. กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
    • ครูนำภาพสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ตั๊กแตน วัว  ไฮดรา นก ปลา มาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนเลือกสัตว์ กลุ่มละ 1 ชนิด
    • ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายเกี่ยวกับอาหารและการย่อยอาหารของสัตว์ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มได้เลือก
    • ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
      1. นักเรียนทราบหรือไม่ว่าสัตว์ที่นักเรียนเลือกนั้นกินอะไรเป็นอาหาร
        แนวคำตอบ : ทราบคะ.. กินน้ำค้าง หญ้า เมล็ดพืช แพลงก์ตอน เป็นต้น (มีคำตอบที่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์ และคลาดเคลื่อน)
        :  ไม่ทราบคะ  (ไม่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์)
      2. แล้วนักเรียนทราบหรือไม่ว่า สัตว์ที่นักเรียนเลือกมา มีการย่อยอาหารที่มันกินเข้าไปอย่างไร ในคำถามนี้ นักเรียนอาจจะยังไม่ทราบถึงระบบย่อยอาหารของสัตว์ที่ถูกต้อง
  • ครูให้นักเรียน เลือกสัตว์ 1 ชนิด ที่นักเรียนสนใจศึกษาการย่อยอาหาร
  • ครูอธิบายเกณฑ์การให้คะแนนอย่างละเอียด ตาม Rubric score
  • ครูให้เวลานักเรียนศึกษาระบบย่อยอาหารของสัตว์แต่ละชนิดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต  ห้องสมุด สอบถามผู้รู้ เป็นต้น ในขั้นนี้นักเรียนต้องอ้างอิงข้อมูลที่นักเรียนไปสืบค้นมาด้วยทุกแหล่งข้อมูล
  • นักเรียนวางแผนทำ storyboard เพื่อนำเสนองานในขั้นต่อไป
  • นักเรียนนำเสนอระบบย่อยอาหารของสัตว์เป็น ภาพเคลื่อนไหว หรือ วิดีโอ หน้าชั้นเรียน และอัพโหลดวิดีโอลง social media ต่างๆ ที่นักเรียนรู้จัก จากนั้น ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ระบบย่อยอาหารสัตว์
  1. เครื่องมือไอซีทีที่ใช้ของผู้เรียน ในการวางแผน การผลิต รังสรรค์ชิ้นงาน   และเผยแพร่ชิ้นงาน
  • คอมพิวเตอร์
  • สมาร์ทโฟน
  • แท็บแล็ต
  1. การวัดและประเมินผล

4.1  วิธีวัดและประเมินผล  และ เครื่องมือวัดและประเมินผล

– การตอบคำถาม

– การสังเกตพฤติกรรม

– การวางแผนทำ storyboard

– การทำงานร่วมกัน

– ชิ้นงาน

4.2  เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ
4 3 2
1.  สามารถอธิบายระบบย่อยอาหารของสัตว์ได้ (K) –    ความถูกต้องตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วนสมบูรณ์ มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์แต่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ คลาดเคลื่อน
2. สามารถใช้

เทคโนโลยีสร้างสื่อมัลติมีเดียแอนนิเมชั่นได้ (P)

–    ความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงาน ผลงานแปลกใหม่ แสดงให้เห็นความสร้างสรรค์ ครบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คิดริเริ่ม คิดหลากหลาย คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียด ผลงานแสดงให้ถึงความสร้างสรรค์เพียง 3 ใน 4 องค์ประกอบ  ได้แก่ คิดริเริ่ม คิดหลากหลาย คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียด ผลงานแสดงให้ถึงความสร้างสรรค์เพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ดังนี้  คิดริเริ่ม คิดหลากหลาย คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียด
-การใช้ไอซีทีในการรังสรรค์ชิ้นงานของผู้เรียน เป็นการประยุกต์ ให้ผู้เรียนได้ใช้   ไอซีที/เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือ ในการรังสรรค์ชิ้นงาน (Tools for creating)  และมีครบทุกประเด็นต่อไปนี้
•  เป็นเครื่องมือในการวางแผน (Tools for planning)
•  เป็นเครื่องมือในการผลิต (Tools for Producing)
•  เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ชิ้นงาน  (Tools for Publishing)
 เป็นการประยุกต์ ให้ผู้เรียนได้ใช้   ไอซีที/เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือ ในการรังสรรค์ชิ้นงาน (Tools for creating)  และ ขาดประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ต่อไปนี้
•  เป็นเครื่องมือในการวางแผน (Tools for planning)
•  เป็นเครื่องมือในการผลิต (Tools for Producing)
•  เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ชิ้นงาน  (Tools for Publishing)
เป็นการประยุกต์ ให้ผู้เรียนได้ใช้   ไอซีที/เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นเครื่องมือ ในการรังสรรค์ชิ้นงาน (Tools for creating)  และ ขาดมากกว่า   1 ประเด็น ต่อไปนี้
•  เป็นเครื่องมือในการวางแผน (Tools for planning)
•  เป็นเครื่องมือในการผลิต (Tools for Producing)
•  เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ชิ้นงาน  (Tools for Publishing)
3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ (A) –    ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ ·  มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนภายในกลุ่ม

· มีการช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

·  มีแบ่งหน้าที่ไม่ชัดเจน

·  มีการช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

 

· ไม่มีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่ม

· มีบางส่วนไม่ช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม

4. จรรณยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลจากแหล่ง ICT (A) –    แหล่งที่มาของข้อมูล มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลครบทุกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลมากกว่า ร้อยละ 80 การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล มากกว่าร้อยละ 50

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงการ Project-based Learning using ICT นักเรียนได้รับทั้งความรู้และทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการสืบค้นข้อมูล ทักษะการใช้เครื่องมือสื่อเทคโนโลยี รวมไปถึงทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระหว่างการทำงานนั้นยังสร้างความสามัคคีระหว่างกลุ่ม สร้างจิตสาธารณะ โดยมีครูคอยเป็นผู้ให้คำชี้แนะต่างๆในระหว่างการทำงาน

6. ภาพตัวอย่างผลงานนักเรียน และ/หรือ ลิงค์ ตัวอย่างผลงานนักเรียน

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม) : กลุ่ม science it
  • ประเภทที่ 3: นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
  1. นางสาวกฤษณา มะหามาตร์
    นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป       คณะครุศาสตร์
    หมายเลขโทรศัพท์  :  099-9758013
    e-mail : kritsana.551103130212@gmail.com
  1. นางสาวอารยา สาระวัน
    นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป       คณะครุศาสตร์
    หมายเลขโทรศัพท์  :  093-1186422
    e-mail : Araya.551103130212@gmail.com

อาจารย์ที่ปรึกษา  :  นางสาวนันทวัน  พัวพัน
หมายเลขโทรศัพท์  :  097-0283707
e-mail :  nuntawan.ph@gmail.com