1-01 กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนวคอนสตรักซันนิซึมระดับมัธยมศึกษา เรื่อง การนำเสนอผลงาน

กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที

ตามแนวคอนสตรักซันนิซึม ระดับมัธยมศึกษา

กิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง  การนำเสนองาน                                                      วิชา  คอมพิวเตอร์ 3

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3                                                    ระยะเวลา  6  คาบ

โดย  ครูกัลยาณี  รจิตรังสรรค์  โรงเรียนจ่านกร้อง  จังหวัดพิษณุโลก

  1. ตัวชี้วัด ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะงาน

       จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)

  1. บอกวิธีการนำเสนองานได้ถูกต้อง
  2. เลือกซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์นำเสนองานได้ถูกต้อง
  3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองานในรูปแบบที่เหมาะสมกับลักษณะงาน
  1. กิจกรรม (Activities)

ชั่วโมงที่ 1-2

  1. ครูสนทนาถึงความสำคัญและปัจจัยในการสร้างชิ้นงานให้สำเร็จ ชนิดของสื่อที่นักเรียนรู้จัก  และโปรแกรมสำหรับสร้างงานนำเสนอ  รวมถึงการทำงานเป็นทีม
  2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ  3-4  คนนำเสนองานด้วยโปรแกรมนำเสนองานของ google เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานชิ้นเดียวกันด้วยคอมพิวเตอร์  4  เครื่องได้  ซึ่งหัวข้อที่กำหนดให้คือ  ให้นักเรียนศึกษาบทเรียนที่ 3 จากหนังสือ เป็นแถวดังนี้
    แถวที่  1  เรื่อง  ความหมายและความสำคัญของการนำเสนองาน
    แถวที่  2  เรื่อง  คุณสมบัติของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปและประเภทของซอฟต์แวร์กราฟิกการนำเสนองาน
    แถวที่  3  เรื่อง  การใช้ซอฟต์แวร์นำเสนองาน
    แถวที่  4  เรื่อง  อุปกรณ์ดิจิตอลที่ช่วยในการนำเสนองาน
    โดยแบ่งกลุ่มละ 4 คน ช่วยกันทำ power point นำเสนองาน โดยส่งงานผ่านทาง edmodo โดยตั้งชื่อเป็นเลขที่สมาชิกในกลุ่ม เช่น 05153234
  3. ครูและนักเรียนร่วมกำหนดเกณฑ์การประเมินงาน
  4. เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จให้ upload ชิ้นงานขึ้น  edmodo.com  ห้องที่นักเรียนเป็นสมาชิก
  5. นักเรียนประเมินงานแต่ละแถวเปรียบเทียบจากเรื่องเดียวกัน และกดโหวดให้ชิ้นงานที่ดีที่สุดและแสดงความคิดเห็นเลือกชิ้นงานที่ดีที่สุดแถวละ  1  ความคิดเห็น  โดยพิจารณาว่างานมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
  6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายและความสำคัญของการนำเสนองานคุณสมบัติของซอฟต์แวร์สำเร็จรูปและประเภทของซอฟต์แวร์กราฟิกการนำเสนองาน การใช้ซอฟต์แวร์นำเสนองาน และอุปกรณ์ดิจิตอลที่ช่วยในการนำเสนองาน
  7. ทดสอบหลังเรียนโดยใช้  Kahoot  เป็นเครื่องมือที่สร้างความภาคภูมิใจให้นักเรียน ครูค้นพบแกนนำและนักเรียนเก่ง  ผู้ร่วมกิจกรรมมีความสนุกสนาน  นักเรียนได้คิดวิเคราะห์โดยทราบความคิดเห็นของเพื่อน  มีผลการสะท้อนกลับที่รวดเร็ว

ชั่วโมงที่ 3-4

  1. ครูสนทนาถึงความรู้เดิมก่อนทำกิจกรรมชั่วโมงที่ผ่านมาและความเปลี่ยนแปลงหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ โยงเข้าสู่การทำกิจกรรมกลุ่มแบบเดิมแต่เปลี่ยนเป็นเรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4  คนนำเสนองานด้วยโปรแกรมนำเสนองานของ  google เพื่อให้นักเรียนสามารถทำงานชิ้นเดียวกันด้วยคอมพิวเตอร์  4  เครื่องได้  ซึ่งหัวข้อที่กำหนดให้ คือ                      แถวที่  1  เรื่องความหมายและความสำคัญของ  CAI แถวที่  2  เรื่องโครงสร้างการทำ  CAI แถวที่ 3  เรื่อง  ขั้นตอนการทำ  CAI  แถวที่ 4  เรื่อง  ตัวอย่างชิ้นงาน  CAI ประกอบด้วย  หน้าแรก  หน้าสมัครเข้าใช้งาน  หน้าเมนู  หน้าเนื้อหา  หน้าข้อสอบ  และหน้าสรุป
  3. ครูและนักเรียนร่วมกำหนดเกณฑ์การประเมินงาน
  4. เมื่อสร้างชิ้นงานเสร็จให้ upload ชิ้นงานขึ้นedmodo.com ห้องที่นักเรียนเป็นสมาชิก
  5. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อดีของชิ้นงาน เชิญชวนให้เพื่อนเข้ามาศึกษางานและพิจารณากดเลือกให้คะแนนกลุ่มของตนเอง
  6. นักเรียนประเมินงานแต่ละแถวเปรียบเทียบจากเรื่องเดียวกัน และกดโหวดให้ชิ้นงานที่ดีที่สุดและแสดงความคิดเห็นเลือกชิ้นงานที่ดีที่สุดแถวละ 1  ความคิดเห็น  โดยพิจารณาว่างานมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
  7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายความสำคัญ โครงสร้าง และขั้นตอนการทำ CAI ตลอดจนสนทนาถึงรูปแบบ  CAI ที่นักเรียนเลือกมาเป็นตัวอย่างโยงเข้าสู่หลักของการนำเสนองานอีกประเภทหนึ่ง
  8. ทดสอบหลังเรียนโดยใช้เว็บแอป Kahoot เป็นเครื่องมือ

ชั่วโมงที่ 5- 6

  1. ทบทวนความรู้เรื่องการออกแบบเพื่อการนำเสนองานด้วยโปรแกรมแฟลชเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  2. นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
  3. นักเรียนสร้างชิ้นงาน เรื่องที่ได้รับมอบหมาย (โครงงานภาษาคอมพิวเตอร์  และโครงงานนำเสนองาน)
  4. ส่งชิ้นงานเป็นรายบุคคล
  5. ครูและนักเรียนร่วมกันข้อคิดเห็นจากการสร้างชิ้นงานโยงไปสู่หลักการนำเสนองาน
  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

3.1  google  apps (โปรแกรมนำเสนอ)

3.2  เว็บแอป  www.edmodo.com  และ  kahoot.it

3.3  โปรแกรมแฟลช  เพื่อการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  1. การวัดและประเมินผล

4.1  แบบประเมินชิ้นงาน

4.2  แบบตรวจงานนักเรียน

4.3  แบบประเมินคุณลักษณะผู้เรียน

4.4  getkahoot.com

  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

บทบาทครู : ครูต้องวางแผนเตรียมกิจกรรม  วัสดุ  อุปกรณ์  ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ในขณะที่จัดการเรียนรู้ครูทำหน้าที่ในการดูแลให้บริการและช่วยเหลือหากนักเรียนเกิดปัญหา แต่โดยรวมพบว่านักเรียนจะช่วยกันแก้ปัญหาเองก่อนหากตัดขัดจึงจะปรึกษาครู

บทบาทนักเรียน  :  มีความรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้  มีทักษะในการสื่อสาร  การคิดแก้ปัญหา และรู้จักการทำงานเป็นทีม  มีการวางแผน  การทำงานเป็นกลุ่ม  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสม

จากการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้  นักเรียนได้รับองค์ความรู้ในเนื้อหาวิชา ได้ทักษะ  กระบวนการทำงานในเรื่องของการวางแผน  การทำงานเป็นกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และมีคุณธรรมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องเหมาะสมอยากจะแข่งขันกันทำชิ้นงานให้ดีที่สุด

  1. ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถใส่ภาพประกอบ  วีดิโอเบื้องหลัง  แผนการสอน  หรืออื่นๆ  ประการการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น

                                                      แบบประเมินชิ้นงาน

ที่ ประเด็นการประเมิน ผลการประเมิน
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. สาระครบถ้วนตามกำหนด
2 อ่านเข้าใจง่ายชัดเจน
3. ภาพสอดคล้องกับเนื้อหา
4. ตัวอักษรสีและขนาดเหมาะสม
5. ภาพรวมชิ้นงานสวยงาม
รวม

เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก                     =    4   คะแนน

ดี                            =    3   คะแนน

พอใช้                     =    2   คะแนน

ปานกลาง              =   1   คะแนน

สรุปผลการให้คะแนน

                16-20       คะแนน   =              ดีมาก

11-15       คะแนน   =              ดี

6-10         คะแนน   =              ปานกลาง

1-5           คะแนน   =              ปรับปรุง

 

 

ลงชื่อ……………………………………..ครูผู้สอน

( นางสาวกัลยาณี   รจิตรังสรรค์ )
………../……………/………..

 

                                                                           แบบตรวจงานนักเรียน

ที่ ประเด็นการประเมิน ผลการประเมิน
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
1. นักเรียนสามารถสามารถสร้างชิ้นงานออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหน้าที่ 1-2 ได้
2 ความสนใจในการเรียน และความกระตือรือร้นในการทำงาน
3. ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
4. ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงาน
5. ใช้เครื่องมือตรงตามเป้าหมาย
รวม

เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก          =    4   คะแนน

ดี                 =    3   คะแนน

พอใช้         =    2   คะแนน

ปรับปรุง     =   1   คะแนน

ลงชื่อ……………………………………..ครูผู้สอน
………../……………/…………

 

 

 

                                            แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ชื่อ-สกุลนักเรียน…………………………………………………………………ห้อง…………………………เลขที่………..

คำชี้แจง   :  ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด เครื่องหมายถูก (/)  ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน

คุณลักษณะ

อันพึงประสงค์

รายการประเมิน ระดับคะแนน สรุปผล
 
2. ซื่อสัตย์ สุจริต 2.1 ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
2.2 ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรง
3. มีวินัย 3.1 ปฏิบัติตน ตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ
3.2 ตรงต่อเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และรับผิดชอบในการทำงาน
4. ใฝ่เรียนรู้

 

4.1 ตั้งใจเรียน
4.2 บันทึกความรู้ วิเคราะห์ตรวจสอบ จากสิ่งที่เรียนรู้ สรุปเป็นองค์ความรู้
4.3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. อยู่อย่างพอเพียง

 

1.2 ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี
5.2 วางแผนการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
5.3 รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับ และปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
6. มุ่งมั่นในการทำงาน 6.1 ปรับปรุงและพัฒนาการทำงานด้วยตนเอง
6.2 พยายามแก้ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานให้สำเร็จ

 

ตัวอย่างผลงานนักเรียน

 

 

 

 7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

ประเภทที่ 1  ครูในโรงเรียนทั่วไป

ชื่อ  กัลยาณี  รจิตรังสรรค์

หมายเลขโทรศัพท์  0953077014

อีเมล์  kanyanee2008@gmail.com