3-15 การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที ตามแนว Constructionism เรื่อง กลอนสุภาพ วิชา ภาษาไทย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง กลอนสุภาพ  วิชา ภาษาไทย  ระดับชั้น ม.1

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

เมื่อนักเรียนรังสรรค์ชิ้นงานนักเรียนจะได้สาระความรู้ดังนี้

1.1 นักเรียนจะมีความสามารถในการสื่อสาร  เนื่องจากนักเรียนสามารถปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน และปรึกษางานกับครูผู้สอนในชั้นเรียนและในfacebook ได้

1.2 นักเรียนจะมีความสามารถในการคิด เนื่องจากนักเรียน สามารถสร้างสรรค์แต่งกลอนสุภาพได้จำนวน 2 บท และคิดวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจผ่านสื่อไอซีที

1.3 นักเรียนจะมีความสามารถในการแก้ปัญหา เนื่องจากนักเรียนสามารถนำคำที่ได้จากการเปิดแผ่นป้ายมาใช้ในการแต่งกลอนสุภาพได้อย่างเหมาะสม

1.4 นักเรียนจะมีความสามรถในการใช้ทักษะชีวิต เนื่องจากนักเรียนสามารถร่วมกันวางแผนและทำงานกับเพื่อนในกลุ่มได้

1.5 นักเรียนจะมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากนักเรียนสามารถใช้ Application Royal Society ในการค้นหาความหมายของคำศัพท์ ได้

 

2. กิจกรรม (Activities)

2.1 ครูเปิดเพลงความฝันอันสูงสุดจาก Youtube ให้นักเรียนฟังเพื่อให้นักเรียนสังเกตการใช้คำใน                  บทเพลงและขีดคำสัมผัสในเนื้อเพลงที่ครูแจกให้

2.2 ครูให้นักเรียนบอกคำคล้องจองที่ปรากฏในเพลง (เพลงความฝันอันสูงสุด มีลักษณะการสัมผัส

เป็นกลอนสุภาพ)

2.3 ครูให้นักเรียนเล่นเกมค้นหาคำนำแต่งกลอน โดยให้นักเรียนเปิดแผ่นป้ายโฆษณาที่มีสโลแกนเป็นคำคล้องจองจาก Powerpoint

2.4 ครูให้นักเรียนหาความหมายของคำศัพท์จาก Application  Royal Society และให้นักเรียนค้นคว้าเรื่องกลอนสุภาพอย่างอิสระจาก Internet

2.5 ครูให้นักเรียนแต่งกลอนสุภาพ 2 บท โดยแต่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 8 คน โดยนักเรียนต้องนำคำที่ เปิดได้ มาใช้ในบทกลอนด้วย

2.6 ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานด้วย Powerpoint โดยนักเรียนสามารถปรึกษาครูผ่าน Facebook

และมีครูเป็นผู้ประเมินผลงาน

 

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

3.1 VDO เพลงความฝันอันสูงสุด

3.2 Power Point เกมค้นหาคำนำแต่งกลอน

3.3 App Royal Society ของราชบัณฑิตยสภา

3.4 Internet ของโรงเรียน

3.5 Application Facebook

 

4. การวัดและการประเมินผล
ประเมินด้วยเกณฑ์การประเมินการแต่งกลอนสุภาพ ดังนี้

ประเด็นการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก (3 คะแนน) พอใช้ (2 คะแนน) ปรับปรุง (1 คะแนน)
1. จำนวนคำ มีจำนวนคำครบตาม

ฉันทลักษณ์ (7-9 คำ)

ทุกวรรค

มีจำนวนคำไม่ครบตาม

ฉันทลักษณ์ (7-9 คำ)

1-2 วรรค

มีจำนวนคำไม่ครบตาม

ฉันทลักษณ์ (7-9 คำ)

3 วรรคขึ้นไป

2. สัมผัส มีสัมผัสถูกต้องตาม

ฉันทลักษณ์ทุกแห่ง

มีสัมผัสไม่ถูกต้องตาม

ฉันทลักษณ์ 1-2 แห่ง

มีสัมผัสไม่ถูกต้องตาม

ฉันทลักษณ์ 3 แห่งขึ้นไป

3. การใช้คำได้ถูกต้องตามความหมาย ใช้คำได้ถูกต้อง ตรง

ตามความหมายทุกคำ

ใช้คำได้ถูกต้อง ไม่ตรง

ตามความหมาย 3-5 คำ

ใช้คำได้ถูกต้อง ไม่ตรง

ตามความหมาย 5 คำขึ้นไป

4. การทำงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน สามารถทำ Powepoint นำเสนอกลอนสุภาพได้น่าสนใจ สามารถทำ Powepoint นำเสนอกลอนสุภาพได้ค่อนข้างน่าสนใจ ไม่สามารถทำ Powepoint นำเสนอกลอนสุภาพได้น่าสนใจ

 

เกณฑ์ในการประเมิน

10 – 12 = ดี

6 – 9 = พอใช้

1 – 5 = ปรับปรุง

นักเรียนต้องได้ระดับพอใช้ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    นักเรียนทุกกลุ่มสามารถแต่งกลอนสุภาพได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ และนักเรียนได้มีอิสระในการค้นคว้า นักเรียนมีความรู้ที่หลากหลาย และสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาแลกเปลี่ยนกันได้ ที่สำคัญนักเรียนสามารถใช้ไอซีทีมาใช้ในการหาความรู้ได้อย่างเหมาะสม และนักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ทำให้บรรยากาศของห้องเรียนเป็นบรรยากาศของการเรียนรู้ที่มีความสุข
  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
    • นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย
  2. นางสาวอทิติยา สุทธิ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย
    คณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 085-5625852 e-mail athitiya.st@gmail.com
  1. นางสาวชไมพรบุญธรรม  นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หมายเลขโทรศัพท์ 061-7029143

e-mail chamaiporn4554@gmail.com

  1. นายศรายุธ พูนประเสริฐ นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หมายเลขโทรศัพท์ 092-3705758

e-mail sarayut6151@hotmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ธัญลักษณ์  สังข์แก้ว หมายเลขโทรศัพท์ 083-0599002

e-mail thanyalack57@gmail.com