1-08 PBL using ICT เรื่อง การสร้างแบบจำลองเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน อ.บอย ร.ร.สาธิต มรภ.เพชรบุรี

วีดิโอมัลติมีเดียกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที

เรื่อง การสร้างแบบจำลองเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน วิชา IPST-MicroBOX SE

ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
  • เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะ ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
  • เพื่อให้นักเรียนมีภาวะผู้นำในการทำงานเป็นกลุ่ม
  • เพื่อนำภาษาซี มาต่อยอด ในการควบคุมฮาร์ดแวร์จริงๆ ในชุดแบบฝึก IPST-MicroBOX SE
  • เพื่อให้นักเรียนสามารถนำแผงวงจรในชุดกล่องสมองกล มาประยุกต์เพื่อเขียนโค้ดในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
  1. กิจกรรม (Activities)

กระบวนการเรียนรู้

  1. นักเรียนสืบค้นประเด็นที่สนใจ (ระยะเวลา 1 คาบ)

– ครูให้นักเรียนจัดกลุ่ม และอธิบายหัวข้อเรื่อง การใช้ IPST-MicroBOX SE มาใช้ประยุกต์สร้างแบบจำลองเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยบรรยายพร้อม PowerPoint และ Video ตัวอย่างประกอบ

– ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อหาประเด็นที่ตนเองสนใจที่จะแก้ไขปัญหา โดยครูจะมีหน้าที่คอยให้คำปรึกษานักเรียนเป็นรายกลุ่ม และให้การบ้านนักเรียน ให้กลับไปวางแผน ร่างแบบจำลอง เพื่อเสนอครูคาบต่อไป

 

  1. ร่างแบบจำลองเสนอเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (ระยะเวลา 1 คาบ)

– ครูให้นักเรียนเสนอ ภาพแบบจำลองที่แต่ละกลุ่มได้ออกแบบ โดยเสนอที่มาและความสำคัญของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา จำนวนแผงวงจรที่จำเป็นต้องใช้

– ครูจะดูถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และให้คำปรึกษาเพิ่มเติม

 

  1. สร้างแบบจำลองและเขียนโค้ดโปรแกรม (ระยะเวลา 2 คาบ)

– ให้นักเรียนสร้างแบบจำลอง และเขียนโค้ดภาษา C ผ่านโปรแกรม Wiring เพื่อให้ชุดกล่องสมองกล ทำงานได้ตามที่ต้องการ โดยครูจะมีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาและเสนอแนะ

 

  1. นำเสนองานด้วย PowerPoint และแบบจำลอง (ระยะเวลา 2 คาบ)

– ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำเสนอตามหัวข้อของโครงการอันได้แก่ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตการดำเนินงาน วัสดุและอุปกรณ์ ขั้นตอนการดำเนินโครงการ สรุปผลการศึกษา ฯลฯ พร้อมนำเสนอแบบจำลอง กล่าวถึงหลักการทำงาน และโค้ดโปรแกรม

 

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    • ด้านครูผู้สอน
      • ใช้เครือข่ายออนไลน์ facebook ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารกับนักเรียน
      • เปิดสื่อประเภท multimedia เป็นตัวอย่างแก่นักเรียน
    • ด้านนักเรียน
      • ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างแบบจำลองให้สำเร็จ
      • ใช้โปรแกรม PowerPoint ในการนำเสนอชิ้นงาน

 

  1. การวัดและประเมินผล

ครูผู้สอนให้นักเรียนส่งเอกสารโครงการ และแบบจำลองเพื่อใช้สำหรับการวัดและประเมินผล โดยมีหัวข้อในการประเมินดังนี้

  • แบบประเมินรูปเล่มโครงการ           12      คะแนน
  • แบบประเมินการนำเสนอประกอบ PowerPoint 9 คะแนน
  • แบบประเมินแบบจำลอง และแนวคิดในการแก้ปัญหา 9        คะแนน

โดยมีการนำ Rubric Scoring เป็นเกณฑ์ในการวัดคะแนนของนักเรียนตามหัวข้อได้ดังนี้

  • แบบประเมินรูปเล่มโครงการ (12 คะแนน)
รายการประเมิน คำอธิบาย น้ำหนักจุดเน้น คะแนน
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา เนื้อหามีความถูกต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เรียงลำดับเนื้อเรื่องชัดเจน มีรายละเอียดครบถ้วน เนื้อหามีความถูกต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เรียงลำดับเนื้อเรื่องชัดเจน เนื้อหามีความถูกต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง 2 6
2. การใช้ภาษา ใช้ภาษาถูกต้องเกือบทั้งหมด สื่อความหมายได้ชัดเจน มีการเชื่อมโยงภาษาได้อย่างสละสลวย งดงาม ใช้ภาษาถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ สื่อความหมายได้ และสามารถเชื่อมโยงภาษาได้ดี ใช้ภาษาถูกต้องบ้าง สามารถสื่อความหมายได้ 1 3
3. รูปแบบ มีหัวข้อการทำรูปเล่มโครงการ ครบถ้วน ขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ขาด 2 องค์ประกอบขึ้นไป 1 3

 

คะแนน ความหมาย
9-12 ดี
6-8 พอใช้
4-5 ต้องปรับปรุง
¨ ผ่าน

¨ ไม่ผ่าน (ต้องปรับปรุง)

 

  • แบบประเมินการนำเสนอประกอบ PowerPoint (9 คะแนน)
รายการประเมิน คำอธิบาย น้ำหนักจุดเน้น คะแนน
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.การพูดนำเสนอ อธิบายเรื่องที่ได้ศึกษามาอย่างชัดเจน มีการเตรียมการก่อนการนำเสนอ การนำเสนอมีความต่อเนื่องมีการสบสายตากับผู้ฟังโดยตลอด สามารถอธิบายเรื่องที่ได้ศึกษามาได้ดี มีการเตรียมการก่อนการนำเสนอ การนำเสนอมีความต่อเนื่อง มีการสบตาผู้ฟังเป็นบางครั้ง อธิบายเรื่องที่ได้ศึกษามาไม่สมบูรณ์ เตรียมการได้ไม่ดี พูดอธิบายตามสคริปท์ 2 6
2. PowerPoint จัดวางหัวข้อแต่ละหน้าได้อย่างชัดเจน สรุปเนื้อหา เน้นรูปภาพและหัวข้อสำคัญประกอบการอธิบาย พื้นหลังและข้อความมองเห็นได้ชัดเจน จัดวางหัวข้อแต่ละหน้าได้ดี สรุปเนื้อหา เน้นรูปภาพและหัวข้อสำคัญประกอบการอธิบายเป็นบางส่วน พื้นหลังและข้อความมองเห็น อ่านได้ จัดลำดับหัวข้อไม่ชัดเจน ในแต่ละหน้าเน้นการแสดงบทความเป็นส่วนใหญ่ พื้นหลังและข้อความ ลายตา ยากในการอ่าน 1 3

 

คะแนน ความหมาย
7-9 ดี
5-6 พอใช้
3-4 ต้องปรับปรุง
¨ ผ่าน

¨ ไม่ผ่าน (ต้องปรับปรุง)

 

  • แบบประเมินแบบจำลอง และแนวคิดในการแก้ปัญหา (9 คะแนน)
รายการประเมิน คำอธิบาย น้ำหนักจุดเน้น คะแนน
ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.การออกแบบจำลอง แบบจำลองที่ได้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนได้มีการวิเคราะห์ต้นต่อของปัญหาและประยุกต์ในการแก้ปัญหาได้จริง  แบบจำลองออกแบบได้สวยงาม สร้างสรรค์ แบบจำลองที่ได้ แสดงให้เห็นว่านักเรียนได้มีการวิเคราะห์ต้นต่อของปัญหา และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาได้จริง แบบจำลองออกแบบได้ดี แบบจำลองที่ได้ ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 2 6
2. แนวคิดในการแก้ไขปัญหา (Code Program) หลักการทำงานและโค้ดโปรแกรม มีความถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถประยุกต์เพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง หลักการทำงานและโค้ดโปรแกรม เกือบสมบูรณ์ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้บางส่วน หลักการทำงานและโค้ดโปรแกรม ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 1 3

 

คะแนน ความหมาย
7-9 ดี
5-6 พอใช้
3-4 ต้องปรับปรุง
¨ ผ่าน

¨ ไม่ผ่าน (ต้องปรับปรุง)

 

  1. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    • กิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ เหมาะสมกับผู้เรียนตรงตามสาระการเรียนรู้ สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • กิจกรรมการเรียนรู้ สามารถทำให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ตามสาระการเรียนรู้
    • การจัดการเรียนการสอนครั้งนี้ ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานและองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเอง และฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างตั้งใจและมีความสุข เพื่อให้เป้าหมายสำเร็จลุล่วง
    • การทำกิจกรรม นักเรียนมีการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เพื่อประกอบการสร้างแบบจำลอง และนำเสนองาน รู้จักการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลและภาพนิ่ง เพื่อประกอบการนำเสนอ
    • การวัดผลประเมินผล สามารถสรุปได้ดังนี้
      • ด้านความรู้ (K)

เรียนรู้เรื่อง หน้าที่และคำสั่งของแผงวงจรของชุดกล่องสมองกล, คำสั่งภาษา C เงื่อนไขต่างๆ

  • ด้านทักษะ (P)

นักเรียนสามารถออกแบบเพื่อสร้างแบบจำลองได้ สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมนอกห้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สามารถนำเสนอชิ้นงาน ตามหัวข้อของโครงการ และอธิบายโค้ดโปรแกรมได้

  • ด้านเจตคติ (A)

นักเรียนมีการออกแบบและสร้างชิ้นงานด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันเพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม

ตัวอย่างการนำเสนอ

IPST-MicroBOX เรื่อง สัญญาณเตือนไฟไหม้

https://www.youtube.com/watch?v=IR9z-hgGm2k

ตัวอย่างการนำเสนอ

IPST-MicroBOX SE เรื่อง บันไดเลื่อนอัตโนมัติประหยัดพลังงาน https://www.youtube.com/watch?v=UML7bfqF_WI&t=29s

 

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน

ประเภทที่ 2 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

ชื่อ-นามสกุล : นายพงควัฒน์ คชศรีสวัสดิ์

สอนสาขา/โปรแกรม คอมพิวเตอร์      คณะ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

เบอร์ติดต่อ 096-4579993             e-mail : boyteacher666999@gmail.com