3-06 การสร้างอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชกาลที่ ๙

ประเภทผลงาน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

 

 

เรื่อง การสร้างอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙

ระดับชั้น ป.6

 

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้(Objective)
  2. 1. นักเรียนบอกความสำคัญของโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ (K)
  3. 2. นักเรียนสร้างอินโฟกราฟฟิคจากโปรแกรมeasellyได้ (P)
  4. 3. นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)

 

  1. กิจกรรม (Activities)
  2. 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ โดยการพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริว่าโครงการในพระราชดำริที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง

1.2 ครูเปิดวีดีทัศน์เกี่ยวกับโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ ให้นักเรียนดูและให้นักเรียนสะท้อนความคิดว่านักเรียนรู้สึกอย่างไร และได้เรียนรู้อะไรจากวีดีทัศน์

  1. 2. ขั้นดำเนินการสอน

2.1 ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3 คน ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน ผู้สอนแนะนำวิธีการทำงานกลุ่มและบทบาทของสมาชิกในกลุ่ม

2.2 ครูสอนสอนการสร้างชิ้นงานอินโฟกราฟฟิค โดยใช้งานโปรแกรม easellyในการสร้างชิ้นงาน

2.3ครูให้นักเรียนเลือกโครงการในพระราชดำริมากลุ่มละ 1 โครงการ เพื่อเป็นหัวข้อในการสร้างชิ้นงาน และให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันค้นหาข้อมูล

  1. 3. ขั้นจัดกิจกรรม

3.1 หลังจากการค้นหาข้อมูล ครูให้นักเรียนร่วมกันสร้างชิ้นงานอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ด้วยโปรแกรม easellyที่ครูได้สอนไป โดยใช้หัวข้อตามโครงการที่ครูได้ให้นักเรียนเลือกไว้

3.2ครูแจ้งเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงาน การสร้างอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ โดยประเมินผลจากเนื้อหา การนำเสนอ ความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม

3.3 ครูให้นักเรียนสร้างสร้างอินโฟกราฟฟิคwww.easel.ly ด้วยตนเอง โดยครูคอยให้ความเหลือแนะนำในเรื่องเทคนิคต่างๆ

3.4ครูให้นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองหน้าชั้นเรียน

 

 

  1. 4. ขั้นสรุป

4.1 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับและปัญหาที่เกิดขึ้นในการสร้างชิ้นงานครั้งนี้ ร่วมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหา

4.2 ครูตรวจสอบความถูกต้องและอธิบาย เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง

  1. 5. ขั้นประยุกต์ใช้

5.1 นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้อง                     5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ ได้

5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้

5.4 นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

5.5 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ได้

 

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์(Tools and Materials)

เว็บไซต์สร้างการ์ดออนไลน์ (www.easel.ly), เครื่องคอมพิวเตอร์

 

  1. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
ด้านความรู้(K)

นักเรียนบอกความสำคัญของโครงการในพระราชดำริได้ (K)

ตรวจใบงานที่ 1 ใบงานที่ 1 เรื่องโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ ผ่านเกณฑ์ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านทักษะกระบวนการ (P)

นักเรียนสร้างอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ จากโปรแกรมที่หลากหลายได้ (P)

ชิ้นงานอินโฟกราฟฟิคโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

4 ระดับ

 

 

ด้านคุณลักษณะฯ (A)

–       แสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา – เนื้อหาถูกต้องสมบูรณ์- เนื้อหาตรงตามหัวข้อ- เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด- เนื้อหามีรายละเอียดครอบคลุม

– เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

– เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

– เนื้อหาตรงตามหัวข้อ- เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด- เนื้อหามีรายละเอียดครอบคลุม- เนื้อหามีความสอดคล้องกัน – เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด- เนื้อหามีรายละเอียดครอบคลุม- เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน – เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อ
2.การนำเสนอ – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง- การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ- การนำเสนอน่าสนใจ- มีการสบตาผู้ฟัง – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง- การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ- การนำเสนอน่าสนใจ- ไม่มีการสบตาผู้ฟัง – การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ- การนำเสนอน่าสนใจ- ไม่มีการสบตาผู้ฟัง – อธิบายเนื้อหาไม่ถูกต้อง- การนำเสนอไม่น่าสนใจ- ไม่มีการสบตาผู้ฟัง
3.ความสวยงาม – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน- ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม- ข้อความอ่านง่าย – ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม- ข้อความอ่านง่าย – ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม- ข้อความอ่านยาก – ข้อความอ่านยาก- ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม- ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน
4.ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม- ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น – ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม- ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม – ใช้ข้อความและภาพประกอบไม่สวยงาม -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

 

 

  1. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

นักเรียนบอกความสำคัญของโครงการในพระราชดำริของในหลวงในรัชการที่ ๙ นักเรียนสร้างอินโฟกราฟฟิคจากโปรแกรมeasellyได้ และนักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

 

 

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้

คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการสอน  https://drive.google.com/file/d/0BzY8MBq-boMTaHUxMmEydlZrRTQ/view?usp=sharing

 

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

ชื่อ-นามสกุล  นายนคร นวลปาน นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นายยงยุทธ รัตนะ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นางสาวฤทัยรัตน์ แสงวิจิตร นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์