3-03 ฉลาดใช้ Facebook

ประเภทผลงาน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเครือข่าย

 

 

เรื่อง ฉลาดใช้ Facebook

ระดับชั้น ม.2

 

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้(Objective)
  2. นักเรียนสามารถอธิบายข้อดีและข้อเสียของ Facebook ได้ (K)
  3. นักเรียนสร้างแผนผังความคิด จาก Canva ได้ (P)
  4. นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)

 

  1. กิจกรรม (Activities)
  2. 1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ โดยการพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับ Facebook                 1.2 ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างแผนผังความคิดและสะท้อนความคิดว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากชิ้นงานบ้าง

  1. ขั้นดำเนินการสอน

2.1 ครูอธิบายว่าเว็บไซต์ Canva ใช้ทำอะไรได้บ้างและอธิบายเครื่องมือต่างๆของเว็บไซต์และให้นักเรียนลองฝึกใช้งานเครื่องมือต่างๆ และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง

2.2 ครูให้ข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ในการค้นคว้าข้อมูลของนักเรียนโดยจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ในเรื่องข้อดีและข้อเสียของ Facebook โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

  1. ขั้นจัดกิจกรรม

3.1 หลังจากค้นคว้าหาข้อมูลครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายกันภายในกลุ่มและทำใบงานเรื่อง และส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

3.2 เมื่อนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียนและครูเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนที่ขาดไปครูให้นักเรียนจัดทำแผนผังความคิดโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานตามความถนัดและตามความสนใจของนักเรียน

3.3 ครูแจ้งการประเมินชิ้นงานแผนผังความคิด ข้อดีและข้อเสียของ Facebook โดยประเมินจากเนื้อหาการนำเสนอ ความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม

3.4 ครูให้นักเรียนสร้างชิ้นงานด้วยเว็บไซต์ Canva ด้วยตนเองโดยครูคอยให้ความเหลือแนะนำในเรื่องเทคนิคต่างๆ

3.5 ครูให้นักเรียนนำเสนอชิ้นงานของตนเองหน้าชั้นเรียน

  1. ขั้นสรุป

4.1 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับและปัญหาที่เกิดขึ้นได้รับในการสร้างชิ้นงานครั้งนี้ ร่วมไปถึงแนวทางการแก้ปัญหา

4.2 ครูตรวจสอบความถูกต้องและอธิบาย เพิ่มเติมในส่วนที่บกพร่อง

  1. ขั้นประยุกต์ใช้

5.1 นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้อง                      5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ ได้

5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้

  • นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้

5.5 นักเรียนมีเจตคติที่ดีและมีจรรยาบรรณในการสืบค้นและใช้ข้อมูลออนไลน์ได้

 

  1. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์(Tools and Materials)

– เว็บไซต์ Canva

– เครื่องคอมพิวเตอร์

 

  1. การวัดและประเมินผล
สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล
ด้านความรู้(K)

นักเรียนบอกข้อดีและข้อเสียของ Facebook ได้

ตรวจใบงานที่ 1 ใบงานที่ 1 เรื่อง ข้อดีและข้อเสียของ Facebook ผ่านเกณฑ์ได้คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป
ด้านทักษะกระบวนการ (P)

นักเรียนสร้างแผนผังความคิดจากโปรแกรมที่หลากหลายได้ (P)

ชิ้นงาน เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ

 

ด้านคุณลักษณะฯ (A)

–          แสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน รายบุคคล ผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับ 2

 

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา – เนื้อหาใช้คำถูกต้องสมบูรณ์

-เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่ครบถ้วน

– เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อ/เขียนคำผิด

-เนื้อหาไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

 
2.การนำเสนอ – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง- การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ- การนำเสนอน่าสนใจ

-มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง

-การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

-การนำเสนอน่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

-การนำเสนอน่าสนใจ

-ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาไม่ถูกต้อง

-การนำเสนอไม่น่าสนใจ

-ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

 
3.ความสวยงาม – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน- ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม- ข้อความอ่านง่าย – ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม

– ข้อความอ่านยาก

– ข้อความอ่านยาก

– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม

– ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน

 
4.ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

– ใช้ข้อความและภาพประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

– ใช้ข้อความและภาพประกอบไม่สวยงาม -ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น  

 

 

  1. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

ผู้เรียนบางคนยังทำไม่ทันเวลา เพราะเลือกแบบที่ตนเองชอบไม่ได้ และยังไม่ถนัดในเครื่องมือในเว็บไซต์

 

  1. ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการสอน  https://drive.google.com/file/d/0B6iJpNvAban6MjY1ajhQT0hSRG8/view
 

  1. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

ชื่อ-นามสกุล  นางสาวพนิดา อุปกรณ์ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นางสาวชลธิชา หาดสุด นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์

ชื่อ-นามสกุล นายวัชรากร เวชรังษี นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์