2-01 (ปรับปรุงแก้ไขรอบที่ 2) การจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL

โพสต์วีดีโอ มัลติมีเดียความยาว 5 – 7 นาที

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง การจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ                                                                        วิชา พฤติกรรมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (SCED332)
ระดับชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
โดย อาจารย์อรพรรณ ธนะขว้าง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)
    ให้นักศึกษาสร้างชิ้นงานและนำเสนอผลงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาสามารถ
    1) สืบค้นข้อมูลและอธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการได้
    2) นำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ในการ
    สร้างชิ้นงานของตนเองได้
    3) มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม และทักษะการใช้เทคโนโลยี
  2. กิจกรรม (Activities)
    กิจกรรมนี้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบ Project – Based Learning โดยผู้สอนได้บูรณาการแนวคิด
    Active Learning ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและมีการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้           ผู้สอนได้สังเคราะห์องค์ความรู้เป็น 6 ขั้น ดังนี้
    1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ผู้สอนให้ผู้เรียนสร้างกลุ่มใน Facebook เพื่อใช้ในการสื่อสาร
    แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน จ านวน 7 กลุ่ม แล้วส่ง
    รายชื่อใน Google Document จากนั้นให้แต่ละกลุ่มสร้างชิ้นงานความปลอดภัยในชีวิตประจำวันแล้วโพสต์ลงกลุ่มโดยมีผู้สอนติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนผ่านทาง Face book กลุ่ม
    2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนเตรียมความพร้อมผู้เรียนด้วยกิจกรรมจิตปัญญาศึกษา (Check in) และ
    ทำการตรวจสอบความรู้เดิมของนักศึกษาด้วยโปรแกรม Kahoot จากนั้นผู้สอนแจ้งเป้าหมายของบทเรียนในครั้งนี้ให้ผู้เรียนทราบ และกล่าวนำเข้าสู่การจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโดยการนำเสนอผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ
    3) ขั้นศึกษาค้นคว้าบทเรียน ผู้สอนให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยใน
    ห้องปฏิบัติการ จากนั้นให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าประเด็นสำคัญในเรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน
    4) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5-6 คน
    มอบหมายงานในการใช้ ICT เพื่อสร้างชิ้นงานโดยใช้ความรู้เรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยใน
    ห้องปฏิบัติการ จากนั้นให้ผู้เรียนดำเนินการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และดำเนินการวางแผนในการสร้างชิ้นงาน โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นcoach คอยให้คำแนะนำและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
    5) ขั้นนำเสนอผลงาน นักศึกษานำเสนอและเผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook และ Youtube โดยมี
    การประเมินจากอาจารย์ จากเพื่อน และประเมินตนเอง

    6) ขั้นสรุปบทเรียน ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้และตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนด้วยโปรแกรม Kahoot  หลังจากนั้นผู้เรียนร่วมกันสะท้อนคิดจากกิจกรรมที่ได้ทำโดยใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา (Check out) ทั้งประเด็นความรู้ที่ได้รับ ความรู้สึกต่อกิจกรรม และการนำไปใช้ในอนาคต
  3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
    1) Facebook, Google Document, Google App, Youtube, Line, Kahoot
    2) Computer, Tablet, Smart Phone
    3) กล้องถ่ายรูป, กล้องบันทึกวีดิโอ
  4. การวัดและการประเมินผล
    4.1 วิธีวัดและประเมินผล และเครื่องมือวัดและประเมินผล ประเมินโดยใช้เกณฑ์รูบริค โดยมีอาจารย์
    เป็นผู้ประเมิน เพื่อนประเมินเพื่อน และประเมินตนเอง
    4.2 เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)
รายการประเมิน ระดับคะแนน
3 2 1
1. กระบวนการทำงานกลุ่ม มีการทํางานเป็นทีมทุกคนมีส่วนร่วมในการทํางานอย่างชัดเจน มีการทํางานเป็นทีมสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการทํางานอย่างชัดเจน มีการทํางานไม่เป็นทีมสมาชิกกลุ่มส่วนน้อยมีส่วนร่วมในการทํางานอย่างชัดเจน
2. การนําความรู้เรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมาใช้ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT มีการนําความรู้ เรื่อง การ จัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT ได้อย่างเหมาะสม มีการนําความรู้ เรื่อง การจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICTบางส่วน ไม่มีการนําความรู้ เรื่องการจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการมาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานโดยใช้ ICT
3. ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้าง ชิ้นงานโดยใช้ ICT นําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์มีแนวคิดที่แปลกใหม่ไม่ลอกเลียน แบบผลงานของผู้อื่นและมีความน่าสนใจ นําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ ใช้ มีแนวคิดที่ดัดแปลงหรือประยุกต์จากเดิมแต่ไม่ลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่น และมีความน่าสนใจ นําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ มีแนวคิดที่ลอกเลียนแบบผลงานของผู้อื่นและไม่มีความน่าสนใจ
4. การใช้เทคโนโลยีในการจัดทําชิ้นงาน ใช้เทคโนโลยีในการจัดทําชิ้นงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างครอบคลุม ใช้เทคโนโลยีในการจัดทําชิ้นงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดทําชิ้นงาน
5. คุณภาพภาพและเสียงของชิ้นงาน ภาพมองเห็นชัดเจน เสียงไม่สะดุด ใช้ภาพและเสียงประกอบการนําเสนออย่างเหมาะสม ภาพมองเห็นชัดเจนเสียงไม่สะดุดเป็นส่วนใหญ่ใช้ภาพและเสียงประกอบการนําเสนออย่างเหมาะสม ภาพมองเห็นไม่ชัดเจนเสียงสะดุด ใช้ภาพและเสียงประกอบการนําเสนออย่างไม่เหมาะสม
    อ้างอิงจาก  กมลพร  ทองธิยะ
  • บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้
    จากการจัดการเรียนรู้ PBL Using ICT โดยบูรณาการแนวคิด Active Learning พบว่านักศึกษาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างมาก มีบรรยากาศในชั้นเรียนที่สนุกสนาน นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข มีอิสระในการคิดและการวางแผนการสร้างชิ้นงานอย่างเป็นระบบอย่างเต็มความสามารถ โดยนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้ในการสร้างชิ้นงาน รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน นอกจากนั้นยังพบว่าการใช้สื่อ ICT ประกอบการสอนช่วยให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการทำกิจกรรมรูปแบบใหม่ๆ ทั้งการสร้างชิ้นงานโดยใช้ smart phone และการติดต่อสื่อสารผ่านทาง social network ซึ่งทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในห้องเรียนก็สามารถศึกษาหาความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่ม Facebook ได้
  • ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)
    Active Learning คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Bonwell, 1991) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สมมติฐานพื้นฐาน 2 ประการ คือ 1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์และ 2) แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน (Meyers and Jones, 1993) โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้รับความรู้ (receive) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ (co-creators) ( Fedler and Brent, 1996)  Active Learning เป็น กระบวนการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง แปลตามตัวก็คือเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติหรือการลงมือทำ ซึ่ง“ความรู้”ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
  • กระบวนการเรียนรู้ Active Learning
  • การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมอภิปราย และฝึกทักษะการสื่อสารทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
  • การนำเสนองานทางวิชาการ เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%

ลักษณะของ Active Learning

  • เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
  • ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด
  • เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด
  • ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
  • ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

ที่มา :                                                                                                                                                   

–  คลิปวีดีโอประกอบการสอน เรื่อง  การจัดเก็บอุปกรณ์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

  • https://www.youtube.com/watch?v=ZwDaLMWViGA
  • https://youtu.be/LPWVyMkTAC4

–  ภาพประกอบการจัดการเรียนการสอน และแผนการสอน :   https://drive.google.com/file/d/1W-ELfujyXyqHvvtQqdpWUmWp-TT5Czf-/view

  • รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)
    1. ชื่อ-นามสกุล  อาจารย์อรพรรณ ธนะขว้าง
    สอนสาขา/โปรแกรมวิชา  วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    คณะ  ครุศาสตร์   มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม
    หมายเลขโทรศัพท์  084-8864905   e-mail  Orrapun.t@Gmail.com
    2. ชื่อ-นามสกุล……………………………………………………………..
    สอนสาขา/โปรแกรมวิชา………………………………………………..
    คณะ…………………………………….มหาวิทยาลัย………………………………………………..
    หมายเลขโทรศัพท์…………………………………..e-mail…………………………………….
    3. ชื่อ-นามสกุล……………………………………………………………..
    สอนสาขา/โปรแกรมวิชา………………………………………………..
    คณะ…………………………………….มหาวิทยาลัย………………………………………………..
    หมายเลขโทรศัพท์…………………………………..e-mail…………………………………….