1-05 เรื่องเล่าดิจิทัล : PBL using ICT เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อสอน ระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลสุโขทัย(ปรับปรุงครั้งที่ 2)

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ PBL

มัลติมิเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม

เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อสอน   ระดับชั้น อนุบาลปีที่ 3

1. จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. เพื่อให้นักเรียนได้ตอบข้อสงสัยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อให้นักเรียนออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  3. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม
  4. เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เครื่องมือ, เทคโนโลยีในการเรียนรู้

2.กิจกรรม (Activities)

กิจกรรมและประสบการณ์

ขั้นนำ

นักเรียนสนทนากันถึงการดูสารคดี เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จากห้องโฮมเธียเตอร์ แล้วได้ข้อสงสัยว่า เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

ขั้นสอน

  1. เมื่อนักเรียนมีสนใจอยากจะทราบความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จึงทำการแสดงความคิดเห็นออกแบบการเรียนรู้ การสืบเสาะหาข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบอย่างหลากหลาย
  2. เมื่อนักเรียนตกลงถึงวิธีการค้นหาคำตอบกันได้แล้ว สรุปว่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

2.1 กลุ่มที่ 1 ไปสืบค้นห้องอินเตอร์เน็ตและขอให้ครูช่วยปริ้นข้อมูลออกมาให้

2.2 กลุ่มที่ 2 ไปสอบถามผู้ปกครองและบันทึกผลกลับมาในรูปแบบของภาพวาด

2.3 กลุ่มที่ 3 เสนอการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านป่าแฝก (บ้านจ่าก้อง) ที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

  1. นักเรียน กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 นำเสนอการสืบค้นข้อมูล
  2. ครูสร้างข้อตกลงการไปศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านป่าแฝก (บ้านจ่าก้อง)
  3. เมื่อสร้างข้อตกลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักเรียนได้เดินทางไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านป่าแฝก (บ้านจ่าก้อง) ที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เพื่อนักเรียนจะได้เห็นสถานที่จริง การทำการเกษตรแบบผสมผสาน พันธุ์พืชต่างๆ ไว้เป็นประสบการณ์และทำให้นักเรียนมีความเข้าใจความหมายของคำว่า เศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น โดยใช้กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือหรือแท็ปเล็ต เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลของนักเรียน
  4. เมื่อนักเรียนกลับจากการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านป่าแฝก (บ้านจ่าก้อง) ที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย แล้ว ครูได้มอบหมายให้นักเรียนสร้างชิ้นงานคนละ 1 ชิ้น นั่นคือ ให้นักเรียนวาดรูปไร่นาสวนผสม ตามจินตนาการของนักเรียน ตามที่นักเรียนได้เรียนรู้มา ในชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ โดยครูให้นักเรียนได้ใช้โปรแกรม Paint ซึ่งเป็นโปรแกรมวาดภาพ สร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา
  5. เมื่อนักเรียนสร้างชิ้นงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ออกมานำเสนอชิ้นงานของตนเองหน้าชั้นเรียน และมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวส่งต่อให้ผู้ปกครองได้รับชมผลงานของนักเรียนด้วย
  6. เมื่อนำเสนอชิ้นงานเรียบร้อยแล้ว ครู ได้ทำการสรุป ความหมายของคำว่า เศรษฐกิจพอเพียง ให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ตรงกัน

3. เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

  1. กล้องถ่ายรูป
  2. โทรศัพท์มือถือ
  3. แท็ปเล็ต
  4. IPad
  5. คอมพิวเตอร์
  6. โปรแกรม Paint
  7. โทรทัศน์

4. การวัดและการประเมินผล

เครื่องมือที่ใช้ประเมิน

  1. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
  2. แบบประเมินผลงาน

เกณฑ์การวัดประเมินผล

  1. เกณฑ์การประเมินผลงาน

เกณฑ์การให้คะแนนผลงาน

รายการประเมิน คำอธิบายคุณภาพ
ดีมาก

(4)

ดี

(3)

พอใช้

(2)

ควรปรับปรุง(1)
1. ความคิดสร้างสรรค์ ผลงานมีจินตนาการในการสร้างสรรค์ เกิดจากความคิดของตนเอง แปลก แตกต่าง ไม่ซ้ำใคร ผลงานมีความคิดแปลกใหม่ แต่ไม่เป็นระแบบ ผลงานมีความน่าสนใจ เป็นงานเลียนแบบผลงานผู้อื่น ผลงานไม่แสดงความคิดสร้างสรรค์
2. การออกแบบ/ องค์ประกอบ ผลงานมีความงาม ตามหลักการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์ ได้แก่ มีความสมดุล ความกลมกลืนและมีการเน้นจุดสนใจ ผลงานมีความงาม ตามหลักการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์ ได้แก่ มีความสมดุล ความกลมกลืน แต่ไม่เน้นจุดสนใจ ผลงานขาดหลักการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์บางอย่าง ทำให้ขาดความสมดุล ความกลมกลืน ความน่าสนใจ ผลงานขาดหลักการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์
3. เวลา ส่งชิ้นงานในเวลาที่กำหนด ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 1 วัน ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 2 วัน ส่งชิ้นงานช้ากว่ากำหนด 3 วัน ขึ้นไป
4. การสื่อความหมายตามแนวเรื่องที่กำหนด ผลงานสื่อความหมายมีความชัดเจน มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือหัวข้อที่กำหนด ผลงานสื่อความหมายได้ปานกลาง มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือหัวข้อที่กำหนด ผลงานสื่อความหมายได้น้อย มีความสอดคล้องบ้างกับวัตถุประสงค์หรือหัวข้อที่กำหนด ผลงานสื่อความหมายได้ไม่ถูกต้อง ไม่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือหัวข้อที่กำหนด
๕. การนำเสนอผลงาน น้ำเสียงชัดเจน มีความเชื่อมั่น กระตือรือร้น สื่อ อุปกรณ์ครบถ้วน ออกเสียงถูกต้องทุกคำ น้ำเสียงชัดเจน มีความเชื่อมั่น กระตือรือร้น สื่อ อุปกรณ์ไม่สมบูรณ์นัก อาจมีการออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง น้ำเสียงไม่ชัดเจนมากนัก มีความเชื่อมั่นน้อย กระตือรือร้น สื่อ อุปกรณ์ไม่สมบูรณ์นัก อาจมีการออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง น้ำเสียงไม่ชัดเจน ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่กระตือรือร้น สื่อ อุปกรณ์ไม่สมบูรณ์นัก

          เกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพ

คะแนน ระดับคุณภาพ
ต่ำกว่า 5 1 (ควรปรับปรุง)
6-9 2 (พอใช้)
10-13 3 (ดี)
14 ขึ้นไป

4 (ดีมาก)

5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์โดยตรง และความสุขกับการเรียนรู้ สิ่งที่ได้จากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครั้งนี้ก่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1. ด้านร่างกาย

นักเรียนได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ในการเดินชมแหล่งเรียนรู้ตามวิทยากร เล่น ทำกิจกรรมและปฏิบัติตนได้อย่างปลอดภัย

2. ด้านอารมณ์  จิตใจ

นักเรียนกล้าพูดกล้าแสดงออก มีความพึงพอใจในผลงานของตนเอง มีความสุขในการสร้างชิ้นงานด้วยโปรแกรมและมีความตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จด้วยตนเอง

3. ด้านสังคม

นักเรียนได้เรียนรู้ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีทักษะชีวิต และปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทิ้งขยะได้ถูกที่ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม

4. ด้านสติปัญญา

นักเรียนสามารถฟังและสนทนาโต้ตอบได้อย่างต่อเนื่อง สร้างผลงานศิลปะเพื่อสื่อสารความคิดของตนเองได้ มีความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม ค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ ด้วยตนเอง สื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการใช้ ICT และที่สำคัญ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

6. ข้อมูล เพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดีโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนิน การได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการจัดประสบการณ์

https://drive.google.com/drive/folders/1y8aptFs-m7cKvxmn3g48T8w_jM_c6FmX?usp=sharing

ผลงานการวาดรูปจากโปรแกรม Paint

https://drive.google.com/drive/folders/1Ln1AV27fGJq-7rGN1mdmaCkkf0go7kyH?usp=sharing

ผลงานการถ่ายภาพของนักเรียน

https://drive.google.com/drive/folders/1EEIh4Wh2sPS9YeeoMajnWX38JlgHDCE4?usp=sharing

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

  • ครูในโรงเรียนทั่วไป

ชื่อ-นามสกุล    นางอัจฉราภรณ์  กนกเมธากุล    วิชาที่สอน  บูรณาการการศึกษาปฐมวัย
โรงเรียน    อนุบาลสุโขทัย                                 หมายเลขโทรศัพท์   0816800379
e-mail  atcharapron0379@gmail.com

ชื่อ-นามสกุล    นางสาวปาริญา   ท่าน้ำ              วิชาที่สอน     คอมพิวเตอร์ และ วิทยาศาสตร์
โรงเรียน    อนุบาลสุโขทัย                                 หมายเลขโทรศัพท์    0872092377
e-mail      moonoypretty@gmail.com