1-12 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปาร่วมกับการบูรณาการ ICT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 

 

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม เรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลซิปปาร่วมกับการบูรณาการ ICT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

 

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

1. พุทธิพิสัย

1.1. เพื่อให้นักเรียนบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน และบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วนพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบได้

1.2. เพื่อให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกการลบ การคูณ และการหารเศษส่วน และโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วนพร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบได้

  1. จิตพิสัย

2.1. เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่า และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

2.2. เพื่อให้นักเรียนมีความรอบคอบ และรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

  1. ทักษะพิสัย

3.1. ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา

3.2. ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

3.3. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

  2.   กิจกรรม (Activities)

ชั่วโมงที่ 1-2

1. ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้ และทบทวนการบวกและการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน

2. ครูจะให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ครูจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อออกเป็น 5 เรื่องต่อไปนี้

  •  การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน และการแก้โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน
  • การลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน และการแก้โจทย์ปัญหาการลบเศษส่วน
  • การคูณเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการคูณเศษส่วน
  • การหารเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการหารเศษส่วน
  • การบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน

แต่ละคนในกลุ่มจะได้หัวข้อเรื่องที่แตกต่างเพื่อไปศึกษาค้นคว้า หาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบก็จะได้ว่า

คนที่ 1 ของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบเรื่องการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันและการแก้โจทย์ปัญหาการบวกเศษส่วน

คนที่ 2 ของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบเรื่องการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน และการแก้โจทย์ปัญหาการลบเศษส่วน

คนที่ 3 ของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบเรื่องการคูณเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการคูณเศษส่วน

คนที่ 4 ของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบเรื่องการหารเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการ หารเศษส่วน

คนที่ 5 ของแต่ละกลุ่ม รับผิดชอบเรื่องการบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน และการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณระคนของเศษส่วน

จะทำให้นักเรียนได้กลุ่มย่อย 5 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน เพื่อช่วยกันหาข้อมูลและปรึกษาหารือกันในหัวข้อที่ตนเองรับผิดชอบในเรื่องเดียวกันได้

3.  นักเรียนแต่ละคนแยกกันทำหน้าที่รับผิดชอบหัวข้อเรื่องของตนเองไปศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

4.  ครูจะคอยตั้งคำถามกระตุ้น เพื่อให้นักเรียนเกิดข้อคำถามในใจเพื่อหาคำตอบของตนเองต่อไป

ชั่วโมงที่ 3-4

1. ครูและนักเรียนสนทนา ทบทวน ถามไถ่ เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าของแต่ละหัวข้อที่ครูมอบหมายให้

2. ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากนักเรียนในกลุ่มย่อยที่ไปศึกษาหาคำตอบมา เพื่อนำข้อมูลมาขยายผลให้กับเพื่อนๆ ในกลุ่มใหญ่ทราบ

3. ให้นักเรียนแต่ละคนกลับเข้ากลุ่มใหญ่ 5 คน กลุ่มเดิม เพื่อรับทราบและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ซึ่งกันละกัน

4. ครูแจกกระดาษปรู๊ฟ เพื่อให้นักเรียนรวบรวมหัวข้อต่างๆ ที่ครูมอบหมายให้ไปศึกษาค้นคว้า จากเพื่อนๆ ที่รับผิดชอบในเรื่องๆ นั้น โดยเขียนแยกลงเป็นหัวข้อๆ ในกระดาษปรู๊ฟ และร่วมกับอภิปรายถึงข้อมูลต่างๆ ที่ได้แลกเปลี่ยนกันภายในกลุ่ม รวมไปถึงการวางแผนเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้นำเสนอในรูปแบบของการนำเสนอ Power Point หน้าชั้นเรียน

ชั่วโมงที่ 5-6

1.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงาน Power Point หน้าชั้นเรียน เพื่อให้ครูและเพื่อนๆ ฟัง

2. เมื่อนักเรียน Power Point หน้าชั้นเรียนครบทุกกลุ่ม ครูจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามและตอบคำถามของเพื่อนๆ ระหว่างกลุ่ม

3. ครูและเพื่อนๆ จะทำการบันทึกและสรุปข้อคำถาม พร้อมทั้งประเมินให้คะแนนเพื่อนที่นำเสนอผลงานอยู่หน้าชั้นเรียน

 

      3.  เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

1. หนังสือเรียน/แบบฝึกหัด

2. คอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ต

3. กระดาษปรุ๊ฟ

4. ปากกาเคมี

5. โปรแกรม Power Point

 

     4.  การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด สิ่งที่วัด เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมิน
1. ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้ 5 คะแนนขึ้นไป ผ่านเกณฑ์
2. ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ได้ 8 คะแนนขึ้นไป ผ่านเกณฑ์

 

      5. บันทึกอนุทินหลังการจัดการเรียนรู้

ประเด็นการบันทึก จุดเด่น จุดที่ควรปรับปรุง
นักเรียนสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมโดยใช้ซิปปาโมเดลร่วมกับการบูรณาการ ICT ได้เป็นอย่างดี นักเรียนมีความพยายามที่จะเรียนรู้ในการทำกิจกรรมโดยใช้ซิปปาโมเดลร่วมกับการบูรณาการ ICT โดยการศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตและสามารถนำเสนอออกมาทาง PowerPoint ได้ นักเรียนยังใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน PowerPoint ไม่ค่อยได้

   

    6. ข้อมูล เพิ่มเติม 

– ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน   <<=== คลิกเพื่อดูภาพ

 

7. รายชื่อเจ้าของผลงาน

1.ชื่อ-นามสกุล (ไทย): นางสาวศศิธร ธูปพุดซา

(อังกฤษ)                : Miss.Sasithorn  Tooppudsa

ตำแหน่ง                : ครูผู้ช่วย

ที่อยู่ที่ติดต่อได้         : 11/2  ม.2   ต.หนองบัว   อ.ศรีนคร  จ.สุโขทัย    64180

หมายเลขโทรศัพท์     : 099-271-494-9

ประวัติการศึกษา

ลำดับ วุฒิการศึกษา จากสถาบัน ปีที่จบการศึกษา
1 คบ.เอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2556

 

2.ชื่อ-นามสกุล (ไทย): นายวิศิษฏ์พงศ์    พวงคำ

(อังกฤษ)                : Mr.Wisitpong Puangkam

ตำแหน่ง                : ครู       อันดับ คศ.1

ที่อยู่ที่ติดต่อได้         : 155/3  ถ.สำราญรื่น   ต.ท่าอิฐ   อ.เมือง  จ.อุตรดิตถ์   53000

หมายเลขโทรศัพท์     : 085-716-550-9

ประวัติการศึกษา

ลำดับ วุฒิการศึกษา จากสถาบัน ปีที่จบการศึกษา
1 ศษ.ม.การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพิษณุโลก 2560
2 คบ.ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2552