3-30 การใช้ ICT จัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ ตามแนว Constructionism เรื่อง เดินตามรอยพ่อหลวง รัชกาลที่ 9

 

การใช้ ICT จัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ ตามแนว Constructionism เรื่อง เดินตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9  

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5    

1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงดำเนินตามรอยพ่อหลวง (ร.9) (K)

2. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก Powtoon ได้ (P)

3. นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบ และมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี (A)

2.กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)     

 ขั้นตอนของการจัดกจิกรรม การเรียนรู้ด้วยโครงการโดยใช้ไอซีที (Project-based Learning using ICT)

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน       

 1.1 ครูผู้สอนจะใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิม แล้วนำมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ โดยใช้คำถามว่า “นักเรียนเคยใช้โปรแกรมอะไรบ้างในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน” แล้วให้นักเรียนยกมือตอบทีละคน

1.2 ครูใช้ Kahoot ในการนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงดำเนินตามรอยพ่อหลวง (ร.9)

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการสอน     

 2.1 ครูผู้สอนถามนักเรียนว่า “นักเรียนรู้จักเว็บไซต์ Powtoon.com หรือไม่ และสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง” เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ และอยากรู้ในสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่รู้จัก

2.2 ครูแนะนำให้นักเรียนรู้จักเว็บไซต์ Powtoon.com แล้วให้นักเรียนศึกษาการใช้งานเพิ่มเติมด้วยตนเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และครูจะคอยให้คำแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกิจกรรม   

 3.1 ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 3 คน เพื่อช่วยกันระดมความคิดและวางแผน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการออกแบบชิ้นงานของตนเอง

3.2 ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นเรื่องที่นักเรียนสนใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ที่ทรงดำเนินตามรอยพ่อหลวง (ร.9)จากอินเตอร์เน็ต

3.3 ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง นั่นก็คือ การสร้างชิ้นงานโดยใช้เว็บไซต์ Powtoon.com  เพื่อสื่อถึงสิ่งนั้นๆที่ระลึกถึงในหลวง โดยครูจะคอยเป็นผู้แนะนำ ตอบคำถามและสังเกตเด็กขณะทำกิจกรรม

3.4 ครูให้นักเรียนนำเสนอชิ้นหน้าชั้นเรียน ครูแจ้งเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงาน โดยการประเมินแบบ Rubric โดยประเมินผลจากเนื้อหา การนำเสนอ ความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ให้นักเรียนทราบ นักเรียนสามารถเสนอแนะเพิ่มเติมเกณฑ์การวัดประเมินชิ้นงานร่วมกับครูตามความเหมาะสม

ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป     

4.1 นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และให้ตัวแทนของห้องออกมาสรุปความรู้ที่ได้ทั้งหมดอีกครั้ง

4.2 ครูตรวจสอบความถูกต้อง และให้คำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่ต้องปรับปรุง

ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้     

5.1 นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่สนใจ และเป็นประโยชน์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทีเชื่อถือได้

5.2 นักเรียนรู้จักการประยุกต์ใช้เว็บไซต์ Powtoon.com ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และสามารถเผยแพร่ชิ้นงานที่ตนเองสร้างขึ้นได้

5.3 นักเรียนสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้

5.4 นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และการใช้เทคโนโลยีได้

5.5 นักเรียนมีจรรยาบรรณในการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

 

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)
•เว็บไซต์สร้างชิ้นงานออนไลน์ (www.powtoon.com)
•เครื่องคอมพิวเตอร์

4.การวัดและประเมินผล

สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล

ด้านความรู้ (K)                                               

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ  ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี      ที่ทรงดำเนินตามรอยพ่อหลวง (ร.9)

สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล ระดับคุณภาพปานกลางผ่านเกณฑ์

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก Powtoon ได้

ชิ้นงานจาก powtoon เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score) 4 ระดับ
ด้านคุณลักษณะฯ (A)       

นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบและมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล ระดับคุณภาพพอใช้ผ่านเกณฑ์

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา – เนื้อหาใช้คำถูกต้องสมบูรณ์

-เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่ครบถ้วน

– เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อ/เขียนคำผิด

-เนื้อหาไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

 4
2.การนำเสนอ – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง

– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง

-การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาไม่ถูกต้อง

– การนำเสนอไม่น่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

2
3.ความสวยงามและความสะอาดเรียบร้อย – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน

– ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– สะอาดเรียบร้อยโดยไม่มีจุดผิดพลาด

– ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิดพลาด

1 – 2 จุด

– ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม

– ข้อความอ่านยาก

– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิด พลาด 3 – 4จุด

– ข้อความอ่านยาก

– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม

– ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน

– ไม่มีความสะอาด

เรียบร้อย

 1
4.ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

– ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม

– ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

– ใช้ข้อความและภาพ ประกอบไม่สวยงาม – ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น  3

 

5. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ 

        ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก เว็บไซต์ Powtoon ได้ ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ วางแผนในการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการเป็นของตนเอง สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้ในยุคศตวรรษที่ 21  ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมาขึ้น

 

6.ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

แผนการสอน :   https://drive.google.com/file/d/1rPPukayCdlwlv3oy33UyEDZUNhwZevy7/view?usp=sharing

 

7.รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)     

ชื่อ-นามสกุล นายแสงสุรีย์  ไชยช่วย นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นายธรรมรินทร์  สุขสวัสดิ์ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นางสาวฐิติวัลคุ์  คงทอง  นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์  คณะครุศาสตร์