3-28 การเรียนรู้ด้วยโครงการ ตามแนว Constructionism เรื่อง สืบสานศิลป์ ถิ่นใต้ เมืองนครศรีธรรมราช

การเรียนรู้ด้วยโครงการ ตามแนว Constructionism เรื่อง สืบสานศิลป์ ถิ่นใต้ เมืองนครศรีธรรมราช

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช

1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 

  1. เพื่อให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับศิลป์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของเมืองนครศรีธรรมราชได้ (K)
  2. เพื่อให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงานตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบได้ (P)
  3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยเทคโนโลยี (P)
  4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อชิ้นงาน และมีภาวะผู้นำในการทำงานกลุ่มได้ (A)

2.กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)     

จัดการเรียนการสอนโดยการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-Based Learning) และตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism)

ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.1 ครูแจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบ

1.2 ครูเกริ่นนำเนื้อหาในการสอนโดยใช้ ควิชออนไลน์ kahoot คำถามปลายเปิด เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี เมืองนครศรีธรรมราช

1.3 ครูแลกเปลี่ยนความรู้โดย ใช้คำถามปลายเปิดโดยใช้สื่อออนไลน์ Visme กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการสอน

2.1 ครูอธิบายเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ Visme มีหน้าที่ทำอะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง การใช้งานเครื่องมือต่างๆในสื่อออนไลน์  และให้ผู้เรียนไปสืบค้นเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต

ขั้นที่ 3 ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3.1 ให้ผู้เรียนสืบค้นความรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่

3.2 ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และนำความรู้ที่ค้นคว้าได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มเพื่อใช้ประสบการณ์องค์ความรู้เดิมผสมผสานกับความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่

3.3 ให้ผู้เรียนช่วยกันลงมือทำ ชิ้นงานนำเสนอออนไลน์โดยใช้สื่อออนไลน์ Visme ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายและครูคอยเป็นโค้ชแนะนำช่วยเหลือนักเรียนขณะทำชิ้นงาน

ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป

4.1 ครูผู้สอนจะทำการสุ่มผู้เรียนออกมาสรุปให้เพื่อนๆและครูฟังถึงสื่อออนไลน์ Visme มีหน้าที่การใช้งานอย่างไรบ้าง และสามารถนำเทคโนโลยีสื่อออนไลน์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรได้บ้าง

ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้

5.1 นักเรียนสามารถนำสื่อออนไลน์ Visme ไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาต่างๆให้เกิดประโยชน์และนำไปใช้ชีวิตประจำวันต่างๆได้อีกมากมาย

5.2 นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ได้

3.เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

– สื่อออนไลน์เว็บไซต์ www.visme.co/

– เครื่องคอมพิวเตอร์

– เครื่องโปรเจ็ตเตอร์

4.การวัดและประเมินผล

สิ่งที่วัด วิธีการ เครื่องมือวัดผล เกณฑ์การประเมินผล

ด้านความรู้ (K)                                             

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช

 

สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

 

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล

 

ระดับคุณภาพปานกลางผ่านเกณฑ์

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก visme ได้

 

ชิ้นงานจาก visme

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล

(Rubric Score)

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล

(Rubric Score) 4 ระดับ

ด้านคุณลักษณะฯ (A)       

นักเรียนแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบและมีทักษะในการทำงานโดยใช้เทคโนโลยี

สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกลุ่ม/รายบุคคล ระดับคุณภาพพอใช้ผ่านเกณฑ์

เกณฑ์ในการวัดและประเมินผล (Rubric Score)

ประเด็นการประเมิน ระดับคุณภาพ น้ำหนักคะแนน
ดีเยี่ยม (4) ดี (3) พอใช้ (2) ปรับปรุง (1)
1.เนื้อหา – เนื้อหาใช้คำถูกต้องสมบูรณ์

-เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่ครบถ้วน

– เนื้อหาตรงตามหัวข้อ

-เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหามีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาเป็นไปตามที่กำหนด

-เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน

-เนื้อหามีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

– เนื้อหาไม่ตรงตามหัวข้อ/เขียนคำผิด

-เนื้อหาไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูล

 4
2.การนำเสนอ – อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง

– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาได้ถูกต้อง

-การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– การนำเสนอมีความต่อเนื่องเป็นลำดับ

– การนำเสนอน่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

– อธิบายเนื้อหาไม่ถูกต้อง

– การนำเสนอไม่น่าสนใจ

– ไม่มีการสบตาผู้ฟัง

2
3.ความสวยงามและความสะอาดเรียบร้อย – ข้อความและภาพมีความสอดคล้องกัน

– ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– สะอาดเรียบร้อยโดยไม่มีจุดผิดพลาด

– ชิ้นงานมีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งได้เหมาะสม

– ข้อความอ่านง่าย

– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิดพลาด

1 – 2 จุด

– ชิ้นงานไม่มีความเป็นระเบียบจัดวางตำแหน่งไม่เหมาะสม

– ข้อความอ่านยาก

– สะอาดเรียบร้อยโดยมีจุดผิด พลาด 3 – 4จุด

– ข้อความอ่านยาก

– ใช้รูปภาพประกอบไม่เหมาะสม

– ข้อความกับพื้นหลังกลมกลืนกัน

– ไม่มีความสะอาด

เรียบร้อย

 1
4.ความคิดสร้างสรรค์ – ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม

-ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม- ไม่ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น

– ใช้ข้อความและภาพ ประกอบอย่างสวยงาม

– ใช้เครื่องมือในโปรแกรมออกแบบชิ้นงานได้เหมาะสม

– ใช้ข้อความและภาพ ประกอบไม่สวยงาม – ลอกเลียนแบบผลงานผู้อื่น  3

 

5. บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ 

        ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจาก สื่อออนไลน์ visme ได้ ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ วางแผนในการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการเป็นของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เพื่อนำมาปรับใช้ในยุคศตวรรษที่ 21  ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเพิ่มมาขึ้น

6.ข้อมูลเพิ่มเติม (สามารถใส่ภาพประกอบ วีดิโอเบื้องหลัง แผนการสอน หรืออื่นๆ ประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการได้เข้าใจที่ชัดเจนขึ้น)

-แผนการสอน :      https://drive.google.com/file/d/1KMnhLoP4tj4Li_z6HibVg7k9f87NG1Ov/view?usp=sharing

7.รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)     

ชื่อ-นามสกุล นายชวัลวิทย์ พิณเขียว นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นายปธานิน ยุเหล็ก นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์
ชื่อ-นามสกุล นายวิระวัฒน์ เอียดอุ้ย  นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์  คณะครุศาสตร์

8.อาจารย์ที่ปรึกษา

ผศ.ดร.กรวรรณ สืบสม สาขาคอมพิวเตอร์  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

อาจารย์รัฐพร กลิ่นมาลี สาขาคอมพิวเตอร์  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช