โครงงานห้องพยาบาลกล้วยไม้

ที่มาของโครงงาน

ภาคเหนือตอนบนมีดอกกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก แต่มีปัญหาในการอนุรักษ์พืชประเภทนี้เพราะความโลภของผู้คนที่ต้องการใช้ไม้จากสถานที่ต้องห้ามหรือต้องการยึดครองสถานที่สงวนเพื่อนำไปเป็นสถานที่ทำธุรกิจส่วนตัวของตัวเอง ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะบำรุงรักษาสิ่งมีชีวิตที่สวยงามนี้โดยการก่อสร้างเรือนเล็กๆเพื่อเป็นเรือนรักษา ให้ความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้คงอยู่สืบไปและเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในด้านของการอนุรักษ์พันธ์พืชที่หายาก

 

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

 

  1. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์หายากที่สำคัญและดอกกล้วยไม้บางประเภทที่หายาก
  2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียน วัด และชุมชนในการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชหายากประจำท้องถิ่นที่อาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
  3. เพื่อจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เรื่อง พันธุ์พืชหายากประจำท้องถิ่นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สำหรับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมและศึกษาหาความรู้

 

วัสดุอุปกรณ์

  1. GoGo board
  2. ปั๊มน้ำ
  3. ท่อพีวิซี
  4. รีเลย์
  5. หัวพ่นหมอก
  6. clock module
  7. บ่อพักน้ำ ( ถังขนาด 200 ลิตร )

 

ผังโครงสร้าง

 

รูปภาพ2

 

หลักการทำงาน

 

Go Go borad จะเป็นตัวสั่งการอุปกรณ์ทั้งหมด โดยการเขียนโปรแกรมติดตั้งเข้ากับตัวเครื่องแล้วอุปกรณ์ทุกอย่างจะทำงานอย่างอัตโนมัติ เช่น ลำดับแรก Go Go borad จะสั่งการให้ปั๊มน้ำทำงานโดยจะส่งน้ำผ่านท่อพีวีซีขนาดเล็กเข้าไปยังมอเตอร์สร้างหมอกซึ่งจะทำให้น้ำขยายตัวออกเป็นละอองเล็ก ๆ ต่อมา จะมีตัววัดเซนเซอร์ ความชื้นของอากาศและอุณหภูมิ เพื่อที่จะวัดปริมาณของความชื้นที่พอดี หรือว่าเป็นการควบคุมอุณหภูมิของดอกไม้และเรือนนั้นคงที่อยู่เสมอ

 

CODE คำสั่งการทำงาน

 

 

 

ผลของการทดสอบ

 

 

รูปการทำงาน

 

 

วีดีโอผลงาน

 

 

ผู้ทำโครงงาน  

  • ชื่อ-สกุล สามเณรจิระพงศ์   บุญทอง             ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่๖

โทรศัพท์  0821809920                                  e-mail : jirapong_bunthong@hotmail.com

  • ชื่อ-สกุล   สามเณรสิทธิพล   บรรจุแก้ว ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่๕

โทรศัพท์  0932424319                                  e-mail : lookmoo_mui@hotmail.com

  • ชื่อ-สกุล   สามเณรเทพพิทักษ์ชัย เกี่ยวพันธ์ ระดับชั้น   มัธยมศึกษาปีที่๕

โทรศัพท์    0816716582                                 e-mail : donzaa-555@hotmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

 

ชื่อ-สกุล   นายนิยม   จำธรรม            สอนวิชา วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์

โทรศัพท์   0899541519                e-mail : niyomvitit_2515@hotmail.com

 

โครงงานแบบจำลองพัดลมอัตโนมัติ

10616129_854204644614011_4645702896711332421_n

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

โรงเรียนวัดน้ำไคร้นันทชัยศึกษา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เข้าร่วมในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และโครงการได้สนับสนุนการทำโครงงานแบบจำลองเปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติ จากสภาพปัญหาของทางโรงเรียนได้พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดทักษะการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานที่ใช้โครงงานเป็นฐานการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดทักษะในการคิดค้น สืบค้น แก้ปัญหในการเรียนรู้ และเพิ่มทักษะการใช้งานของ Gogo board คำสั่งต่างๆเพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถเรียนรู้ด้วยการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าด้วยแบบจำลองโครงงานได้

ดังนั้นทางผู้จำทำได้ทำโครงงานแบบจำลองเปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติขั้นมา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์

 

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นและหลักการทำงานในคำสั่งของ Gogo board  ด้วยการเปิด-ปิดพัดลม

2.       เพื่อประดิษฐ์โครงงานแบบจำลองพัดลมอัตโนมัติ

3.       เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์

4.       เพื่อเกิดเจตคติที่ดีต่อการทำโครงงานร่วมกัน

 

วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำโครงงาน

  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อ GoGo Board
  2. GoGo Board
  3. เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ
  4. เซ็นเซอร์แสง
  5. รีเลย์
  6. พัดลมขนาด 16 นิ้ว
  7. ฐานแบบจำลอง

 

ผังโครงสร้าง

 

 

รูปภาพ1

 

 

หลักการทำงาน

การทำงานของแบบจำลองพัดลมอัตโนมันติ มี bobo board เป็นตัวควบคุม  ถ้าเซ็นเซอร์ 1 คือ เซ็นเซอร์อุณหภูมิมีค่ามากกว่า 830 และเซ็นเซอร์ 2 คือ เซ็นเซอร์แสง มีค่าน้อยกว่า 700 ก็จะสั่งให้ รีเลย์ เปิดพัดลมโดยอัตโนมัติ และถ้าเซ้นเซอร์อุณหภูมิมีค่าน้อยกว่า 830 และเซ็นเซอร์แสงมีค่ามากกว่า 700 ก็ํจะสั่งให้รีเลย์ปิดพัดลม และถ้าเซ็นเซอร์อุณหภูมิมีค่ามากกว่า 830 และเซ็นเซอร์วัดความเคลือนไหวมีค่ามากกว่า 0 ก็จะสั่งให้รีเลย์เปิดพัดลม และถ้าเซ็นเซอร์อุณหภูมิมีค่าน้อยกว่า 830 และเซ็นเซอร์วัดความเคลือนไหวมากกว่า 0 รีเลย์ก็จะสั่งให้ปิดพัดลม และถ้าเซ็นเซอร์แสงมีค่าน้อยกว่า 700 และเซ็นเซอร์วัดความเคลือนไหวมากกว่า 0 รีเลย์ก็จะสั่งให้เปิดพัดลม และถ้าเซ็นเซอร์แสงมีค่ามากกว่า 700  และเซ็นเซอร์วัดความเคลือนไหวมีค่าน้อยกว่า 0 รีเลย์ก็จะสั่งให้ปิดพัดลมโดยอัตโนมัติ

 

CODE คำสั่งการทำงาน

เงื่อนไขการทำงาน

10929229_10204521244209544_3876286343571637564_n

 

ตัวอย่าง CODE ที่ใช้

10858379_10204521275570328_1829953003421340686_n

 

ผลของการทดสอบ

จากการดำเนินการโครงงานพบว่าอุปกรณ์ gogo board สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่มีปัญหาในเรื่องของการเขียนโปรแกรม โดยหน้าที่ของ gogo board คือ เป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลกับserver และ Ralay รวมถึง ทำการควบคุมการเปิด-ปิดพัด โดยมีหลักการทำงาน ดังต่อไปนี้เมื่อ เซ็นเซ่อร์แสง เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ เซ็นเซอร์วัดความเคลื่อนไหว วัดค่าน้อยกว่าที่กำหนดเซ็นเซอร์ก็จะส่งค่าไปยังตัว gogo board โดยตัว gogo board จะได้ค่า เซ็นเซอร์ ก็จะสั่งให้ Ralay จ่ายกระแสไฟฟ้าให้พัดลมเพื่อเปิดพัดลม แต่ถ้าค่าความมากกว่าที่กำหนดก็จะสั่งให้ Ralay ตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ ปิดพัดลม

และหลังจากการจัดทำโครงงานแบบจำลองระบบเปิด-ปิดพัดลมอัตโนมัติ สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักการทำงานของ gogo board และคำสั่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถสร้างจิตสำนึกในการอนุกรักษ์ทรพยากรไฟฟ้าได้ เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นและยังช่วยให้นักเรียนผู้จัด ทำโครงงานได้มีทักษะในการเขียนโปรแกรม gogo board เพื่อควบคุมการทำงานของเซนเซอร์ต่างๆ และยังทำให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะประดิษฐ์และสร้างสรรค์ สิ่งแปลกใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานที่ในบริบทเดียวกัน

รูปประกอบการทำงาน

1.   เตรียมฐานรองรับโครงสร้างของแบบจำลอง                                                    2.  ประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบบนฐานแบบจำลอง

รูปภาพ7                                            รูปภาพ6

 

3.  เชื่อมต่ออุปกรณ์ และโปรแกรมคำสั่ง                                                                  4.  แบบจำลองแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน

 

รูปภาพ5                                                รูปภาพ1

วีดีโอผลงาน

 

 

คณะผู้จัดทำโครงงาน

  1. สามเณรทยากร   จิณกับ
  2. สามเณรภาณุวิช  แซ่เติน

 

IMG_20141012_164524

อาจารย์ที่ปรึกษา

นายสุทธิชัย   ใบยา อาจารย์ที่ปรึกษา

โรงเรียนวัดน้ำไคร้นันทชัยศึกษา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

 

 โครงงานระบบจัดสรรทรัพยากรน้ำตามใจเรา

10007062_675554145838851_715420219_n

ที่มาของโครงงาน

เนื่องด้วยทางโรงเรียนวัดน้ำไคร้นันทชัยศึกษา มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วง ฤดูแล้งอยู่บ่อยครั้ง จึงทำให้ดอกไม่ที่อยู่ในแปลงขาดแคลนน้ำ และมีระยะทางห่างจากแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับการอุปโภคมาก และไม่มีการจัดสรรการใช้น้ำอย่างเป็นระบบ จึงทำให้สูญเสียน้ำจากแหล่งเก็บน้ำไปโดยไม่ได้ใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรด้วยเหตุนี้จึงส่งผลกระทบต่อนักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนโดยตรงเมื่อไม่มีน้ำที่เพียงพอสำหรับการใช้ในการอุปโภคในด้านต่างๆ หลังจากที่กลุ่มผู้จัดทำโครงงานนี้ได้เข้าร่วมอบรมการเขียนโปรแกรมคำสั่งด้วยภาษาซี และการเขียนโปรแกรมควบคุมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นจึงมีแนวคิดริเริ่มที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการเขียนโปรแกรมควบคุมแผงวงจรสมาร์ทคอนโทรลบอร์ดโดยใช้เซนเซอร์วัดความชื้นเป็นตัวอินพุตข้อมูลจากนั้นจะมีการประมวลผลที่บอร์ดและส่งค่าที่ประมวลได้นั้นไปยังตัวรีเลย์เพื่อให้โซลินอยด์วาล์ว ซึ่งทำหน้าเป็นเป็นประตูกั้นน้ำทำงาน จากนั้นน้ำก็จะถูกปล่อยเข้าสู่พื้นที่แปลงดอกไม้ซึ่งการทำงานของอุปกรณ์สมาร์ทคอนโทรลบอร์ดนั้น ก็จะแสดงสถานะการทำงานผ่านหน้าเว็บอีกด้วยส่วนบริเวณแปลงดอกไม้ซึ่งเป็นระบบจ่ายน้ำนั้น พบว่าน้ำจากหัวจ่ายสปริงเกอร์กระจายออกไปได้ทั่วถึง ในส่วนของเซนเซอร์พบว่าค่าของเซนเซอร์ในแต่ละพื้นที่มีความชื้นที่สูงต่ำแตกต่างกัน และการติดตั้งเซนเซอร์ในความลึกที่แตกต่างกันออกไป

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

  1. เพื่อเป็นการจัดทำระบบจัดสรรทรัพยากรน้ำ
  2. เพื่อ เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เพียงพอต่อการอุปโภค ทุกประเภทและเพื่อเป็นการช่วยลดการสูญเสียน้ำที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
  3. เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
  4. เพื่อ เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เกิด ประโยชน์และสามารถต่อยอดการพัฒนาโครงงานสู่องค์กร หรือหน่วยงานอื่นได้

วัสดุอุปกรณ์

  1. Raspberry Pi
  2. Smart Board
  3. Relay
  4. Sensor
  5. Solenoid Valve
  6. สปริงเกอร์

ผังโครงสร้าง

รูปภาพ9

หลักการทำงาน

  1. นำ Raspberry Pi ไปต่อกับ Smart Board เพื่อให้ตัวบอร์ดได้รับ Internet ส่งค่าไปยังหน้าเว็บ
  2. นำSolenoid Valve ต่อเข้ากับ Relay
  3. นำ Sensor ต่อเข้ากับ Smart Board
  4. นำสปริงเกอร์และ Sensor ต่อลงยังบริเวรต้นไม้
  5. ทดลองการควบคุม

การทำงานของระบบผ่านหน้าจอ URL Automatic แบบตั้งเวลา และManual

รูปภาพ10

ค่าความชื้น

รูปภาพ11

CODE คำสั่งการทำงาน

 

 

 

ผลของการทดสอบ

จากการดำเนินการโครงงานพบว่าอุปกรณ์สมาร์ทคอนโทรลบอร์ด สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากไม่มีปัญหาในเรื่องของการเขียนโปรแกรม โดยหน้าที่ของ สมาร์ทคอนโทรลบอร์ดคือ เป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลกับserver หรือ/และdatabase   รวมถึง ทำการควบคุมระบบรดน้ำแบ่งเป็น 2 โหมด คือ AUTO และ MANUAL โดยปกติSmartBoardมันจะrequest by Get ไปที่https://champ.sms4thai.com/autoWater/device.phpโดยส่งค่าของparameter 2ตัวไปด้วยนั่นคือ sensor และ value

โดยมีหลักการทำงานดังต่อไปนี้เมื่อเซ็นเซ่อร์วัดค่าความชื้นน้อยกว่าที่กำหนดเซ็นเซ่อร์ก็จะส่งค่าไปยังตัวบอร์ดโดยตัวบอร์ดจะได้ค่า Internet จาก Raspberry Piจากนั้นตัวบอร์ดก็จะสั่งให้ Ralay จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับSolenoid Valveเพื่อเปิดประตูน้ำ แต่ถ้าค่าความชื้นมากกว่าที่กำหนดก็จะสั่งให้ Ralay ตัดกระแสไฟฟ้า เพื่อให้Solenoid Valveปิดประตูน้ำ

รูปการทำงาน

 

1.  เตรียมอุปกรณ์

รูปภาพ22รูปภาพ23รูปภาพ24รูปภาพ25

2.  เตรียมพื้นที่ และประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ

รูปภาพ20รูปภาพ19รูปภาพ13  รูปภาพ11  รูปภาพ15  รูปภาพ10

3.  โปรแกรมคำสั่ง  พร้อมทดสอบระบบ

รูปภาพ14   รูปภาพ12   รูปภาพ8    รูปภาพ9

 

วีดีโอผลงาน

 

คณะผู้จัดทำโครงงาน

  1. สามเณรนวพล คำแสน   ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5
  2. สามเณรจิราธิป อารีพิทักษ์   ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

นายสุทธิชัย   ใบยา อาจารย์ที่ปรึกษา

โรงเรียนวัดน้ำไคร้นันทชัยศึกษา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

 

9. โครงงานระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติ (โรงเรียนเวียงชัย ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย)


โครงงานระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติ

 

IMG_1398

ที่มาของโครงงาน

 

เนื่องจากปัจจุบันทางโรงเรียนได้จัดทำโครงการปลูกพืชไร้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์  ซึ่งเป็นโครงการเกษตรเพื่อภัตตาหารเพลของโรงเรียนเวียงชัยพิทยาของเรา และต้องมีการจ่ายน้ำเลี้ยงให้กับผักอยู่เป็นระยะ เพื่อไม่ให้นิ่งเพราะจะทำให้รากของผักนั้นเน่าเสีย จึงมีความจำเป็นที่จะนำ GoGo Board เข้ามาช่วยควบคุมระบบจ่ายน้ำเพื่อให้มีน้ำหมุนเวียนอยู่เป็นระยะ ป้องกันผักไม่ให้เกิดการเน่าเสียและช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นิดเปิดน้ำที่ต้องคอยมาดูแลอยู่ตลอด อีกทั้งจะทำให้โครงการปลูกพืชไร้ดิน หรือไฮโดรโปนิกส์มีระบบระเบียบมากขึ้

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

  1. เพื่อสร้างระยะเวลาการหมุนเวียนของน้ำให้เป็นไปอย่างมีระบบ
  2. ช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมดูแล ของผู้ดูแลแปลงผักไฮโดรโปนิกส์
  3. ผักไม่เน่าเสียและมีความสมบูรณ์จากความสม่ำเสมอของน้ำ
  4. ฝึกให้นักเรียนมีทักษะประสบการณ์ในการคิด วิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น­­

วัสดุอุปกรณ์

 

  1. GoGo Board 1 ตัว
  2. รีเลย์ แบบโซลิดสเตท (Solid State Relay) ขนาด 25A 1 ตัว
  3. ชุดรีเลย์ปลั๊กพ่วง 1 ตัว
  4. โซลินอยด์วาล์ว โซลินอยด์2ทางปิดเปิดน้ำ วัสดุทองเหลือง ขนาด4หุน 1 ตัว
  5. นาฬิกา 1 ตัว
  6. ปั้มน้ำ 12 VDC : 7 ลิตร/นาที ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4×8 cm 1 ตัว

 

ผังโครงสร้าง

รูปภาพ8

 

หลักการทำงาน

  1. เครื่องมือที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่ง ในการกำหนดคำสั่งให้กับ Gogo board นั้นทางเราได้ใช้โปรแกรม Tinker : Gogo board ในการเขียนชุดคำสั่ง โดยในรายละเอียดของคำสั้งนั้นก็มีการแยกชุดคำสั่งควบคุมการทำงานออกเป็นสองส่วนด้วยกัน ส่วนที่ 1 คือ ทำการควบคุมการทำงานของ โซลินอยด์วาล์ว ซึ่งเป็นตัว ปิด/เปิด การจ่ายของกระแสน้ำเพื่อให้จ่ายน้ำตรงตามเวลาที่กำหนด ส่วนที่ 2 คือ รีเลย์ แบบโซลิดสเตท เป็นปลั๊กไฟขนาด 220 โวลต์ เพื่อทำการควบคุมการทำงานของปั้มน้ำวน ให้ทำงานในทุกๆ หนึ่งชั่วโมง เพื่อให้น้ำไหลเวียนในแปลงผักไม่ให้รากของผักเน่าเสีย
  1. โปรแกรมสำหรับเชื่อมกับ Gogo board คือ GoGo Widget มีหน้าที่ชื่อต่อ โปรแกรม Tinker : Gogo board ให้ใช้งานได้กับตัว Gogo board เป็นตัวตั้งค่าเวลาให้กับ นาฬิกา(Clock module) ให้ทำงานได้ตรงตามเวลาจริง

 

  1. ในส่วนของการต่ออุปกรณ์ และท่อ PVC นั้นก็ได้ทำการเจาะรูท่อ PVC ระยะห่างประมาณ 7 นิ้ว เพื่อให้น้ำได้กระจายออกตามรูที่เจาะเอาไว้รอบๆแปลง เพื่อให้น้ำได้กระจายออกตามรูอย่างสม่ำเสมอ
  2. ขอบเขตและข้อจำกัดของ ระบบจ่ายน้ำอัตโนมัตินี้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้ใช้ได้กับแปลงไฮโดรโปนิกส์เบื้องต้น ในเรื่องของการ ปิด/เปิดการจ่ายน้ำและกำหนดระยะเวลาการทำงานของปั้มน้ำวน แต่ยังไม่สามารถนำไปใช้ได้กับการทำงานด้านอื่นๆได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์เฉพาะ และยังขาดการกำหนดชุดคำสั่งเพิ่มเติมถ้าหากนำไปใช้กับด้านอื่นๆ

CODE คำสั่งการทำงาน

ในการกำหนดคำสั่งการทำงานของโค้ดนั้นได้ กำหนดให้ มอเตอร์ A เป็นรีเลย์ปลั๊ก มอเตอร์ B เป็นโซลินอยด์วาล์ว ในเวลา 7.00 น. ของทุกวันมอเตอร์ B จะทำงานจ่ายน้ำเข้าแปลงผักเป็นเวลา 55 นาที เมื่อจ่ายน้ำเสร็จแล้ว เวลา 08.10 น. มอเตอร์ A จะสั่งให้ปั้มน้ำวนทำงานเพื่อให้น้ำไหลเวียนในแปลงผัก เมื่อถึงเวลา 8.55 น. มอเตอร์ A จะตัดการทำงาน และเริ่มการทำงานอีกครั้งในเวลา 10.10 น. ทำงาน 1 ชั่วโมง หยุดการทำงาน 1 ชั่วโมงสลับกันไปจนถึงเวลา 23.59 น. และเริ่มการทำงานอีกครั้งในวันใหม่

 

to main

forever

[

if hours = 07 and minutes = 00

[ b , on ]

if minutes = 55

[ b , off ]

if hours = 08 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 10 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 12 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 14 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 16 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 18 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 20 and minutes = 10

[ a , on ]

if minutes = 55

[ a , off ]

if hours = 22 and minutes = 10

[ a , on ]

if hours = 23 and minutes = 59

[ a , off]

]

end

 

ผลของการทดสอบ

ในการทดสอบการใช้งาน Gogo board และชุดคำสั่งที่ได้เขียนขึ้นนั้นได้ทำการทดลองใช้กับสถานที่จริงอยู่สามครั้งด้วยกัน

ครั้งที่ 1 ชุดคำสั่งตัวแรกที่ได้มาจากการอบรมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น เมื่อนำมาทดใช้จริงปรากฏว่า ตัวโซลินอยด์วาล์วทำงาน แต่เมื่อครบเวลาไม่ตัดการทำงานตามระยะเวลาที่กำหนด แต่รีเลย์ แบบโซลิดสเตททำงานตามปกติ

ครั้งที่ 2 ทางนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาจากการที่ ตัวโซลินอยด์วาล์วทำงานไม่ตัดการทำงาน และแก้ไขให้ใช้งานได้ตามปกติ และ เมื่อนำไปทดสอบอีกครั้งก็พบว่าแรงดันของน้ำนั้นไม่ค่อยแรงเท่าที่ควร และระยะเวลาการจ่ายน้ำนั้นไม่สัมพันธ์กันจึงทำให้น้ำจ่ายได้ไม่เต็มแปลง

ครั้งที่ 3 เมื่อได้ปัญหาจากการทดสอบในครั้งที่สองและนำกลับมา วิเคราะห์ก็สามารถกำหนดระยะเวลาการจ่ายน้ำของ โซลินอยด์วาล์ว ให้สัมพันธ์กับแรงดันน้ำ จนจ่ายน้ำได้เต็มแปลงและเขียนคำสั่งให้กับ Gogo board ได้ตรงตามเวลาที่กำหนดเอาไว้

 

 

รูปการทำงาน

1. เตรียมพื้นที่  พร้อมเดินท่อส่งน้ำ

รูปภาพ32รูปภาพ40รูปภาพ35

2.  ต่ออุปกรณ์ และเครื่องควบคุมระบบ พร้อมโปรแกรมคำสั่ง

รูปภาพ45รูปภาพ48รูปภาพ57

 

3.  ระบบแล้วเสร็จ พร้มอทดสอบ

รูปภาพ55รูปภาพ58

วีดีโอผลงาน

 

 

รายชื่อผู้จัดทำโครงงาน  

  1.  สามเณรกฤษณะ  ไชยวุฒิ                         ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
  2. สามเณรเอกราช  คลองลับ                 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4
  3. สามเณรวรายุทธ  ผาแก้ว                    ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

นาย ภาทิศ นวลลังกา     สอนวิชา       คอมพิวเตอร์

โทรศัพท์   082-765-2550                      e-mail        yuranan.nu@hotmail.com

 

โรงเรียน เวียงชัยพิทยา

ที่อยู่ของโรงเรียน              102 หมู่ 11 ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย 57210

 

 

 

8. โครงงานระบบเปิด-ปิดน้ำอัตโนมัติ (โรงเรียนวัดบุญยืน) ยังไม่แล้วเสร็จ

 

โครงงานระบบเปิด – ปิดน้ำอัตโนมัติ

   

 

 

 

 

ที่มาของโครงงาน

 

เนื่องจากโรงเรียนวัดบุญยืนพระอารามหลวง มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำประปาในโรงเรียนเป็นจำนวนเงินในแต่ละเดือนค่อนข้างสูง เพราะสามเณรในโรงเรียนมักหลงลืมปิดก๊อกน้ำหลังจากทำธุระส่วนตัวเสร็จเรียบร้อย ประกอบกับบางครั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งน้ำมีการชำรุดเสียหาย จึงเกิดการรั่วของน้ำก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยทางโรงเรียนวัดบุญยืนไม่มีมีนักการภารโรง คอยดูแล ซ่อมแซม เกี่ยวกับระบบน้ำประปา  ดังนั้น คณะผู้จัดทำข้อเสนอโครงงานจึงช่วยกันระดมความคิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหานี้ในระยะยาว จนเกิดเป็น “โครงงานระบบเปิด – ปิดน้ำอัตโนมัติขึ้น”

 

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

 

  1. เพื่อลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของโรงเรียนวัดบุญยืน
  2. เพื่อเป็นต้นแบบ แบบอย่าง ให้สามเณรที่สนใจจะนำระบบน้ำอัตโนมัติไม่ประยุกต์ใช้งาน หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต

 

วัสดุอุปกรณ์

  1. GoGo Board 1 ตัว
  2. Adaptor 1 ตัว
  3. โซลินอยด์วาวล์ 1 ตัว
  4. Relay วัดระดับน้ำ 2 ตัว
  5. ท่อพีวีซี
  6. อุปกรณ์ที่ใช้สร้างอ่างน้ำใหม่

 

ผังโครงสร้าง

 

รูปภาพ5

 

หลักการทำงาน

 

หลักการทำงานงานของระบบ คือ เมื่อมีการปล่อยน้ำลงในอ่างจนได้ตามระดับของน้ำที่สูง (แกะเอาประตูกั้นน้ำของลูกลอยออกและติดเชนเชอร์สวิตเข้าไปแทน) ตัวลูกลอยจะทำการกดสวิต นั้นก็หมายความว่าสั่งให้ โชรูนอยวาวหยุดการปล่อยน้ำทันทีและเมื่อระดับน้ำลดลง ลูกลอยก็จะลดระดับลงตามและก็จะทำให้คลายการกดเชอร์สวิตลง โชรูนอยวาวก็จะทำงานในทันที

 

CODE คำสั่งการทำงาน

 

 

 

 

ผลของการทดสอบ

 

 

รูปการทำงาน

 

1.   จัดซื้ออุปกรณ์ เพื่อวางโครงสร้าง                              2.  สร้างบ่อรับน้ำ

รูปภาพ6          รูปภาพ7
both www.breitling.to and box felt so cheap. high quality perfectrichardmille with swiss movement. movadowatch really one of the hottest copies. graceful https://www.noobfactory.to hot sale. rolex replicas de relojes utilized beautiful build to exhibit the company in neuro-scientific leading expert requirements. unquestionably the the watchmaking industry alcohol in considered the first step toward shapewear for sale in usa. who sells the best alexandermcqueen.to wholesale alexander mcqueen in the assembly and combination process, every link is perfect. supply cheap https://jimmychoo.to/. will not wander in addition to liberty would be the soul connected with who makes the best manoloblahnikreplica. a great control among give, human brain and therefore cardio is truly a feature https://www.sevenfriday.to/ forum.
 

3.  โค้ดคำสั่ง เพื่อควบคุมการทำงาน                                  4.  ทดสอบระบบ

 

วีดีโอผลงาน

 

 

สรุปปัญหาการทำโครงงาน (ยังไม่แล้วเสร็จ)

 

  1. ครูผู้ดูแลรับผิดชอบโครงงานคนเก่าลาออกและมีการถ่ายโอนโครงงานให้ครูคนใหม่ทำจึงขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
  2. ขาดอุปกรณ์ในการต่อพ่วงเช่น Adapter ,โซลีนอยด์วาล์ว , Relay/ Senser
  3. คำสั่งยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากสามเณรที่ร่วมโครงงานได้ลาสึกขาออกระหว่างเรียน
  4. ขาดสามเณรในการดำเนินงาน

 

 

ผู้ทำโครงงาน  

 

1) ชื่อ-สกุล          สามเณรอภิรักษณ์ ดวงโสมา           ระดับชั้น             ม. 6

โทรศัพท์         09-21034757                              e-mail Apiluk_2539@hotmail.co.th

2) ชื่อ-สกุล          สามเณรธีรพงศ์   แสงอ่อน                ระดับชั้น             ม. 5

โทรศัพท์         08-00314696                              e-mail Teetne1@hotmail.com

3) ชื่อ-สกุล          สามเณรวุฒิชัย   บริคุต                    ระดับชั้น             ม. 4

โทรศัพท์         09-30469951                              e-mail –

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อ-สกุล           พระเฉริมชัย   สิงป้อง                     สอนวิชา   คอมพิวเตอร์

โทรศัพท์         08-48952923                              e-mail Chalermchai05-15@hotmail.com

7. โครงงานกำแพงมีชีวิต (โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา)

โครงงานกำแพงมีชีวิต

รูปภาพ2

 

ที่มาของโครงงาน

โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ก็เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมโครงการฯและได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการฯ   ทางโรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนองตามพระราชดำริ โดยได้จัดทำกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวและทำโรงเพาะเห็ดนางฟ้าขึ้น เพื่อนำมาประกอบภัตตาหารเพลให้กับนักเรียน แต่โรงเพาะเห็ดนางฟ้าประสบปัญหาเรื่อง “การดูแลและการรดน้ำ”  ที่ไม่เหมาะสมทำให้ผลผลิตที่ได้ออกมาไม่ดีพอ เท่าที่ต้องการ และประกอบกับคณะผู้จัดทำได้รับการอบรมการใช้งานโปรแกรมโกโก้บอร์ด   ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และจากการทำโครงงานโรงเพาะเห็ดด้วยระบบรดน้ำอัตโนมัติในปีการศึกษา 2556 ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ขณะนี้โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษาจึงได้นำโครงงานโรงเพาะเห็ดด้วยระบบรดน้ำอัตโนมัติมาต่อยอดแนวความคิด มาปรับใช้กับการปลูกไม้ดอกไม้ประดับและพืชผักสวนครัว ขึ้น เพื่อประหยัดเวลาและการดูแล ประหยัดพื้นที่ในการเพาะปลูก   ร่วมถึงฝึกทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนและสามารถประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมในอนาคตได้ต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1.เพื่อฝึกทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนและสามารถประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริมในอนาคตได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

2.ประหยัดพื้นที่ในการเพะปลูก และเวลาและการดูแล

 

วัสดุอุปกรณ์

  1. โกโก้บอด
  2. ลีเล
  3. สปิงเกอร์
  4. ท่อ pvc
  5. ข้อต่อท่อ pvc
  6. สายไฟ
  7. ปลั๊กไฟ
  8. หม้อแปลงไฟ 12 W
  9. กระถางต้นไม้
  10. ลวด
  11. เซ็นเซอร์วัดความชื้น จำนวนประมาณ 4 ตัว
  12. กล่องใส่วงจร
  13. ถังน้ำ
  14. ปั๊มน้ำ
  15. สายยาง
  16. โครงเหล็กใส่กระถาง

 

ผังโครงสร้าง

 

รูปภาพ1

 

 

หลักการทำงาน

กำหนดค่าความชื้นที่เหมาะสมกับต้นไม้ที่เราปลูก โดยมีเงื่อนไขการทำงานของระบบคือ   เมื่อความชื้นในดินมีค่าน้อยว่าที่กำหนด   ให้ทำการรดน้ำ เพื่อให้ดินมีค่าความชื้นที่เหมาะสม จึงหยุดรดน้ำ

โดยกำหนดค่าความชื้นที่ 300   ถ้าเซ็นเซอร์วัดค่าว่าดินมีค่าน้อยว่า 300 ถ้าจะการรดน้ำให้แก่ต้นไม้ แต่ถ้าค่าความชื้นของดินมีค่าความชื้น 300   ก็จะการหยุดรดน้ำ

 

CODE คำสั่งการทำงาน

รูปภาพ5

ผลของการทดสอบ

ผลการทดลองระบบการทำงานของโครงงานกำแพงมีชีวิตเริ่มทำการทดลองวันที่ 1 กันยายน 2557- 31 ตุลาคม 2557

รูปภาพ6รูปภาพ7

 

รูปการทำงาน

 

1.  จัดทำโครงสร้างของโครงงานจริง และแบบจำลอง                                            2.  เดินท่อส่งน้ำเข้ากับโครงสร้างหลัก

รูปภาพ4                                                รูปภาพ3

 

3.  ต่ออุปกรณ์ควบคุมเข้ากล่องเก็บ พร้อมโปรแกรมคำสั่ง                                             4.  อุปกรณ์แล้วเสร็จ พร้อมทดสอบและเก็บผล

รูปภาพ28                                                  รูปภาพ29

วีดีโอผลงาน

 

 

ผู้ทำโครงงาน  

  1. สามเณรอริชะ   คำเสียง                   โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา
  2. สามเณรไพรินทร์   ตันกาบ               โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา
  3. สามเณรสามเณรนิธิกร แซ่ว้าง          โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

นางสาวศิวพร   จิณะแสน      โรงเรียนเชียงกลางปริยัติศึกษา

 

 

 

6. โครงงานระบบเปิด-ปิดม่านอัจฉริยะ (โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา อ.สันติสุข จ.น่าน)

โครงงานเปิด-ปิดม่านอัจฉริยะ

 

5

ที่มาของโครงงาน

    เนื่องด้วยอาคารเรียนสิรินธรจะหันหน้าไปทางทิศตะวันตก และหันหลังไปทางทิศตะวันออก และมีหน้าต่างอยู่กับข้างห้องทิศตะวันออก และมีผ้าม่านติดไว้ เพื่อที่จะป้องกันแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ พอถึงเวลาในช่วงสายก็จะมีแดดจัดส่องมาที่ตัวอาคาร จึงทำให้ภายในห้องเกิดความร้อนและมีแสงมากเกินไป จึงต้องเดินไปปิดผ้าม่านด้วยตนเองและเมื่อแสงของดวงอาทิตย์หายไปจึงทำให้ห้องเรียนมีแสงน้อย เนื่องจากผ้าม่านปิดอยู่ จึงต้องไปเปิดผ้าม่านอีก เลยทำให้เกิดความยุ่งยากในระหว่างการเรียนการสอน เวลามีแดดแดดจะส่องเข้าทางหน้าต่างจึงทำให้เสียสมาธิในการเรียนที่จะต้องลุกเดินไปปิดผ้าม่าน ดังนั้นจึงมีความคิดในการทำโครงงานนี้ขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

  1. เพื่อเป็นการเปิด-ปิดผ้าม่านอัตโนมัติ ตามปริมาณค่าของแสงที่กำหนด
  2. สามารถควบคุมแสงส่องสว่างจากภายนอกห้องเรียนได้

 

วัสดุอุปกรณ์

  1. GOGO Board
  2. Relay
  3. เซ็นเซอร์แสง
  4. มอเตอร์เกียร์
  5. เซ็นเซอร์สวิตซ์
  6. Adapter for gogo board
  7. Adapter for Moter
  8. ระบบราง , ผ้าม่าน
  9. สายไฟ,ตู้เก็บวงจร

 

ผังโครงสร้าง

งานนำเสนอ1

 

หลักการทำงาน

    เมื่อมีแสงแดดภายนอกส่องเข้ามาในห้องแล้วทำให้ในห้องมีแสงจ้ามากมีค่ามากเกินคำสั่งที่เขียนควบคุม gogo board  ไว้   ระบบจะทำงานโดยเซ็นเซอร์รับแสงแล้วจะรายงานผลไปที่ gogo board เมื่อ gogo board  รับคำสั่งแล้วก็จะประมวลผลสั่งการไปที่รีเลย์ให้  มอเตอร์เกียร์ทำงานในการปิดผ้าม่าน เมื่อผ้าม่านเลื่อนมาบรรจบกันจะทำให้เหล็กที่ยึดผ้าม่านมาชนเซ็นเซอร์สวิตซ์ที่ติดตั้งเซ็นเซอร์สวิตซ์ไว้เพื่อทำการตัดการทำงานของมอเตอร์ มอเตอร์ก็จะหยุดการทำงาน

ในขณะเดียวกันเมื่อแสงข้างนอกห้องมีค่าน้อยกว่าที่ระบุไว้ในคำสั่งที่เขียนควบคุม gogo board   ระบบจะทำงานโดยเซ็นเซอร์รับแสงแล้วจะรายงานผลไปที่ gogo board   เมื่อ gogo board  รับคำสั่งแล้วก็จะประมวลผลสั่งการไปที่รีเลย์ให้  มอเตอร์เกียร์ทำงานในการเปิดผ้าม่าน เมื่อผ้าม่านเลื่อนไปจนสุดขอบประตูหน้าต่างที่ติดตั้งเซ็นเซอร์สวิตซ์ไว้เพื่อทำการตัดการทำงานของมอเตอร์ มอเตอร์ก็จะหยุดการทำงาน

 

CODE คำสั่งการทำงาน

คำสั่งในการใช้สำหรับแบบจำลองโครงงาน

to main

    forever

    [

    if sensor1 < 800

    [

    a,

    cw

    on

    ]

    wait 1

    off

    if sensor2 < 800

    [

    a,

    ccw

    on

    ]

    wait 1

    off

    ]

end

 

คำสั่งในการใช้สำหรับแบบโครงงานชุดที่ติดตั้งจริงในอาคารเรียน

 to main

    forever

    [

    if sensor1 > 300 and sensor5 < 500

    [

    i2cwrite 228 0 1

    i2cwrite 228 1 1

    waituntil [ sensor5 > 500 ]

    i2cwrite 228 0 0

    i2cwrite 228 1 0

    ]

 

    if sensor1 < 300 and sensor6 < 500

    [

    i2cwrite 228 0 1

    i2cwrite 228 1 0

    waituntil [ sensor6 > 500 ]

    i2cwrite 228 0 0

    i2cwrite 228 1 0

    ]

    ]

end

 

ผลของการทดสอบ

    นำโครงงานไปติดตั้งกับผ้าม่านในอาคารเฉลิมพระเกียรติ จากการเขียนคำสั่งโปรแกรมภาษา Logo ควบคุม Gogo Board

ในการสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆ ผลการทดสอบสามารถใช้งานได้จริง  ตามคำสั่ง

 

รูปการทำงาน

6 5

ออกแบบทดลองในชุดจำลอง                                ผลการทดลองในชุดจำลองผ่าน

ภาพหน้าจอ 2015-07-22 15.58.41ภาพหน้าจอ 2015-07-22 15.58.30ภาพหน้าจอ 2015-07-22 15.57.40ภาพหน้าจอ 2015-07-22 16.05.29

ออกแบบและติตตั้งอุปกรณ์โครงงานจริงกับตัวอาคารเรียน  

 

8ภาพหน้าจอ 2015-07-22 16.00.35

       ถ่ายวิดิโอสาธิตผลงานจากการติดตั้งจริงในอาคารเรียน

 

วีดีโอผลงาน

 

คณะผู้จัดทำโครงงาน

    1)  ชื่อ-สกุล สามเณรวุฒิภัทร     พรมสะวะนา                ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

    โทรศัพท์   098-0827301                                           e-mail :  fles_com@hotmail.com

    2)  ชื่อ-สกุล สามเณรปัญจพล    สุทธะ                         ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

    โทรศัพท์  092-1829178                                            e-mail :  fusecity@hotmail.com

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

    1)  ชื่อ-สกุล นาย จีรวัฒน์ ปันทองมา                            สอนวิชา  คณิตศาสตร์ , คอมพิวเตอร์

    โทรศัพท์  086-1864949                                           e-mail :  jirawat_ex@hotmail.com

    2)  ชื่อ-สกุล นาง ทรรศนาพร ปันทองมา                       สอนวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี , คอมพิวเตอร์

    โทรศัพท์  089-8552067                                           e-mail :  krupor115@hotmail.com

 

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา

ที่อยู่  วัดดอนมงคล  เลขที่ 199  หมู่ 4  ตำบลดู่พงษ์  อำเภอสันติสุข  จังหวัดน่าน  55210  โทร 054-767-245    https://www.facebook.com/waddonmongkol

 

ผลงานและรางวัล

    โครงงานของเราได้รับรางวัลอันภาคภูมิใจของตัวแทนนักเรียนและคุณครู ที่ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา
ได้แก่ สามเณร พิภพ พรมสะวะนา นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 สามเณร ปัญจพล สุทธะ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5
สามเณร วทัญญู สมภิพงษ์ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 และคุณครูจีรวัฒน์ ปันทองมา ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้รับหนังสือ

คำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือเชิญ ที่ วท ๕๔๐๑/ว.๔๒๕๗ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ขอเชิญส่งบุคลากรเข้าร่วม กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ วิ่งจับเส้นและกิจกรรม

Show @ Share ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2558 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี

 

รางวัลที่ได้รับผลงานของนักเรียน ดังนี้
    1. ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน ระดับประเทศ จากโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในการจัดกิจกรรมรายการ Show&Share

ผลงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว ระดับมัธยมศึกษา ที่มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 31 โครงงาน ในโครงงานชื่อ ระบบเปิด-ปิดม่านอัจฉริยะ

10421539_962034323818017_8006470522667267465_n NjpUs24nCQKx5e1D7Rrn8Ok803rPvrg60UEbZ041J7l 995035_962033793818070_6422579326387673130_n 10641226_962035323817917_8455636931811169655_n1743474_962034603817989_8116998421172286966_n EyWwB5WU57MYnKOuXxvfOCUtIqKB7TzAZn3CANi0Yban168xRcP36S

5. โครงงานระบบช่วยรักษาความสะอาดในห้องน้ำ (โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา อ.สันติสุข จ.น่าน)

โครงงานระบบช่วยรักษาความสะอาดในห้องน้ำ

 

ee

 

ที่มาและความสำคัญ

    เนื่องด้วยโรงเรียนวัดดอนมีห้องน้ำจำนวน 25 ห้องอยู่ใต้ถุนอาคารเรียนสิรินธร แล้วทุกๆวันจะมีการทำความสะอาดห้องน้ำเพียงตอนเช้าแค่ครั้งเดียว แต่มีผู้ใช้ห้องน้ำตลอดเวลา จึงทำให้ห้องน้ำสกปรกและมีกลิ่น  ดังนั้นทางกลุ่มของเราจึงมีแนวคิดที่จะหาระบบช่วยเตือนในการรักษาความสะอาดในห้องน้ำ ทำให้ผู้ที่เข้าไปใช้บริการห้องน้ำมีความตระหนักคิดที่จะช่วยกันรักษาความสะอาดห้องน้ำให้สะอาดและน่าใช้บริการอยู่เสมอ

 

วัตถุประสงค์ของโครงงาน

    เพื่อเป็นระบบช่วยเตือนในการรักษาความสะอาดและดับกลิ่นในห้องน้ำ

 

วัสดุอุปกรณ์

  1. GOGO Board
  2. Relay
  3. voice module
  4. Motion lnfared
  5. Adapter for gogo board
  6. เซ็นเซอร์ควัน
  7. ปืนเซ็นทรัลล๊อค
  8. ลำโพง
  9. แอมป์ขยายเสียง
  10. กริ่ง
  11. ท่อPVCเก็บสายไฟ
  12. สเปรย์
  13. สายไฟ,ตู้เก็บวงจร

ผังโครงสร้าง

 

11111

 หลักการทำงาน

    การทำงานของโครงงานมีอยู่ 3 กลไก คือ การทำงานของระบบเสียงเตือน  คือ เมื่อมีบุคคลเข้าไปใช้บริการในห้องน้ำ จะมีเช็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว ว่ามีผู้เข้าไปใช้บริการในห้องน้ำ  แล้วเซ็นเซอร์จะรายงานผลไปที่ gogo board เมื่อ gogo board  รับคำสั่งแล้วก็จะประมวลผลสั่งการไปที่รีเลย์ให้ voice module ทำงานเพื่อจะให้ส่งเสียงเตือนบอกว่า “กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาดด้วยนะครับ”    ในขณะเดียวกัน การทำงานของระบบดับกลิ่นสเปรย์ คือ เมื่อมีบุคคลเข้าใช้บริการครบตามจำนวนคนที่เราเขียนโปรแกรมคำสั่งไว้ที่ gogo board ก็จะประมวลผลสั่งการไปที่รีเลย์ให้ปืนเซ็นทรัลล๊อคทำงานกดหัวฉีดสเปรย์เพื่อพ่นน้ำยาดับกลิ่นอัตโนมัติ  (ในที่นี้เขียนโปรแกรมคำสั่งผู้เข้าใช้บริการครบจำนวน 10 คน)  และในส่วนการทำงานของเซ็นเซอร์ควัน คือ เมื่อเซ็นเซอร์ควันตรวจจับว่าในห้องน้ำมีควัน ก็จะรายงานผลไปที่ gogo board เมื่อ gogo board  รับคำสั่งแล้วก็จะประมวลผลสั่งการให้กริ่งทำงาน

 

CODE คำสั่งการทำงาน

น้ำ1 น้ำ2

 

ผลของการทดสอบ 

โครงงานสามารถทำงานตามระบบกลไกและสามารถนำติดตั้งเพื่อช่วยเป็นระบบช่วยเตือนในการรักษาความสะอาดในห้องน้ำได้จริง

 

รูปการทำงาน

IMG_0132 - Copy IMG_0130 - Copy

ศึกษาออกแบบระบบกลไกลการทำงานของโครงงาน

Jpeg Jpeg

ออกแบบกลไกลการทำงานของปืนเซ็นทรัลล๊อคฉีดสเปย์      ออกแบบกลไกลการทำงานของเซ็นเซอร์จับควันและกริ่งเสียงและลำโพง

ูููุJpeg Jpeg

ออกแบบติดตั้งระบบควบคุมในตู้ควบคุม                                 แผงวงจรสำเร็จของโครงงาน

4 ee

นำเสนองานต่อที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก้ไข                             จัดทำวิดีโอนำเสนอเผยแพร่

 

วีดีโอผลงาน

 

คณะผู้จัดทำโครงงาน

    1)  ชื่อ-สกุล  สามเณร ภรัณยู  มิละพงษ์             ระดับชั้น  ม.6

         โทรศัพท์  094-7172615                            e-mail : toto_toto55210@hotmail.com

    2)  ชื่อ-สกุล  สามเณร พิภพ  พรมสะวะนา          ระดับชั้น ม.4

         โทรศัพท์  099-3799690                            e-mail : tanatud554@hotmail.co.th

อาจารย์ที่ปรึกษา

    1)  ชื่อ-สกุล นาย จีรวัฒน์ ปันทองมา                  สอนวิชา  คณิตศาสตร์ , คอมพิวเตอร์

         โทรศัพท์  086-1864949                            e-mail :  jirawat_ex@hotmail.com

    2)  ชื่อ-สกุล นาง ทรรศนาพร ปันทองมา             สอนวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี , คอมพิวเตอร์

          โทรศัพท์  089-8552067                           e-mail :  krupor115@hotmail.com

 

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา

ที่อยู่  วัดดอนมงคล  เลขที่ 199  หมู่ 4  ตำบลดู่พงษ์  อำเภอสันติสุข  จังหวัดน่าน  55210  โทร 054-767-243    https://www.facebook.com/waddonmongkol

 

ผลงานและรางวัล

    โครงงานของเราได้รับรางวัลอันภาคภูมิใจของตัวแทนนักเรียนและคุณครู ที่ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนวัดดอนมงคลสันติสุขวิทยา

ได้แก่ สามเณร พิภพ พรมสะวะนา นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 สามเณร ปัญจพล สุทธะ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

สามเณร วทัญญู สมภิพงษ์ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 และคุณครูจีรวัฒน์ ปันทองมา ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่ได้รับหนังสือ

คำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือเชิญ ที่ วท ๕๔๐๑/ว.๔๒๕๗ ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ขอเชิญส่งบุคลากรเข้าร่วม กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ วิ่งจับเส้นและกิจกรรม

Show @ Share ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ระหว่างวันที่ 19-22 มิถุนายน 2558 ณ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จ.นนทบุรี

 

รางวัลที่ได้รับผลงานของนักเรียน ดังนี้
    1. ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองและโล่รางวัล ระดับประเทศ จากโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในการจัดกิจกรรมรายการ

Show&Share ผลงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว ระดับมัธยมศึกษา ที่มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 31 โครงงานในโครงงานชื่อ ระบบช่วยรักษาความสะอาดในห้องน้ำ

    2. ได้รับโล่รางวัล ASSOCIATION OF BRITISHINVENTORS AND INNOVATORS จากประเทศอังกฤษ ประเภทโครงงานการประยุกต์ยอดเยี่ยม

ในการจัดกิจกรรมรายการ Show&Share ผลงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว ระดับมัธยมศึกษาจากตัวแทนโรงเรียนทั่วประเทศ ในโครงงานชื่อ ระบบช่วยรักษา

ความสะอาดในห้องน้ำ

ผลงานของครู ดังนี้
  1. ได้รับโล่รางวัล ASSOCIATION OF BRITISHINVENTORS AND INNOVATORS จากประเทศอังกฤษ ประเภทโครงงานการประยุกต์ยอดเยี่ยม

ในการจัดกิจกรรมรายการ Show&Share ผลงานสิ่งประดิษฐ์สมองกลฝังตัว ระดับมัธยมศึกษา ในโครงงานชื่อ ระบบช่วยรักษาความสะอาดในห้องน้ำ

10421539_962034323818017_8006470522667267465_n NjpUs24nCQKx5e1D7Rrn8Ok803rPvrg60UEbZ041J7l 995035_962033793818070_6422579326387673130_n 10641226_962035323817917_8455636931811169655_n1743474_962034603817989_8116998421172286966_n EyWwB5WU57MYnKOuXxvfOCUtIqKB7TzAZn3CANi0Yban168xRcP36S