3-01วิธีการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ให้เก็บไว้ได้นานๆทำอย่างไร

มัลติมีเดียการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการตามแนวคอนสตรักชันนิซึม
เรื่องวิธีการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ให้เก็บไว้ได้นานๆทำอย่างไร  ระดับชั้นอนุบาล อายุ 3-5 ปี.

จุดประสงค์การจัดการเรียนรู้ (Objective)

  1. นักเรียนสามารถสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีดก่อน – หลัง การนำไปถนอมอาหารได้ (S)
  2. นักเรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ (L)
  3. นักเรียนสามารถเลือกวิธีสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้ (T)
  4. นักเรียนสามารถวาดภาพขั้นตอนในการนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้(A)
  5. นักเรียนสามารถชั่งและบอกน้ำหนัก ก่อน – หลังการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ (M)

เครื่องมือไอซีที/วัสดุ/อุปกรณ์ (Tools and Materials)

-คอมพิวเตอร์                –  ห้องสมุด                     –   โหลน้ำ                           – เตาอบ

– ปลั๊กไฟ                     –   เม็ดถั่วดำ                        – หม้อไฟฟ้า

–   คอมพิวเตอร์            –  น้ำ                                    –   กระดาษสี

–  กระดาษลัง               – กระด้ง/กระจาด                    –   ตะเกียบ

–  แทมมารีน                  – วิดิโอการถนอมอาหาร           –  ลูกปัด

–  แก้วน้ำ                             –  ถุงพลาสติก                    – ไม้เสียบ

การวัดและการประเมินผล

วิธีการวัด

  • สังเกตพฤติกรรมนักเรียน
  • ตรวจผลงาน
  • การร่วมกิจกรรมของนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้

  • แบบประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การวัด

1. สามารถสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีด ก่อน – หลัง การนำไปถนอมอาหารได้ (S)

3 = สามารถสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีด ก่อน – หลัง การนำไปถนอมอาหาร

ได้มากกว่า 2 ลักษณะขึ้นไป

2 = สามารถสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีด ก่อน – หลัง การนำไปถนอมอาหาร

ได้ 1 ลักษณะ

1 =ไม่สามารถสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีด ก่อน – หลัง การนำไปถนอมอาหารได้

2. สามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ (L)

3 =   สามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้มากกว่า 3 ขั้นตอนขึ้นไป

2 =  สามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้มากกว่า 2 ขั้นตอน

1=   ไม่สามารถอธิบายขั้นตอนการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้

 

  1. สามารถเลือกวิธีสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้ (T)                                                                         3  = สามารถเลือกวิธีสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

2     = สามารถอธิบายวิธีสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้แต่ต้องมีครูคอยแนะนำ

1    = ไม่สามารถอธิบายวิธีสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ได้

 

  1. สามารถวาดภาพขั้นตอนในการนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้(A)

3 =สามารถวาดภาพขั้นตอนในการนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ด้วยตนเอง

2 = สามารถวาดภาพขั้นตอนในการนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้แต่ต้องมีครูคอยแนะนำ

1=ไม่สามารถวาดภาพขั้นตอนในการนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้

5. สามารถชั่งและบอกน้ำหนัก ก่อน – หลังการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ (M)

3 =   สามารถชั่งและบอกน้ำหนัก ก่อน – หลังการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้ด้วยตนเอง

2 = สามารถชั่งและบอกน้ำหนัก ก่อน – หลังการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้แต่ต้องมีครูคอยแนะนำ

1 =   ไม่สามารถชั่งและบอกน้ำหนัก ก่อน – หลังการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ได้

เกณฑ์การให้คะแนน

2.50 -3.00   =  ดีมาก

2.00  -2.49  =   ดี

1.50  -1.99  =   พอใช้

1.00  -1.49   =  ควรปรับปรุง

บันทึกหลังการจัดกิจกรรม

สรุปได้ว่า  นักเรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้เฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ใน ระดับ  ดีมาก  (ค่าเฉลี่ย2.75 )

แยกเป็นรายทักษาดังนี้

ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ (S)   อยู่ในระดับ                   ดี            (ค่าเฉลี่ย  2.45)

ทักษะด้านเทคโนโลยี (T)   อยู่ในระดับ                      ดีมาก     (ค่าเฉลี่ย 2.54)

ทักษะด้านภาษา (L)   อยู่ในระดับ                                พอใช้           (ค่าเฉลี่ย 1.91)

ทักษะด้านศิลปะ(A)   อยู่ในระดับ                               ดี                (ค่าเฉลี่ย 2.12)

ทักษะด้านคณิตศาสตร์ (M)   อยู่ในระดับ                   พอใช้        (ค่าเฉลี่ย 1.91)

ข้อมูล เพิ่มเติม

กิจกรรมการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2561

 ขั้นนำ

1. ครูเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมโดยกิจกรรม แบ่งปันน้ำใจ

2. ครูเล่านิทานเรื่อง พ่อครัวกับจิ้งหรีด

ขั้นกิจกรรม

3. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานว่า มีวิธีการใดบ้างที่สามารถถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ไว้ให้ได้นาน

4.ครูและนักเรียนได้สนทนา พูดคุยกัน เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารเพื่อที่จะนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) และแสดงความคิดเห็น ร่วมกันเลือกวิธีการถนอมอาหารมา 3 วิธี โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม แล้วจับฉลากเลือกวิธีการถนอมอาหารของแต่ละกลุ่ม

5. จากนั้นให้นักเรียนเข้ากลุ่ม เพื่อร่วมกันออกแบบและวาดภาพขั้นตอนการถนอมอาหารของกลุ่มตนเอง

ขั้นสรุป

6. นักเรียนนำเสนอผลงานและร่วมกันสรุปกิจกรรม

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ.2561

ขั้นนำ

  1. ครูเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรม โดยการทำกิจกรรมสานกระด้ง
  2. ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนวิธีการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ของแต่ละกลุ่ม
  3. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง โดยครูให้เวลาในการทำกิจกรรม 30 นาที
  • ครูเคาะแทมมารีน 2 ครั้ง หมายถึง เหลือเวลา 5 นาทีในการทำกิจกรรม
  • ครูเคาะแทมมารีนรัวๆ หมายถึงหมดเวลาในการทำกิจกรรม

ขั้นกิจกรรม

4.ครูและนักเรียนร่วมสืบค้นวิธีการตากแดด การอบ และการต้มเพื่อถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ไว้ให้ได้นาน โดยสืบค้นจาก ห้องสมุด, youtube , internet.

5.ให้นักเรียนเข้ากลุ่มของตนเอง จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันทบทวนเกี่ยวกับขั้นตอนการถนอมอาหารที่จะนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด)

6.หัวหน้ากลุ่มแบ่งวัสดุ/อุปกรณ์ ที่จะนำมาถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ให้กับสมาชิกในกลุ่ม

ขั้นสรุป

7. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปกิจกรรม

 วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ.2561

ขั้นนำ

1. ครูเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมโดยการทำกิจกรรมจิ้งหรีดตากแห้ง

2. ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง โดยครูให้เวลาในการทำกิจกรรม 1 ชั่งโมง

  • ครูเคาะแทมมารีน 2 ครั้ง หมายถึง เหลือเวลา 5 นาทีในการทำกิจกรรม
  • ครูเคาะแทมมารีนรัวๆ หมายถึงหมดเวลาในการทำกิจกรรม

ขั้นกิจรรม

3.ครูให้นักเรียนสังเกตและบอกลักษณะของจิ้งหรีดที่ยังมีชีวิตอยู่

4. ครูและนักเรียนร่วมกันชั่งและบอกน้ำหนักจิ้งหรีดก่อนนำไปทำการถนอมอาหาร

-กลุ่มที่ 1 กลุ่มแมลงต้นไม้(ทำการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) โดยตากแดด)

-กลุ่มที่ 2 กลุ่มด้วงกว่าง(ทำการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) โดยการอบ)

-กลุ่มที่ 3 กลุ่มเต่าทอง(ทำการถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) โดยการต้ม)

5. หลังจากถนอมอาหาร (จิ้งหรีด) ครูให้นักเรียนบอกลักษณะของจิ้งหรีดว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

6.นักเรียนนำจิ้งหรีดของตนเองที่ผ่านการถนอมอาหารแล้วมาชั่งและบอกน้ำหนัก เพื่อเปรียบกับน้ำหนักก่อน-หลังการถนอมอาหาร

ขั้นสรุป

7.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรม

รายชื่อเจ้าของผลงาน (2-3 คน ต่อกลุ่ม)

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ชื่อ-นามสกุล นางสาวสุพิชากรณ์  สีคาม  นักศึกษาวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย.

คณะครุศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 0933681163  e-mail supichayagorn.sed58@ubru.ac.th
ชื่อ-นามสกุล นางสาวนฤมล  มาลัย. นักศึกษาวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์  หมายเลขโทรศัพท์ 0881339858 e-mail Naruemon.med58@ubru.ac. th
ชื่อ-นามสกุล นางสาวอรญา  กาญจนพัฒน์ นักศึกษาวิชาเอก การศึกษาปฐมวัย
คณะครุศาสตร์  หมายเลขโทรศัพท์ 0882642030 e-mail Oraya.ked58@ubru.ac.th

 

 

อาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ-นามสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์วยุภา  สุขอู๊ด หมายเลขโทรศัพท์ 0857660865